เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
เกร็ดความรู้อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ เรื่อง หลุมโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์
เกร็ดความรู้อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์
หลุมโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์
บริเวณนอกกําแพงเมืองด้านทิศใต้ติดกับแม่น้ำแควน้อย ได้มีการขุดพบโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์จํานวน ๔ โครง แต่ที่เห็นอยู่ในหลุมขุดค้นมีเพียง ๒ โครง อีก ๒ โครงไม่สามารถกําหนดอายุและเพศได้ เนื่องจากถูกรบกวนจากสัตว์ใน ดิน จึงได้นําขึ้นจากหลุมขุดค้นและนําไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเก่า อําเภอเมืองฯ จังหวัดกาญจนบุรี โครงกระดูกที่หันศีรษะไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเป็นเพศหญิง อายุประมาณ ๓๐-๓๕ ปี และโครงกระดูกที่หันศีรษะไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเพศหญิง มีอายุ ประมาณ ๒๐-๓๐ ปี ทั้งสองโครงจะฝังรวมกับภาชนะดินเผา ภาชนะสําริด เครื่องมือเหล็ก และสําริด กําไลเปลือกหอยและสําริด ลูกปัดหิน และลูกปัดแก้ว
แหล่งโบราณคดีที่เป็นหลุมฝังศพในลักษณะนี้พบหลายแห่งตามริมฝั่งแม่น้ํา แควน้อย ในเขตอําเภอไทรโยค จนถึงอําเภอเมืองฯ จังหวัดกาญจนบุรี อันแสดงให้เห็น ถึงกลุ่มคนในวัฒนธรรมดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ตามริมฝั่งแม่น้ํา ก่อนที่จะมีการสร้างปราสาท เมืองสิงห์ในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ จากหลักฐานที่พบสันนิษฐานว่ากลุ่มคนเหล่านี้เคยอยู่ มาเมื่อประมาณ ๒.๐๐๐ ปีมาแล้ว และเคยมีการติดต่อกับชุมชนอื่นเช่นที่บ้านดอนตาเพชร อําเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี เพราะหลักฐานต่าง ๆ ที่พบคล้ายคลึงกัน และมีอายุ ในช่วงปลายยุคโลหะเช่นเดียวกัน ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://virtualhistoricalpark.finearts.go.th/muangsing/index.php/th/%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99/13-event/132-historicalpark.html?option=com_content&view=article&layout=edit&id=121
(จำนวนผู้เข้าชม 1381 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน