เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
แผ่นดินเผารูปพระภิกษุอุ้มบาตร : หลักฐานการประดิษฐานพระพุทธศาสนาที่เก่าที่สุดในประเทศไทย
แผ่นดินเผารูปพระสงฆ์สามองค์อุ้มบาตร พบจากการดำเนินงานทางโบราณคดีที่เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี อาจเป็นหลักฐานที่เก่าที่สุดซึ่งเกี่ยวข้องกับการประดิษฐานพระพุทธศาสนาในดินแดนไทย เนื่องจากรูปแบบการครองจีวรของภาพพระภิกษุบนแผ่นดินเผา เป็นแบบห่มคลุม ริ้วจีวรมีขนาดใหญ่ คล้ายกับการครองจีวรของพระพุทธรูปศิลปะอินเดียแบบอมราวดี ซึ่งกำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๙ – ๑๐ (ประมาณ ๑,๖๐๐ – ๑,๗๐๐ ปีมาแล้ว) สันนิษฐานว่าเป็นประติมากรรมที่สร้างขึ้นในท้องถิ่น มิได้เป็นการนำเข้ามาจากภายนอก เนื่องจากทำด้วยดินเผาที่มีส่วนผสมของดินดิบ และแกลบค่อนข้างหยาบ ประกอบกับประติมากรรมนี้มีแผ่นหลังซึ่งน่าจะใช้ประดับติดเข้ากับผนังของศาสนสถาน
อนึ่ง ภายในเมืองโบราณอู่ทองยังพบชิ้นส่วนประติมากรรมปูนปั้นประดับศาสนสถานแสดงภาพระพุทธรูปประทับ นั่งขัดสมาธิอย่างหลวมๆ เหนือขนดนาค ซึ่งนักวิชาการบางท่านกำหนดอายุจากรูปแบบศิลปกรรมว่าได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบอมราวดีเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามยังไม่มีการค้นพบโบราณสถานหรือโบราณวัตถุที่สร้างขึ้นในท้องถิ่น และมีรูปแบบศิลปกรรมร่วมสมัยกันกับแผ่นดินเผารูปพระภิกษุสามองค์อุ้มบาตร และพระพุทธรูปเหนือขนดนาคปูนปั้นที่กล่าวไป ทำให้นักวิชาการบางท่านมีความเห็นเรื่องอายุสมัยของโบราณวัตถุดังกล่าวแตกต่างกันออกไป โดยหากเชื่อว่าโบราณวัตถุนี้ มีอายุสมัยใกล้เคียงกับศิลปะอินเดียแบบอมราวดี ก็จะนับเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า ชุมชนแถบนี้ได้เปลี่ยนจากความเชื่อท้องถิ่นดั้งเดิม หันมานับถือพระพุทธศาสนา มีการสร้างรูปเคารพ รวมทั้งศาสนสถาน แสดงให้เห็นว่าระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๙ – ๑๑ พระพุทธศาสนาได้หยั่งรากลง ณ บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย และเป็นที่ยอมรับในหมู่ชนพื้นเมืองแล้ว โดยมีเมืองโบราณอู่ทองเป็นศูนย์กลางสำคัญของการประดิษฐานพระพุทธศาสนาในระยะแรกเริ่ม
--------------------------------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
--------------------------------------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร. ศิลปะทวารวดี ต้นกำเนิดพุทธศิลป์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด, ๒๕๕๒. ผาสุข อินทราวุธ. ทวารวดี : การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรสมัย,๒๕๔๒. พนมบุตร จันทรโชติ และคณะ. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง และเรื่องราวสุวรรณภูมิ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๕๐.
(จำนวนผู้เข้าชม 2105 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน