จวนเจ้าเมืองสงขลา : ธนบุรี - รัตนโกสินทร์
จวนเจ้าเมืองสงขลา : ธนบุรี - รัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นเรื่องราวของ วัง หรือ จวน หรือบ้านพักเจ้าเมืองสงขลาที่มีการโยกย้ายตามที่ตั้งเมืองแต่ละยุคสมัย
ในวัง : จวนเจ้าเมืองฝั่งแหลมสน
ในสมัยธนบุรีจนถึงต้นรัตนโกสินทร์เมืองสงขลายังคงตั้งอยู่ที่ฝั่งแหลมสน โดยสันนิษฐานว่าที่ว่าราชการเมืองในสมัยนั้นตั้งอยู่ในพื้นที่ซึ่งในปัจจุบันเรียกว่า "ในวัง" ซึ่งมีพื้นที่บนที่ราบทางทิศตะวันออกของวัดสุวรรณคีรี ทั้งนี้ในอดีตชาวบ้านเคยพบแนวกำแพง ธรณีประตูทำด้วยหินแกรนิต และปืนใหญ่ ๖-๗ กระบอกวางกองอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว การขุดค้นทางโบราณคดีในพ.ศ.๒๕๔๒ พบว่าในหลุมขุดค้นที่ ๑-๔ ได้พบเศษภาชนะดินเผาจำนวนมากซึ่งได้แก่เศษเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ชิง เศษเครื่องเบญจรงค์ รวมถึงเศษเครื่องถ้วยของฮอลันดา จึงเป็นไปได้ว่าพื้นที่ในบริเวณนี้อาจเป็นที่ตั้งที่ว่าราชการเมืองสงขลามาก่อน ทั้งนี้สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงษาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงษ์วรเดช ได้บรรยายลักษณะของจวนเจ้าเมืองสงขลาแห่งนี้ในพ.ศ.๒๔๒๗ ไว้ว่า "...บ้านเจ้าเมืองเก่าทำเปนเรือนไทยหลังคามุงกระเบื้อง ฝาขัดแตะถือปูน ๓ หลัง ริมบ้านเจ้าเมืองมีศาลเทพารักษ์โบราณเปนศาลจีน..." จวนเจ้าเมืองที่แหลมสนนี้คงเป็นที่อยู่และที่ว่าราชการมาจนถึงสมัยพระยาวิเชียรคีรี(เถี้ยนเส้ง)
ไนยจ้วน : จวนเจ้าเมืองฝั่งบ่อยาง
ในพ.ศ.๒๓๗๙ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีท้องตราให้พระยาวิเชียรคีรี(เถี้ยนเส้ง) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลาสร้างกำแพงเมืองขึ้นใหม่ที่ฝั่งบ่อยาง พระราชทานเงินส่วยอากรเมืองสงขลา ให้ใช้จ่ายในการก่อกำแพงสองร้อยชั่ง พระยาวิเชียรคีรี(เถี้ยนเส้ง)ได้กำการก่อสร้างกำแพงเมืองพร้อมกับฝังหลักเมืองเสร็จบริบูรณ์ในพ.ศ.๒๓๘๕ กับได้ก่อตึกจีนเป็นจวนผู้ว่าราชการเมืองไว้ ๕ หลังเรียกกันว่าไนยจ้วน ตัวอาคารเป็นเรือนชั้นเดียวยกพื้น หลังคามุงกระเบื้องสงขลา วิธีช่างทำทำนองจีน ทั้งนี้ตำแหน่งที่ตั้งของจวนผู้ว่าราชการเมืองสงขลาตั้งอยู่ภายในกำแพงเมืองสงขลา ด้านหน้าจวนใช้กำแพงเมืองด้านทิศตะวันตกค่อนไปทางเหนือเป็นรั้วจวน ด้านทิศตะวันออกซึ่งเป็นหลังจวนติดกับวัดดอนรัก ด้านทิศเหนือติดกับถนนที่มาจากประตูช่องกุดมุ่งหน้าไปวัดดอนรัก ส่วนด้านทิศใต้ติดกับคลองขวาง ประตูใหญ่ที่ใช้เข้าออกจวนนั้นเป็นประตูเมืองชื่อประตูจันทีพิทักษ์ และประตูพุทธรักษา โดยมีสะพานยื่นออกไปในทะเลสาบที่ประตูนี้เรียกว่าตะพานหน้าจวน จวนแห่งนี้ถือว่าเป็นจวนกลางสำหรับผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา โดยใช้เป็นที่อยู่และที่ว่าราชการเมืองมาตั้งแต่ในสมัยพระยาวิเชียรคีรี(เถี้ยนเส้ง) เจ้าพระยาวิเชียรคีรี(บุญสัง) และเจ้าพระยาวิเชียรคีรี(เม่น) มาเป็นลำดับ และในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อมีการตั้งมณฑลนครศรีธรรมราช และตั้งที่ว่าการมณฑลที่เมืองสงขลาแล้ว ได้มีการปรับปรุงพื้นที่ “ไนยจ้วน” เป็นสถานที่ราชการเช่นเป็นที่ตั้งของศาลมณฑลนครศรีธรรมราช และเป็นคุกกักขังนักโทษ เป็นต้น ส่วนศาลาว่าการมณฑลนั้นใช้อาคารบ้านพักของพระยาสุนทรานุรักษ์(เนตร ณ สงขลา) ผู้ช่วยเจ้าเมืองสงขลา เป็นที่ว่าราชการ
จวนบ้านออก : จวนเจ้าเมืองนอกกำแพงเมือง
หลังจากเจ้าพระยาวิเชียรคีรี(เม่น)ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลาคนต่อๆมาก็อยู่บ้านของตัวไม่ได้อยู่ที่จวนกลางอีกต่อไป เมื่อพระยาวิเชียรคิรี(ชุ่ม) ได้เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลาในพ.ศ.๒๔๒๗ ก็ย้ายที่ว่าราชการเมืองไปยังบ้านส่วนตัวซึ่งเป็นบ้านของพระยาศรีสมบัติจางวางผู้เป็นปู่ (ชาวสงขลาเรียกว่าบ้านออก) สันนิษฐานว่าจวนแห่งนี้อาจเป็นอาคารทรงจีนที่ปรากฏในภาพถ่ายพ.ศ.๒๔๓๗ และถูกระเบิดทำลายไปราวพ.ศ.๒๔๘๕ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒
จวนหลังสุดท้าย : จวนนอกกำแพงเมืองแห่งที่ ๒
ต่อมาเมื่อพระยาวิเชียรคิรี(ชม) ได้เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา ก็ได้ใช้บ้านพักส่วนตัวเป็นที่ว่าราชการ โดยไม่ได้กลับไปใช้จวนกลางที่ใช้กันมาแต่เดิม ทั้งนี้เมื่อนาย Monsieur Claine Jules เข้ามายังเมืองสงขลาในพ.ศ.๒๔๓๒ ได้ถ่ายภาพจวนแห่งนี้ไว้
-------------------------------------------------
เรียบเรียงข้อมูล : นายสารัท ชลอสันติสกุล นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา
-------------------------------------------------
*เผยแพร่ข้อมูล : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร
ในวัง : จวนเจ้าเมืองฝั่งแหลมสน
ในสมัยธนบุรีจนถึงต้นรัตนโกสินทร์เมืองสงขลายังคงตั้งอยู่ที่ฝั่งแหลมสน โดยสันนิษฐานว่าที่ว่าราชการเมืองในสมัยนั้นตั้งอยู่ในพื้นที่ซึ่งในปัจจุบันเรียกว่า "ในวัง" ซึ่งมีพื้นที่บนที่ราบทางทิศตะวันออกของวัดสุวรรณคีรี ทั้งนี้ในอดีตชาวบ้านเคยพบแนวกำแพง ธรณีประตูทำด้วยหินแกรนิต และปืนใหญ่ ๖-๗ กระบอกวางกองอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว การขุดค้นทางโบราณคดีในพ.ศ.๒๕๔๒ พบว่าในหลุมขุดค้นที่ ๑-๔ ได้พบเศษภาชนะดินเผาจำนวนมากซึ่งได้แก่เศษเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ชิง เศษเครื่องเบญจรงค์ รวมถึงเศษเครื่องถ้วยของฮอลันดา จึงเป็นไปได้ว่าพื้นที่ในบริเวณนี้อาจเป็นที่ตั้งที่ว่าราชการเมืองสงขลามาก่อน ทั้งนี้สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงษาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงษ์วรเดช ได้บรรยายลักษณะของจวนเจ้าเมืองสงขลาแห่งนี้ในพ.ศ.๒๔๒๗ ไว้ว่า "...บ้านเจ้าเมืองเก่าทำเปนเรือนไทยหลังคามุงกระเบื้อง ฝาขัดแตะถือปูน ๓ หลัง ริมบ้านเจ้าเมืองมีศาลเทพารักษ์โบราณเปนศาลจีน..." จวนเจ้าเมืองที่แหลมสนนี้คงเป็นที่อยู่และที่ว่าราชการมาจนถึงสมัยพระยาวิเชียรคีรี(เถี้ยนเส้ง)
ไนยจ้วน : จวนเจ้าเมืองฝั่งบ่อยาง
ในพ.ศ.๒๓๗๙ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีท้องตราให้พระยาวิเชียรคีรี(เถี้ยนเส้ง) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลาสร้างกำแพงเมืองขึ้นใหม่ที่ฝั่งบ่อยาง พระราชทานเงินส่วยอากรเมืองสงขลา ให้ใช้จ่ายในการก่อกำแพงสองร้อยชั่ง พระยาวิเชียรคีรี(เถี้ยนเส้ง)ได้กำการก่อสร้างกำแพงเมืองพร้อมกับฝังหลักเมืองเสร็จบริบูรณ์ในพ.ศ.๒๓๘๕ กับได้ก่อตึกจีนเป็นจวนผู้ว่าราชการเมืองไว้ ๕ หลังเรียกกันว่าไนยจ้วน ตัวอาคารเป็นเรือนชั้นเดียวยกพื้น หลังคามุงกระเบื้องสงขลา วิธีช่างทำทำนองจีน ทั้งนี้ตำแหน่งที่ตั้งของจวนผู้ว่าราชการเมืองสงขลาตั้งอยู่ภายในกำแพงเมืองสงขลา ด้านหน้าจวนใช้กำแพงเมืองด้านทิศตะวันตกค่อนไปทางเหนือเป็นรั้วจวน ด้านทิศตะวันออกซึ่งเป็นหลังจวนติดกับวัดดอนรัก ด้านทิศเหนือติดกับถนนที่มาจากประตูช่องกุดมุ่งหน้าไปวัดดอนรัก ส่วนด้านทิศใต้ติดกับคลองขวาง ประตูใหญ่ที่ใช้เข้าออกจวนนั้นเป็นประตูเมืองชื่อประตูจันทีพิทักษ์ และประตูพุทธรักษา โดยมีสะพานยื่นออกไปในทะเลสาบที่ประตูนี้เรียกว่าตะพานหน้าจวน จวนแห่งนี้ถือว่าเป็นจวนกลางสำหรับผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา โดยใช้เป็นที่อยู่และที่ว่าราชการเมืองมาตั้งแต่ในสมัยพระยาวิเชียรคีรี(เถี้ยนเส้ง) เจ้าพระยาวิเชียรคีรี(บุญสัง) และเจ้าพระยาวิเชียรคีรี(เม่น) มาเป็นลำดับ และในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อมีการตั้งมณฑลนครศรีธรรมราช และตั้งที่ว่าการมณฑลที่เมืองสงขลาแล้ว ได้มีการปรับปรุงพื้นที่ “ไนยจ้วน” เป็นสถานที่ราชการเช่นเป็นที่ตั้งของศาลมณฑลนครศรีธรรมราช และเป็นคุกกักขังนักโทษ เป็นต้น ส่วนศาลาว่าการมณฑลนั้นใช้อาคารบ้านพักของพระยาสุนทรานุรักษ์(เนตร ณ สงขลา) ผู้ช่วยเจ้าเมืองสงขลา เป็นที่ว่าราชการ
จวนบ้านออก : จวนเจ้าเมืองนอกกำแพงเมือง
หลังจากเจ้าพระยาวิเชียรคีรี(เม่น)ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลาคนต่อๆมาก็อยู่บ้านของตัวไม่ได้อยู่ที่จวนกลางอีกต่อไป เมื่อพระยาวิเชียรคิรี(ชุ่ม) ได้เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลาในพ.ศ.๒๔๒๗ ก็ย้ายที่ว่าราชการเมืองไปยังบ้านส่วนตัวซึ่งเป็นบ้านของพระยาศรีสมบัติจางวางผู้เป็นปู่ (ชาวสงขลาเรียกว่าบ้านออก) สันนิษฐานว่าจวนแห่งนี้อาจเป็นอาคารทรงจีนที่ปรากฏในภาพถ่ายพ.ศ.๒๔๓๗ และถูกระเบิดทำลายไปราวพ.ศ.๒๔๘๕ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒
จวนหลังสุดท้าย : จวนนอกกำแพงเมืองแห่งที่ ๒
ต่อมาเมื่อพระยาวิเชียรคิรี(ชม) ได้เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา ก็ได้ใช้บ้านพักส่วนตัวเป็นที่ว่าราชการ โดยไม่ได้กลับไปใช้จวนกลางที่ใช้กันมาแต่เดิม ทั้งนี้เมื่อนาย Monsieur Claine Jules เข้ามายังเมืองสงขลาในพ.ศ.๒๔๓๒ ได้ถ่ายภาพจวนแห่งนี้ไว้
-------------------------------------------------
เรียบเรียงข้อมูล : นายสารัท ชลอสันติสกุล นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา
-------------------------------------------------
*เผยแพร่ข้อมูล : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร
(จำนวนผู้เข้าชม 3814 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน