เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
จดหมายเหตุเล่าเรื่อง ตอน สลากกินแบ่งเป็นเหตุ...สังเกตุได้
‘รางวัลเลขท้ายสองตัวประจำวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ เลขที่ออกคือ…’ หลายคนน่าจะคุ้นเคยกับประโยคข้างต้น เพราะทุกวันที่ ๑ และ ๑๖ ของเดือนถือเป็นช่วงเวลาทองของนักเสี่ยงโชคจากรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล และมักปรากฏผู้โชคดีได้รับรางวัลที่ ๑ ผ่านสื่อต่าง ๆ กันอยู่เนือง ๆ แต่การถูกรางวัลนั้นจะเรียกว่าน่าจะขึ้นอยู่กับดวงชะตาของแต่ละบุคคลหรือบางครั้งอาจมีวิธีการหาตัวเลขนำโชคในรูปแบบความเชื่อและวิธีการต่าง ๆ ดังเช่นเมื่อ ๖๐ ปีที่ผ่านมา จากข้อมูลเอกสารจดหมายเหตุจังหวัดนครพนม แผนกมหาดไทย เรื่อง กระทรวงมหาดไทยสั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสืบสวนข่าวที่ลงในหนังสือพิมพ์เรื่องราษฎรในภาคอิสานปั่นป่วนเพราะการหาซื้อเงินเหรียญรัชกาลที่ ๑ และ ๔ เพื่อดูเลขท้ายลอตเตอรี่ ระบุว่า
วันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๙ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ได้รับรายงานวิทยุสื่อสารจากกระทรวงมหาดไทย สั่งการ เรื่อง หนังสือพิมพ์ลงข่าวว่าขณะนี้ราษฎรภาคอีสานปั่นป่วน เนื่องจากการหาซื้อเงินเหรียญรัชกาลที่ ๑ และ ๔ ถึงกับขายบ้าน ขายนา ไม่เป็นอันทำมาหากิน โดยให้ดำเนินการสอบสวนและหาแนวทางป้องกันเหตุการณ์ดังกล่าว ขณะนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม จึงดำเนินการแจ้งเวียนไปยังนายอำเภอทุกอำเภอเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่า มีราษฎรจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดสกลนครบางคนลักลอบไปหาซื้อเหรียญในราคาเหรียญละ ๔๐๐ บาทขึ้นไป ในบางพื้นที่ อาทิ อำเภอเมืองนครพนม กำหนดให้เหรียญรัชกาลที่ ๑ ราคาสูงถึงราคาเหรียญละ ๑๐,๐๐๐ บาท และเหรียญรัชกาลที่ ๔ ราคาเหรียญละ ๑,๐๐๐ บาท สืบเนื่องจากมีการโฆษณาจากคนรับซื้อว่าหากนำเหรียญดังกล่าวไปให้อาจารย์ปลุกเสกจะสามารถบอกเลขท้ายลอตเตอรี่รางวัลที่ ๑ ได้อย่างแม่นยำ
แต่ทั้งนี้ เมื่อดำเนินการสอบถามจากราษฎรในจังหวัดนครพนม พบว่า ราษฎรในพื้นที่บางแห่งมีการตื่นตัวและรับรู้เหตุการณ์นี้แต่ยังไม่มีการซื้อขายเกิดขึ้นเนื่องจากไม่มีเหรียญลักษณะดังกล่าวขายและยังไม่มีผู้ใดขายบ้านขายนาหาซื้อเงินเหรียญ เจ้าหน้าที่จึงดำเนินการแก้ปัญหาด้วยการชี้แจงให้ราษฎรทราบว่า เงินเหรียญกษาปณ์เริ่มมีใช้ในรัชกาลที่ ๔ ดังนั้นจึงไม่อาจเป็นไปได้ว่าจะมีเหรียญในลักษณะดังกล่าวออกมาจำหน่าย
------------------------------------------------------
เรียงเรียงโดย :
นางสาวพัชราภรณ์ สุวรรณะ นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อุบลราชธานี
------------------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
กองกษาปณ์. (๒๕๕๗). เงินตรา. ค้นข้อมูลเมื่อวันที่ ๑ ก.พ. ๒๕๖๔ จากhttp://www.royalthaimint.net/ ewtadmin/ewt/mint_web/ewt_newsphp?nid=46&filename=index) หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร อุบลราชธานี. นพ ๑.๒/๔๔ กระทรวงมหาดไทยสั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสืบสวนข่าวที่ลงในหนังสือพิมพ์ เรื่อง ราษฎรในภาคอิสานปั่นป่วนเพราะการหาซื้อเงินเหรียญรัชกาลที่ ๑ และ ๔ เพื่อดูเลขท้ายลอตเตอรี่ (๒๘ มิ.ย. - ๑๐ ก.ค. ๒๔๙๙)
(จำนวนผู้เข้าชม 1593 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน