เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
ประติมากรรมปูนปั้นรูปสิงห์ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
ประติมากรรมปูนปั้นรูปสิงห์ สภาพชำรุดเหลือเพียงส่วนใบหน้า มีตาโปน คิ้วหยักเป็นเส้นต่อกัน จมูกใหญ่ อ้าปากกว้าง แลบลิ้น มีร่องรอยของการปั้นแผงคอรอบใบหน้า ประติมากรรมชิ้นนี้น่าจะใช้สำหรับประดับส่วนฐานของศาสนสถาน เนื่องจากพบว่าส่วนฐานของโบราณสถานที่พบประติมากรรมชิ้นนี้ทำเป็นช่อง ซึ่งจากตัวอย่างสถาปัตยกรรมในวัฒนธรรมทวารวดีส่วนฐานที่เจาะเป็นช่องนี้มักประดับด้วยประติมากรรม ทั้งที่เป็นดินเผา หรือปูนปั้น บางครั้งปั้นเป็นเรื่องชาดก รูปคนแคระแบก หรือรูปสัตว์ เป็นต้น
ประติมากรรมรูปสัตว์ที่ช่างสมัยทวารวดีนิยมสร้างเพื่อประดับส่วนฐานของศาสนสถาน มักทำเป็นรูปช้างหรือสิงห์ เพราะเป็นสัตว์ที่มีอำนาจและพละกำลัง หมายถึงผู้พิทักษ์ ปกปักรักษา และค้ำจุนศาสนสถานแห่งนั้น ซึ่งมีต้นแบบและคติการสร้างมาจากศิลปะอินเดียสมัยคุปตะ ทั้งนี้มีการพบหลักฐานประติมากรรมรูปสิงห์ประดับศาสนสถานในเมืองโบราณวัฒนธรรมทวารวดีหลายแห่งในภาคกลางของประเทศไทย เช่น เมืองโบราณโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์ เมืองโบราณคูบัว จังหวัดราชบุรี และเมืองนครปฐมโบราณ เป็นต้น ที่มีรูปแบบศิลปะแตกต่างกันไป น่าจะเกิดจากการผสมผสานศิลปะอินเดียซึ่งเป็นต้นแบบเข้ากับงานช่างท้องถิ่นแต่ละที่ จึงสามารถกำหนดอายุประติมากรรมสิงห์นี้ได้ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๔ (ประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว) ซึ่งเป็นช่วงที่ศิลปะทวารวดีเริ่มมีพัฒนาเป็นรูปแบบการทางศิลปะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ที่แตกต่างจากศิลปะอินเดียแล้ว
การพบประติมากรรมรูปสิงห์ ซึ่งไม่ใช่สัตว์ประจำถิ่นที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ เป็นหลักฐานสำคัญที่บ่งบอกว่าเมืองในวัฒนธรรมทวารดี ติดต่อกับอารยธรรมภายนอก ที่สำคัญคืออินเดีย ในช่วงก่อนช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๔
---------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
https://www.facebook.com/153378118193282/posts/1470400123157735/?d=n
---------------------------------------------------
บรรณานุกรม
กรมศิลปากร. ศิลปะทวารวดี ต้นกำเนิดพุทธศิลป์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด, ๒๕๕๒. ศักดิ์ชัย สายสิงห์, ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๖๒. สุภัทรดิศ ดิศกุล, ม.จ., ศิลปะขอม. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๓๙.
(จำนวนผู้เข้าชม 1070 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน