เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
การสำรวจศิลปกรรมประเภทแกะสลักหินทรายบนทับหลัง โบราณสถานประเภท อโรคยาศาล..."กุฏิฤาษีโคกเมือง"
กุฏิฤาษีโคกเมือง หมู่ที่ ๖ บ้านโคกเมือง ตำบลจระเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๗๕ วันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘และกำหนดขอบเขตโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๙๙ ตอนที่ ๑๕๕ วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๒๕ พื้นที่โบราณสถาน ๓ ไร่ ๒ งาน ๗๐ ตารางวา
องค์ประกอบของโบราณสถาน
๑.ปรางค์ประธาน ก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย ฐานปรางค์เป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ขนาด ๗x๗ เมตร ทางด้านทิศตะวันออกเป็นมุขยื่น ยาวออกไปเป็นประตูเข้าออก มีขนาดประมาณ ๒.๒๐x๓.๒๐ เมตร
๒.บรรณาลัย ก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย มีขนาดประมาณ ๔x๗.๕๐ เมตร ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ภายในกำแพงแก้ว
๓.กำแพงแก้วและซุ้มประตู กำแพงแก้วก่อด้วยศิลาแลง มีขนาดประมาณ ๒๖.๗๐x๓๕.๔๐ เมตร มีซุ้มประตูอยู่ทางด้านทิศตะวันออกก่อด้วยศิลาแลงกรอบประตูเป็นหินทราย ซุ้มประตูแบ่งเป็น ๓ คูหา คูหาช่องซ้ายขวามีช่องหน้าต่างทั้งด้านนอกและด้านในข้างล่ะ ๑ ช่อง คูหากลางมีมุขหน้าขนาด ๔x๒.๕๐ เมตร และมุขหลังมีขนาด ๔x๔.๗๐ เมตร ๔.สระน้ำประจำโบราณสถาน ตั้งอยู่มุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกุฏิฤาษี ด้านทิศตะวันออกตรงแกนกลางมีบารายหรือสระน้ำขนาดใหญ่ ประมาณ ๕๐๐x๘๐๐ เมตร เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ทะเลเมืองต่ำ และห่างจากกุฏิฤาษีโคกเมืองไปด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นที่ตั้งของปราสาทเมืองต่ำ
--------------------------------------------------------
เรียบเรียงข้อมูล : นายรัชฎ์ ศิริ นายช่างศิลปกรรมอาวุโส สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา
(จำนวนผู้เข้าชม 1242 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน