เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
ภาชนะรูปแบบเด่นที่พบในภูมิภาคอีสานใต้กับถ้วยสำริด
ภาชนะรูปแบบเด่นที่พบในภูมิภาคอีสานใต้กับถ้วยสำริด ซึ่งความพิเศษมิได้อยู่ที่ลวดลาย เเต่เป็นของที่บรรจุอยู่ภายใน
หากพูดถึง "ถ้วยสำริด" เป็นสิ่งที่สามารถพบในแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์นับตั้งเเต่สมัยสำริดเป็นต้นมา หรือราว 4,000-1,500 ปีมาเเล้ว นอกจากจะนำเสนอ ถ้วยสำริด ที่พบเเล้ว ยังจะนำเสนอสิ่งที่พบภายใน ถ้วยสำริด ที่พบจากการเก็บกู้โบราณวัตถุ ในเขตพื้นที่บ้านหนองแซงใหญ่ ตำบลบ้านแก้ง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งพบโดยการปรับพื้นที่ จากการเก็บกู้โบราณวัตถุ เราพบถ้วยสำริดจำนวน 2 ชิ้น ซึ่งภายในบรรจุชิ้นส่วนกระดูกและฟันมนุษย์ ดังนี้
ชิ้นที่1
ความสูง 4.5 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 13 เซนติเมตร กลางภาชนะมีแท่งทรงกรวยสูง 2 เซนติเมตร นอกจากนี้ยังพบชิ้นส่วนขากรรไกรล่างและฟันมนุษย์ ได้แก่ 1. ชิ้นส่วนขากรรไกรล่างขวา และฟัรกรามใหญ่ซี่ที่ 1-2 2. ชิ้นส่วนขากรรไกรล่าง และหันกรามน้อยซี่ที่ 2 และฟันกรามใหญ่ซี่ที่ 1-2 และ 3. ฟันตัด 6 ซี่ ฟันกรามน้อย 5 ซี่ และฟันกรามใหญ่ 2 ซี่
ชิ้นที่2
มีความสูง 4 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 8 เซนติเมตร บริเวณก้นมีการเจาะรูขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.4 เซนติเมตร ภายในถ้วยพบชิ้นส่วรกระดูกมนุษย์ 2 ชิ้น ได้ แก่ 1. กระดูกมือ (ระบุข้างไม่ได้) ส่วน Lunate 1 ชิ้น เเละส่วน Trapezoid จำนวน 1 ชิ้น
นอกจากนี้จากการเก็บกู้โบราณวัตถุจากแหล่งโบราณคดีบ้านหนองแซงใหญ่ยังพบโบราณวัตถุ อาทิ ชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์ ชิ้นส่วนกระดูกสัตว์ แวดินเผา เบี้ยดินเผา กระสุนดินเผา โกลนขวานหินขัด ตลอดจนชามดินเผาเนื้อดินธรรมดา ปลายก้นตัด ซึ่ง ร.ศ.ดร.ธนิก เลิศชาญฤทธิ์ ระบุว่า ภาชนะรูปแบบดังกล่าวเป็นตัวแทนของภาชนะดินเผาสมัยเหล็ก จึงกำหนดอายุเบื้องต้น ว่าเป็นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย สมัยเหล็ก ทั้งนี้เป็นการกำหนดอายุเบื้องต้นเท่านั้น เนื่องจากมิได้ดำเนินการศึกษาทางโบราณคดีอย่างเป็นระบบ จึงมีข้อจำกัดในการวิเคราะห์หลักฐานที่พบ
-----------------------------------------------------------------
ข้อมูลโดย นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา
-----------------------------------------------------------------
แหล่งอ้างอิงข้อมูล
ธนิก เลิศชาญฤทธิ์. ภาชนะดินเผายุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย. นนทบุรี: มิวเซียมเพรส. 2560.
(จำนวนผู้เข้าชม 3106 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน