เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
ตู้ไปรษณีย์เบตง
ก่อนเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารจะก้าวไกลอย่างปัจจุบัน การเขียนจดหมายส่งถึงกันถือว่าเป็นการสื่อสารในรูปแบบหนึ่งที่สามารถเล่าเรื่องราวต่างๆ เพื่อให้ผู้รับได้ทราบ ซึ่งกิจการไปรษณีย์นั้นได้เริ่มต้นขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โดยได้มีการจัดตั้งกรมไปรษณีย์ขึ้นในประเทศ และได้มีการผลิต “แสตมป์ชุดโสฬส” เป็นแสตมป์ชุดแรกของประเทศ รวมไปถึงการจัดพิมพ์ไปรษณียบัตรครั้งแรก เพื่อรองรับกิจการไปรษณีย์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น
อีกสิ่งที่มีควบคู่กับการไปรษณีย์ นั่นคือ “ตู้ไปรษณีย์” ซึ่งเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของการไปรษณีย์ไทย โดยตู้ไปรษณีย์ที่เก่าแก่ที่สุดของไทยเป็นตู้ที่ได้รับมอบเป็นของขวัญจากประเทศเยอรมนี ในโอกาสที่ประเทศไทยเปิดให้บริการไปรษณีย์ขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2426
ในส่วนของจังหวัดยะลานั้น ตู้ไปรษณีย์ที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่อำเภอเบตง ตั้งอยู่หัวมุมถนนสุขยางค์ บริเวณสี่แยกหอนาฬิกา สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2467 ลักษณะของตู้เป็นรูปทรงกลม และคอนกรีตเสริมเหล็ก มีเส้นรอบวงของตัวตู้ประมาณ 140 ซม. มีความสูงถึง 290 ซม. นับจากฐานขึ้นไป รวมความสูงทั้งหมดประมาณ 320 ซม. กล่าวคือ เนื่องจากในอดีตการเดินทางติดต่อสื่อสารระหว่างอำเภอเบตงกับอำเภออื่นๆ มีความยากลำบาก การส่งจดหมายจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด จนกระทั่งนายสงวน จิระจินดา นายกเทศมนตรีเบตงในขณะนั้น ซึ่งเคยเป็นนายไปรษณีย์เบตงมาก่อน มีความคิดที่จะสร้างตู้ไปรษณีย์ไว้เพื่อเป็นสัญลักษณ์เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของอำเภอเบตง นอกจากจะเป็นตู้รับจดหมายแล้ว ยังมีการติดตั้งวิทยุกระจายเสียงไว้ส่วนบนของตู้ เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข่าวสารจากทางราชการด้วย ต่อมาทางเทศบาลเบตงจึงได้จำลองตู้ไปรษณีย์ขนาดใหญ่กว่าเดิมถึง 3.5 เท่า บริเวณศาลาประชาคม ถนนสุขยางค์ โดยมีความสูงประมาณ 9 เมตร เป็นจุดเด่นที่นักท่องเที่ยวนิยมแวะมาถ่ายรูปเป็นที่ระลึก และตู้ไปรษณีย์ทั้งสองแห่งยังคงสามารถใช้งานได้เหมือนกับตู้ไปรษณีย์ทั่วไปอีกด้วย
-----------------------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ยะลา https://www.facebook.com/751655098538170/posts/1316230012080673/
-----------------------------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง :
บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด. ประวัติกิจการไปรษณีย์ไทย (ออนไลน์). แหล่งที่มา http://www.thailandpost.co.th เทศบาลเมืองเบตง จังหวัดยะลา. ตู้ไปรษณีย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ (ออนไลน์). แหล่งที่มา http://betongcity.go.th/?p=5714 ปราณชลี. ไผ่งามนามเบตง 111 ปี เล่าขานตำนานเมืองเบตง. 2560
(จำนวนผู้เข้าชม 3400 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน