เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
ไข้เลือดออก ( Dengue Hemorrhagic fever )
ในขณะที่ตอนนี้ผู้คนกำลังให้ความสำคัญกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นั้น เราอาจจะลืมไปว่ายังมีโรคระบาดที่รุนแรงอย่างไข้เลือดออกที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค และมักจะระบาดหนักในช่วงฤดูฝน โดยกรมควบคุมโรคออกมาเตือนการเกิดโรคไข้เลือดออกเป็นอีกหนึ่งโรคที่มาแรงสำหรับปี 2020 นี้ โดยตั้งแต่ต้นปี 1 มกราคมเป็นต้นมา มีผู้ป่วยทั่วประเทศแล้วมากกว่า 8,746 ราย และเสียชีวิตไปแล้วถึง 6 ราย ซึ่งกลุ่มเสี่ยงที่พบอัตราป่วยมากสุด คือ เด็กๆ อายุระหว่าง 5-14 ปี รองลงมาคือกลุ่มอายุ 15-24 ปี และอายุแรกเกิดถึง 4 ปี ตามลำดับ จะเห็นได้ว่า เด็กเล็กนั้น มีความเสี่ยงในการติดโรคอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว
เพื่อเป็นการป้องกันโรคไข้เลือดออกในเด็ก เรามารู้จักกับโรคนี้ทั้งระยะของโรค อาการ และการรักษาป้องกันกันค่ะ โรคไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง (Dengue) โดยมียุงลายที่เป็นพาหะนำโรค เชื้อนี้จะเข้าสู่ร่างกายคนโดยการถูกยุงลายที่มีเชื้อกัด จากนั้นยุงลายก็จะแพร่เชื้อให้กับคนอื่นๆ ต่อไป (ในรัศมีไม่เกิน 400 เมตร) ซึ่งเมื่อได้รับเชื้อเข้าร่างกายและ จะมีอาการ ไข้ขึ้นสูงหลายวัน, ปวดศีรษะ คล้ายอาการของไข้หวัด แต่จะมีอาการร่วมเป็นอาการปวดกระบอกตา, ปวดกล้ามเนื้อ, เมื่อยเนื้อตัว, ท้องอืด, มีผื่นแดงขึ้นตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า ใบหน้า ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นอาการเฉพาะของ โรคไข้เลือดออกค่ะ
ระยะของโรคไข้เลือดออก
แบ่งออกได้เป็น 3 ระยะหลักๆ ได้แก่
-ระยะไข้ ระยะนี้ไข้สูง 39-40 °C นานเกิน 4-5 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัว ปวดกระบอกตา เบื่ออาหาร ท้องอืด เมื่อยเนื้อเมื่อยตัว และอาจจะชัก ใบหน้าแดงในระยะนี้ได้
-ระยะวิกฤต ไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว ฝ่ามือ ฝ่าเท้าเย็นขึ้น ปัสสาวะน้อย มีอาการท้องอืด ระยะอาจจะเกิดอาการอันตรายอย่างอาการช็อกได้
-ระยะฟื้นตัว หลังจากผ่านช่วงวิกฤตมาแล้ว ผู้ป่วยจะฟื้นตัวเร็ว ปัสสาวะบ่อยขึ้น ปวดหัวลดลง อยากอาหาร ซึ่งหากผู้ป่วยเกิดอาการช็อก แล้วได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก็จะกลับมาเป็นปกติภายใน 2-3 วัน
การรักษาโรคไข้เลือดออกนั้น ต้องอยู่ในความดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเบื้องต้นให้งดกินยาประเภทแอสไพรินและยาต้านการอักเสบ ให้ดื่มน้ำผลไม้หรือเกลือแร่เสริม และดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา ส่วนวิธีป้องกัน เนื่องจากโรคนี้มีพาหะนำโรคเป็นยุงลาย เราจึงต้องกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย สวมใส่เสื้อแขนยาวขายาว และทายากันยุงสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการถูกแมลง ถูกยุงลายกัดค่ะ ในสมัยก่อนได้มีการรักษาโรคต่างๆด้วยสมุนไพรและการบริหารร่างกาย อย่างเช่น หนังสือหายากเล่มหนึ่ง ได้บันทึกเกี่ยวกับโครงภาพฤๅษีดัดตนและตำรายาอายุวัฒนะ เพื่อเป็นตัวอย่างการรักษาด้วยการบริหารร่างกายประกอบกับการรับประทานยาทำให้ไข้และสามารถรักษาได้หายจริงในสมัยเริ่มตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้นที่ศิริราชพยาบาล จึงได้บักทึกไว้ในหนังสือหายากจารึกวัดพระเชตุพน ตอน โคลงภาพฤๅษีดัดตนและตำรายาอายุวัฒนะ
------------------------------------------------------
ผู้เรียบเรียง นางสาววารุณี วิริยะชูศรี บรรณารักษ์ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
------------------------------------------------------
ข้อมูลอ้างอิง
ไข้เลือดออก. กรุงเทพฯ : กรมควบคุมโรคติดต่อ, 2536. เลขหมู่ 616.157 ก169ร สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. ไข้เลือดออก. กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน, 2546. เลขหมู่ 616.157 ส846ร จารึกวัดพระเชตุพน ตอน โคลงภาพฤาษีดัดตน. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2534 เลขหมู่ 615.822 ค319ก
ข้อมูลสถิติ
กรมควบคุมโรคติดต่อ
(จำนวนผู้เข้าชม 2358 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน