เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
พระพุทธรูปยืนตริภังค์ปางแสดงธรรม พบจากเจดีย์หมายเลข ๓ เมืองโบราณอู่ทอง
พระพุทธรูปยืนตริภังค์ปางแสดงธรรม พบจากเจดีย์หมายเลข ๓ เมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดง ณ ห้องบรรพชนคนอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
พระพุทธรูปยืนปางแสดงธรรม อุษณีษะเป็นกะเปาะสูง เม็ดพระศกใหญ่ พระพักตร์รูปไข่ พระขนงต่อกันเป็นปีกกา พระเนตรโปน เหลือบลงต่ำ พระนาสิกใหญ่ พระโอษฐ์หนา อมยิ้มเล็กน้อย พระกรรณยาวเซาะเป็นร่อง พระศอเป็นปล้อง ครองจีวรเรียบ จีวรบางแนบพระวรกาย เห็นขอบสบงบริเวณบั้นพระองค์ พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระแสดงวิตรรกมุทรา (ปางแสดงธรรม) พระหัตถ์ซ้ายหักหายไปสันนิษฐานว่าอาจยึดชายจีวรในระดับบั้นพระองค์ ยืนตริภังค์ (ยืนเอียงสะโพก) ทั้งนี้การยืนตริภังค์ของพระพุทธรูป แสดงถึงอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบคุปตะ แต่ลักษณะพระพักตร์เป็นแบบทวารวดีแล้ว จึงกำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๔ (ประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว)
พระพุทธรูปยืนตริภังค์ พบจำนวนไม่มากนักในสมัยทวารวดี โดยพบในกลุ่มพระพุทธรูปแสดงวรมุทรา (ปางประทานพร) สลักด้วยหินขนาดใหญ่ กลุ่มพระพุทธรูปสำริด และพระพิมพ์อีกจำนวนหนึ่ง พระพุทธรูปยืนตริภังค์ ศิลปะทวารวดี มักจะครองจีวรห่มเฉียง และแสดงวิตรรกมุราด้วยพระหัตถ์ขวา ส่วนพระหัตถ์ซ้ายยึดชายจีวรในระดับบั้นพระองค์หรือปล่อยลงข้างพระวรกาย เป็นลักษณะการแสดงพระหัตถ์ที่ไม่สมมาตร ต่างจากกลุ่มพระพุทธรูปยืนสมภังค์ (ยืนตรง) มักจะครองจีวรห่มคลุม แสดงวิตรรกมุทราสองพระหัตถ์ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่นิยมในพระพุทธรูปที่สร้างในสมัยทวารวดี ซึ่งพบเป็นจำนวนมากกว่าพระพุทธรูปยืนตริภังค์ (ยืนเอียงสะโพก)
นอกจากพระพุทธรูปยืนตริภังค์องค์นี้แล้ว ที่เมืองโบราณอู่ทองยังพบพระพุทธรูปยืนตริภังค์อีกจำนวนหนึ่ง ได้แก่ พระพุทธรูปสำริดยืนตริภังค์ จากเจดีย์หมายเลข ๒ และ ๑๓ รวมทั้งยังพบพระพิมพ์ดินเผาภาพพระพุทธรูปยืนตริภังค์จากเจดีย์หมายเลข ๒ และ ๓ อีกด้วย
---------------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
---------------------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. พระพุทธรูปและพระพิมพ์ทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๒. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.
(จำนวนผู้เข้าชม 2240 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน