เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
กรมศิลปากรขุดพบจารึกบนแผ่นอิฐที่โบราณสถานวัดส้มสุก จ.เชียงใหม่
นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ ได้รายงาน ผลการขุดแต่งทางโบราณคดีโบราณสถานวัดส้มสุก ตำบลมะลิกา อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็น แหล่งโบราณสถานขนาดใหญ่ที่สุดในแอ่งที่ราบฝาง พบหลักฐานยืนยันอิทธิพลวัฒนธรรมสุโขทัย ที่แพร่หลายเข้าสู่ดินแดนล้านนาโบราณเมื่อกว่า ๖๐๐ ปีมาแล้ว
อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่าในปีงบประมาณ ๒๕๖๔ กรมศิลปากรได้ดำเนินโครงการขุดแต่งโบราณสถานวัดส้มสุก ตำบลมะลิกา อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ต่อจากระยะแรกเมื่อปี ๒๕๕๘ ในขณะนี้ มีโบราณสถานที่ดำเนินการขุดค้นแล้ว ได้แก่ เจดีย์ประธานทรงระฆังมีช้างล้อมรอบฐาน วิหารขนาดใหญ่ ซึ่งพบร่องรอยการปฏิสังขรณ์ ๓ ครั้ง ซุ้มประตูโขงและอาคารใหญ่น้อยอีกประมาณ ๑๐ หลัง พบโบราณวัตถุสำคัญ ได้แก่ พระพิมพ์เนื้อชินมีจารึกคาถา “จะภะกะสะ” ซึ่งเป็นคาถาที่ปรากฏในคัมภีร์วิชรสารัตนสังคหะ รจนาโดย พระรัตนปัญญาเถระภิกษุในนิกายวัดสวนดอกเมื่อ พ.ศ. ๒๐๗๘ นอกจากนั้นยังพบจารึกอักษรฝักขามบนแผ่นอิฐหน้าวัวและอิฐรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีทั้งที่จารเป็นอักษร ๑ – ๒ ตัว และเป็นข้อความหรือภาพลายเส้นเป็นลวดลายต่าง ๆ มากกว่า ๒๐๐ ก้อน จนอาจกล่าวได้ว่าวัดส้มสุกเป็นวัดที่มีจารึกมากที่สุดในประเทศไทย เบื้องต้น นักโบราณคดีได้จำแนกจารึกบนก้อนอิฐที่พบออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มที่เขียนเป็นข้อความ ส่วนใหญ่ระบุชื่อบุคคลที่อาจหมายถึงผู้ปั้นหรือผู้บริจาคอิฐก้อนนั้น ๆ และกลุ่มที่เขียนเป็นตัวอักษร ๑ - ๒ ตัว ซึ่งส่วนใหญ่พบบนอิฐหน้าวัว ที่ประกอบกันเป็นเสาอาคาร มีข้อสังเกตว่าในเสาต้นเดียวกันส่วนใหญ่จะเป็นการจารึกตัวอักษรตัวเดียวกัน เบื้องต้นนักโบราณคดีสันนิษฐานว่าอาจเกี่ยวข้องกับการให้รหัสสำหรับการก่อสร้าง หรือเทคนิคการผลิต หรืออาจหมายถึงกลุ่มบุคคล กลุ่มข้าวัด หัววัด หรือศรัทธาวัดแต่ละหมู่บ้าน ที่ร่วมแรงร่วมใจกันซ่อมสร้างวัดโบราณแห่งนี้ขึ้น อย่างไร ก็ตามจารึกทั้งหมดยังอยู่ระหว่างการศึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาโบราณ ซึ่งจะมีสรุปรายงานผลการศึกษาทั้งหมดอย่างเป็นทางการต่อไป
การขุดแต่งโบราณสถานวัดส้มสุก เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากรและชุมชน ในตำบลมะลิกา ที่ต้องการอนุรักษ์และพัฒนามรดกทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าของท้องถิ่น โดยในปีงบประมาณเดียวกันนี้ กรมศิลปากรยังได้อนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมอีก ๑.๑ ล้านบาท สำหรับการขุดค้นและดำเนินการทางโบราณคดีให้ครบถ้วน เพื่อขยายผลการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์และโบราณคดีให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น อีกทั้งจะนำไปสู่การต่อยอดสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้ชาวอำเภอแม่อายได้ต่อไปในอนาคต
(จำนวนผู้เข้าชม 896 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน