เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
แหล่งภาพเขียนสีเขาแบนะ อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ประวัติ :
“เขาแบนะ” เป็นเขาหินปูนลูกโดดขนาดเล็ก ตั้งอยู่บริเวณปลายแหลมของหาดฉางหลางในเขตอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ภาพเขียนสีตั้งอยู่บริเวณเพิงผาด้านทิศเหนือของเขา เมื่อน้ำทะเลลดระดับลง เขาแบนะจะมีลักษณะเป็นส่วนหนึ่งของปลายแหลม สามารถเดินเท้าไปชมภาพเขียนสีได้ โดยตัวภาพจะอยู่สูงกว่าระดับพื้นทรายประมาณ ๕ เมตร แต่หากระดับน้ำทะเลขึ้นสูง เขาแบนะจะกลายเป็นเกาะสามารถเดินทางไปชมด้วยเรือ ตัวภาพจะอยู่ในระดับที่สามารถเอื้อมถึง ภาพเขียนสีได้รับการสำรวจโดยโครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคใต้) เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๒ – ๒๕๓๓ สำรวจพบภาพเขียนสีและชิ้นส่วนภาชนะดินเผา
จากลักษณะของพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นเวิ้งอ่าว เหมาะแก่การจอดเรือเพื่อพักระหว่างเดินทางหรือหลบกระแสลม คนโบราณจึงเลือกใช้พื้นบริเวณนี้ สร้างสรรค์ผลงานภาพเขียนสีเพื่อบอกเล่าเรื่องราวหรือเพื่อประกอบพิธีกรรม กำหนดอายุตัวภาพเขียนสีให้อยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ประมาณ ๔,๐๐๐ – ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว ภาพเขียนสีเขาแบนะจึงเป็นตัวแทนแหล่งโบราณคดีที่สำคัญที่แสดงให้เห็นถึงการดำรงอยู่ของชุมชนยุคก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน กำหนดอายุอยู่ในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ ราว ๔,๐๐๐ – ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว
สิ่งสำคัญ
ภาพเขียนสีเขาแบนะ เขียนด้วยสีแดง ใช้เทคนิคร่างโครงภายนอกและตกแต่งลวดลายเป็นลายเส้นหรือระบายสีทึบภายใน
ลักษณะภาพ
เป็นภาพเขียนสีรูปปลา จำนวน ๒ ตัว คว่ำหัวลง ลักษณะการเขียนภาพเขียนเป็นเส้นโครงร่าง และทำเป็นเส้นลายทางด้านในตัวปลา ส่วนหัวกับส่วนหางระบายสีแดงทึบ ด้านล่างของปลาเป็นภาพเขียนสี มีสภาพค่อนข้างลบเลือน โดยมีการระบายสีด้านในทึบ นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่าอาจเป็นอุปกรณ์จับปลา บางท่านสันนิษฐานว่าเป็นรูปสัตว์คล้ายเสือ ถัดลงไปด้านล่างทางด้านขวามือ (ของผู้ชมภาพ) เป็นภาพเขียนสีมีลักษณะคล้ายสัตว์ระบายสีทึบแต่เนื่องจากภาพมีสภาพค่อนข้างลบเลือนทำให้ไม่สามารถเห็นภาพชัดเจน
---------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล :
สำนักศิลปากรที่ ๑๑ นครศรีธรรมราช
https://www.facebook.com/fad11songkhla/posts/1306657213005772?__xts__[0]=68.ARAnhz6KFNp9IYIG4VGzP5zr3fkU6jU3g6KJ0XjLdsazlrm1WKz2M6o7fnIm0LPT2QsJFISqZPNuZQEAjdImiU5aw45vpT22wG1Tv5xDkOTjHgKh9_dHQgGAD4_5ZyAmfViohOpmUJMXp6bn-wP3fDGrl7SNxD_LRir8bYvQ0UjHR33NtKngqToaICXabxC1OlI8IAVG_Amg0eYDxB7psKBSrQUZO9ZN5_4FBMTUch6bGSnyI6qkIRmqGK7gHWvVoEl9VzQyFM8EwYsRsb-BrCV9_vg5WrgvmP6w9SN23Zse4a844ljJbtZ_t0E9CqpVwRm40q4UO79l37mn2I0trTNouw
(จำนวนผู้เข้าชม 2954 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน