เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
กู่บ้านหัวสระ ตำบลหัวทะเล อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ
นอกจาก กู่บ้านกุดยาง แล้ว ในเขตพื้นที่ อำเภอบำเหน็จณรงค์ ยังพบร่องรอยหลักฐานการมีอยู่ของปราสาทในวัฒนธรรมเขมรอีกหลายแห่ง อาทิ โบราณสถานปรางค์บ้านตาล โบราณสถานสบน้ำมัน ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของกู่บ้านหัวสระ ห่างไปประมาณ 4 กิโลเมตร และ 10 กิโลเมตร
ร่องรอยของกู่บ้านกุดยาง ปรากฏให้เห็นเฉพาะส่วนฐานของสิ่งก่อสร้าง จากหลักฐานพบว่า กู่บ้านหัวสระ มีปราสาทประธานหลังเดียว หันด้านหน้าไปทางตะวันออก ก่อสร้างด้วยศิลาแลงและหินทราย ส่วนฐานชั้นล่างสุดถูกฝังจมอยู่ใต้ดินทั้งหมด ไม่เห็นรูปทรงที่ชัดเจนและไม่สามารถตรวจสอบขนาดความกว้าง – ความยาวได้ บนผิวดินพบร่องรอยของหินทรายสีแดงที่วางเรียงเป็นกรอบส่วนฐานของชั้นเรือนธาตุของปราสาท แผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพิ่มมุม ขนาดกว้าง – ยาว ด้านละประมาณ 4.30 เมตร ทางด้านตะวันออกที่ตำแหน่งประตูทางเข้า พบร่องรอยของหินกรอบประตูและเสาประดับกรอบประตู ทั้ง 2 ข้าง นอกจากนี้ที่ทางด้านตะวันออก ยังพบหลักฐานหินทรายสีแดงวางเรียงเป็นกรอบฐานของห้องมุข ขนาดกว้าง 2.50 เมตร ยื่นออกมากจากฐานของปราสาท ระยะ 1.50 เมตร เหนือจากส่วนฐานขึ้นไปซึ่งตามรูปแบบแล้วจะเป็นส่วนเรือนธาตุและชั้นยอดของปราสาท พังทลายลงหมดแล้ว
ด้านทิศตะวันออกของกู่บ้านหัวสระ ระยะทางประมาณ 140 เมตร ปรากฏบารายรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 150 เมตร ยาว 220 เมตร ปัจจุบันได้รับการขุดลอกและปรับปรุงแล้ว มีการใช้ประโยชน์ในการเก็บกักน้ำ จากรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่พบและวัสดุที่นำมาใช้สร้างปราสาท จึงสันนิษฐานว่ากู่บ้านหัวสระมีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-18
นอกจาก กู่บ้านกุดยาง แล้ว ในเขตพื้นที่ อำเภอบำเหน็จณรงค์ ยังพบร่องรอยหลักฐานการมีอยู่ของปราสาทในวัฒนธรรมเขมรอีกหลายแห่ง อาทิ โบราณสถานปรางค์บ้านตาล โบราณสถานสบน้ำมัน ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของกู่บ้านหัวสระ ห่างไปประมาณ ๔ กิโลเมตร และ ๑๐ กิโลเมตร
--------------------------------------------------------------
ข้อมูลโดย นายนภสินธุ์ บุญล้อม นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา
--------------------------------------------------------------
(จำนวนผู้เข้าชม 1426 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน