เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
ถนนเจริญกรุง
ถนนเจริญกรุง นับเป็นถนนสายแรกของกรุงเทพฯ ซึ่งก่อสร้างเพื่อใช้ในการสัญจรภายในเขต ใจกลางเมือง สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่าง พ.ศ.๒๔๐๔ – ๒๔๐๗ มีนายเฮนรี อลาบาสเตอร์ เป็นผู้สำรวจและเขียนแบบถนน เจ้าพระยาทบรมมหาศรีสุริยวงศ์(ช่วง บุนนาค) เป็นแม่กองควบคุมการก่อสร้างถนนเจริญกรุงช่วงคูเมืองตอนในถึงถนนตก เจ้าพระยายมราช(ครุฑ) เป็นแม่กองในการก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนใน ระหว่างวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามถึงสะพานดำรงสถิต (สะพานเหล็กบน)
ถนนเจริญกรุงมีระยะความยาวของเส้นทางเริ่มตั้งแต่สนามไชยถึงถนนตก ยาว ๘,๕๗๕ เมตร ถนนสายดังกล่าวเป็นที่รู้จักในชื่อสามัญว่า “ถนนใหม่(New Road)” ในพระราชปรารถเรื่องถนนเจริญกรุง ในรัชชกาลที่ ๔* กล่าวถึงว่า “...ชาวต่างประเทศเข้าชื่อกันขอให้ทำขึ้น เพื่อจะใช้ม้า ใช้รถให้สบาย ให้ถูกลมเย็นเส้นสายเหยียดยืดสบายดี...” โดยสร้างเป็นถนนถมดินและทรายอัดแน่น ปูพื้นผิวถนนด้วยอิฐ ผิวการจราจรแบ่งเป็นสองแนว ครั้นเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ เปิดใช้งานเมื่อพ.ศ.๒๔๐๗ กลับปรากฏว่า “...คนใช้ม้าทั้งไทย ทั้งชาวนอกประเทศกี่คน ใช้รถอยู่กี่เล่ม ใช้ก็ไม่เต็มสนน ใช้อยู่แต่ข้างหนึ่ง ก็ส่วนสนนอีกข้างหนึ่ง ก็ทิ้งตั้งเปล่าอยู่ ไม่มีใครเดินม้าเดินรถ เดินเท้า...ครึ่งหนึ่งของสนน เพราะไม่มีคนเดิน คนใช้ก็ยับไปเสียก่อน หากว่าปีนี้ ไม่มีฝน ถ้าฝนชุกก็เห็นจะยับไปมาก ฤาหญ้าก็จะขึ้นรกอยู่ค่างหนทาง...”
ความกังวลพระทัยนั้น เป็นผลต่อมาเมื่อถนนเจริญกรุงชำรุดลง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ประกาศแผ่พระราชกุศลซ่อมแซมถนน ต่อพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชสำนักฝ่ายหน้า ฝ่ายในส่วนพระบรมมหาราชวังและพระราชวังบวรสถานมงคล ที่ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดในจำนวนปีมะเส็งนพศกแบริจากทรัพย์นั้นเพื่อการซ่อมแซมถนนทั่วพระนคร
ต่อมาเมื่อบ้านเมืองมีความเจริญมากขึ้น ถนนเจริญกรุงจึงเป็นเส้นทางสำคัญสายหนึ่งที่เชื่อมพื้นที่กรุงเทพฯ ตอนในออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา โดยในสมัยหลังได้มีการขยายผิวการจราจรและเทคอนกรีตและลาดยางพื้นผิวการจราจรเพื่อการงานเป็นเส้นทางคมนาคมสืบมาถึงปัจจุบัน
ถนนเจริญกรุง ค.ศ. 1896
ถนนเจริญกรุง พ.ศ. ๒๔๐๗
-----------------------------------------------------------------------
เรียบเรียง : เมธินี จิระวัฒนา นักโบราณคดี ชำนาญการ กองโบราณคดี
-----------------------------------------------------------------------
*
อ้างอิงจาก
กรมศิลปากร. ทำเนียบนามภาค ๔ ถนนในจังหวัดพระนครและธนบุรี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดให้ตีพิมพ์พระราชทานในงานเมรุ มหาอำอาตย์นายก เจ้าพระยายมราช(ปั้น สุขุม) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๒ ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส (พระนคร : โรงพิมพ์บำรุงธรรม, ๒๔๘๒) หน้า ๖๓ – ๖๖)
(จำนวนผู้เข้าชม 12079 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน