เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
“ไหลาว”ภาชนะรูปแบบเด่นที่พบในภูมิภาคอีสานใต้
ไหลาว ภาชนะรูปแบบเด่นที่พบในภูมิภาคอีสานใต้ ซึ่งแม้จะไม่ได้มีแหล่งผลิตในภูมิภาคอีสานใต้ แต่จากการขุดศึกษาโบราณสถานพระธาตุกุดจอด ตำบลบ้านยาง อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งกำหนดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22-24 และธาตุลาวอีกหลายแห่ง เราพบไหลาว ซึ่งมีรูปแบบภาชนะที่โดดเด่นด้วยเช่นกัน
ไหลาว เป็นภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งในกลุ่มวัฒนธรรมล้านช้าง ที่มักจะสร้างความสับสนให้กับนักโบราณคดีมือใหม่ที่มักจะตีความว่าเป็นไหเขมร เนื่องจากมีลักษณะสีน้ำเคลือบที่ใกล้เคียงกันและมักพบในแหล่งโบราณคดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเช่นเดียวกัน
ภาชนะแบบนี้มีแหล่งผลิตอยู่ในบริเวณลุ่มน้ำสงคราม ในพื้นที่จังหวัดสกลนครและจังหวัดนครพนม และกลุ่มเตาในกรุงเวียงจันทน์ สปป.ลาว เทคนิคการผลิตในแต่ละกลุ่มเตาค่อนข้างจะเหมือนกัน แตกต่างที่การทำสีเคลือบ ภาชนะแบบไหที่เป็นรูปแบบที่พบมากจากลุ่มเตาลุ่มแม่น้ำสงคราม ทำเป็นภาชนะขนาดใหญ่ทรงสูง ขอบปากสูง มีส่วนคอแคบ ส่วนลำตัวป่องออก แล้วเรียวลงสู่ฐานที่แคบและไม่มีเชิง มีทั้งรูปทรงที่ส่วนคอสั้น และส่วนคอจนถึงขอบปาก สูง รัศมีขอบปากมีทั้งที่แคบกว่าและใกล้เคียงเส้นผ่าศูนย์กลางลำตัวของภาชนะเคลือบน้ำเคลือบสีน้ำตาลที่อาจมีโทนสีต่างกันไปบ้างในแต่ละแห่งและแบบไม่เคลือบ เนื้อภาชนะมีสีเทา มีการตกแต่งบริเวณไหล่ ด้วยหูหลอก หรือที่เรียกว่า “จีบแปะ”, ลวดลายขด, ลวดลายต่าง ๆ ด้วยเทคนิคอื่น ๆ อีกหลายแบบ
สีของน้ำเคลือบภาชนะจากกลุ่มเตาลุ่มน้ำสงคราม พบเพียงสีเดียวคือ สีน้ำตาล ในแต่ละกุล่มเตามีลักษณะเฉพาะของสีน้ำเคลือบต่างกันไป เช่น สีน้ำตาลอ่อน, สีน้ำตาลเข้มหรือสีน้ำตาลไหม้, สีน้ำตาลอมแดง, สีน้ำตาลอมเขียว การทำเคลือบสีน้ำตาล น่าจะเป็นเพราะ การใช้สารประกอบออกไซด์ของเหล็กหรือตะกรันเหล็กหาได้ง่าย และเทคนิควิธีการเคลือบไม่ยุ่งยากซับซ้อน เหมาะที่จะใช้สำหรับภาชนะขนาดใหญ่ การเคลือบไห มักจะเคลือบเฉพาะด้านนอกจนถึงขอบปากด้านใน น้ำเคลือบไหลหยดเป็นทางและเกาะตัวกับผิวภาชนะได้ไม่ดี, ส่วนชามจะเคลือบเฉพาะด้านใน ซึ่งน่าจะมีความสัมพันธ์กับเครื่องถ้วยกลุ่มล้านนา-สุโขทัย มากกว่าเครื่องถ้วยเขมร
ผลิตภัณฑ์จากแม่น้ำสงคราม ส่วนใหญ่ ทำขึ้นเพื่อใช้ในพิธีกรรมเกี่ยวกับความตาย เป็นภาชนะที่มีค่า สำหรับใส่กระดูกแล้วฝัง ในชุมชนที่พบภาชนะใส่กระดูกลักษณะนี้ จึงเป็นชุมชนที่ร่วมสมัยกับระยะที่อาณาจักรลาวเข้มแข็ง ในพุทธศตวรรษที่ 20-21 ซึ่งสามารถดูการกระจายตัวของชุมชนในระยะนี้ได้จาก การกระจายตัวของวัฒนธรรมไหใส่กระดูก ที่เป็นผลิตภัณฑ์จากเตาลุ่มน้ำสงคราม และพบแพร่กระจายในกลุ่มชนที่รับวัฒนธรรมล้านช้าง ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานทั่วทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างด้วย
การที่น้ำเคลือบเกาะผิวไม่ดีจึงมักหลุดล่อนได้ง่าย มีไม่สม่ำเสมอ และมีหยดน้ำเคลือบปรากฏให้เห็นอยู่เสมอก็พอทำให้สามารถแยกไหลาวออกจากไหเขมรได้ นอกจากนี้เนื้อดินของไหเขมรมักจะมีเม็ดกรวดเล็กๆปนอยู่เสมอแต่ไหลาวมักจะมีเนื้อดินเนียนละเอียดกว่า นอกจากไหแล้ว กลุ่มเตาในวัฒนธรรมล้านช้างยังผลิตภาชนะเคลือบสีเขียวขนาดเล็ก จำพวก ถ้วย-ชาม , กล้องยาสูบดินเผา, ตุ้มถ่วงแห ฯลฯ ชาม กระปุก อีกด้วย
------------------------------------------------------------
ข้อมูลโดย นายกิตติพงษ์ สนเล็ก นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา
------------------------------------------------------------
แหล่งอ้างอิงข้อมูล สำนักงานศิลปากรที่ 12 นครราชสีมา. รายงานการขุดแต่งโบราณสถานพระธาตุกุดจอก บ้านยางน้อย ตำบลบ้านยาง อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ. นครราชสีมา: สำนักงานศิลปากรที่ 12 นครราชสีมา. 2546. ปริวรรต ธรรมาปรีชากร และคณะ. ศิลปะเครื่องถ้วยในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โอสถสภา. 2539. น.77-79.
(จำนวนผู้เข้าชม 1888 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน