เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
อธิบดีกรมศิลปากรลงพื้นที่ตรวจติดตามโครงการพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์
อธิบดีกรมศิลปากรลงพื้นที่ตรวจติดตามโครงการพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ และโครงการอนุรักษ์และพัฒนาพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ภายในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี
วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร กรมศิลปากร ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินโครงการพัฒนาปรับปรุงคลังเก็บโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ และโครงการอนุรักษ์และพัฒนาพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ภายในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี
นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า กรมศิลปากรได้ดำเนินโครงการพัฒนา ปรับปรุงคลังเก็บโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จำนวน ๒ หลัง คือ อาคาร หลังที่ ๓ และหลังที่ ๔ ของหมู่ตึกพระประเทียบ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงานงวดสุดท้าย นอกจากนี้ ยังได้ ตรวจติดตามการดำเนินโครงการอนุรักษ์และพัฒนาพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ภายในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ซึ่งตั้งอยู่ ในเขตพระราชฐานชั้นใน เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่ง องค์นี้ เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๒๓๑ ส่วนด้านหลังของพระที่นั่งเป็นที่ประทับของข้าราชบริพารฝ่ายใน ซึ่งบริเวณด้านหลังพระที่นั่งมีสภาพป่ารกร้างมานาน จนได้รับการพัฒนาพื้นที่และพบหลักฐานแนวอาคารเก่าที่สร้างซ้อนทับกันถึง ๒ สมัย คือ แนวอาคารเดิมสร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งเป็นแนวเดียวกันกับอาคาร ด้านหน้าของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ จำนวนกว่า ๒๐ หลัง ที่มีลักษณะเด่น คือ กลุ่มอาคาร ๔ หลัง ตั้งอยู่บนฐานไพทีเดียวกัน และแนวอาคารที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเรือนจำประจำจังหวัดขึ้น ก่อนย้ายออกไปยังพื้นที่ปัจจุบันเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๖ จากการขุดแต่งพบหลักฐานต่าง ๆ เช่น กระเบื้องเชิงชายลายเทพพนม กระเบื้องเชิงชายลายพันธุ์พฤกษา การวางแนวท่อน้ำดินเผาภายในอาคารที่สลับซับซ้อน แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้า ทางด้านระบบประปาในสมัยอยุธยา
อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวต่อไปว่า พื้นที่ดังกล่าวนี้หากได้รับการอนุรักษ์และพัฒนา ในอนาคตจะ เป็นพื้นที่แหล่งการเรียนรู้และท่องเที่ยวใหม่ของประชาชนชาวลพบุรีและประชาชนทั่วไป เพราะนอกจากจะเป็นการอนุรักษ์พื้นที่ประวัติศาสตร์แล้วยังเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้โดยเฉพาะพืชสมุนไพรที่ปรากฏอยู่ในพื้นที่มากกว่า ๒๐ ชนิด และหลายชนิดอยู่ในตำรายาพระโอสถพระนารายณ์ รวมถึงเป็นสถานที่พักผ่อนและเพิ่มพื้นที่สีเขียว ตลอดจนส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้กับจังหวัดได้เป็นอย่างดี
ภาพ : หมู่ตึกพระประเทียบ
(จำนวนผู้เข้าชม 10786 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน