เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
อธิบดีกรมศิลปากรมอบนโยบายเชิงรุกพัฒนามาตรฐานงานขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานเปิดการประชุมผู้แทนพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ เพื่อพัฒนามาตรฐานการดำเนินงานขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ในครอบครองของวัดและเอกชน และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จัดโดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ณ ห้องประชุมคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมกว่า ๙๐ คน
อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า กรมศิลปากรมีหน่วยงานทั้งส่วนกลางและภูมิภาคที่ดูแลโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ในครอบครองของวัดและเอกชน โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รวม ๔๑ แห่ง มีภัณฑารักษ์และเจ้าพนักงาน พิพิธภัณฑ์ที่นอกจากดูแลโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ในความรับผิดชอบของกรมศิลปากรแล้ว ยังมีหน้าที่ในการทำนุบำรุง ปกป้อง สงวนรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่แม้ไม่ได้อยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร แต่มีคุณค่าเชิงโบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ เทคนิคศิลปกรรมโบราณไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน สมควรได้รับการคุ้มครองในฐานะสมบัติของชาติ โดยดำเนินการภายใต้โครงการสำรวจขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุในครอบครองของวัด ภาครัฐและเอกชน ทั่วราชอาณาจักร ต่อเนื่องมายาวนานกว่า ๓๐ ปี
ทั้งนี้ กรมศิลปากรให้ความสำคัญกับการปกป้องโบราณสถาน โบราณวัตถุอันทรงคุณค่า โดยมีการ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึงมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๗๘ ด้วยจุดมุ่งหมายป้องกันมิให้โบราณวัตถุเหล่านั้นถูกทำให้เสื่อมค่า ชำรุด หรือสูญหายจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ครอบครอง และเป็นหลักฐานว่าโบราณสถานและโบราณวัตถุเหล่านั้นมีใครเป็นเจ้าของ ปัจจุบันมีโบราณวัตถุได้รับประกาศขึ้นทะเบียนในราชกิจจานุเบกษาไปแล้วทั้งสิ้น ๗,๑๔๗ รายการ มีผู้ครอบครองทั้งสิ้น ๑,๖๐๗ ราย กรมศิลปากรได้ติดตามตรวจสอบสภาพ ความเปลี่ยนแปลงสถานะของโบราณวัตถุเหล่านั้นโดยมีการยกระดับการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งโบราณวัตถุที่ประกาศขึ้นทะเบียนที่เกิดความชำรุดเสียหาย ส่วนใหญ่เกิดจากความไม่รู้ว่าโบราณวัตถุในวัดได้รับประกาศขึ้นทะเบียน แล้วต้องปฏิบัติอย่างไรเมื่อมีการชำรุด เสียหาย เสื่อมสภาพ เปลี่ยนแปลงสถานที่ มีการโอนย้าย หรือสูญหาย เนื่องจากกรมศิลปากรแจ้งผู้ครอบครองให้ทราบเพียงครั้งเดียว คือ ครั้งแรกที่ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเจ้าอาวาสหรือผู้ครอบครองคนใหม่ จึงไม่รู้ระเบียบหลักเกณฑ์ทำให้เกิดปัญหาขึ้น ดังนั้น ตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๖๓ จึงได้มอบนโยบายให้แต่ละหน่วยงานจัดทำหนังสือแจ้งผู้ครอบครองเป็นประจำทุกปี เพื่อทบทวนรายการโบราณวัตถุและเน้นย้ำให้ผู้ครอบครองทุกรายปฏิบัติตามระเบียบที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการติดตามตรวจสอบโบราณวัตถุที่เคยประกาศขึ้นทะเบียนแล้วทุกรายการเป็นประจำทุกปี ถือเป็นการปฏิบัติงานในเชิงรุกให้ผู้ครอบครองตระหนักถึงความสำคัญของโบราณวัตถุในฐานะสมบัติของชาติ
อธิบดีกรมศิลปากร ยังได้กล่าวถึงกรณีหนังสือบุด เอกสารโบราณที่ถูกโจรกรรมจากศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชจำนวนมาก ซึ่งมีการสอบถามว่ากรมศิลปากรเคยประกาศขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุเพื่อคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมพื้นบ้านเหล่านี้หรือไม่ ทางกรมศิลปากรเองก็ได้เล็งเห็นความสำคัญของเอกสารโบราณเหล่านี้ ในฐานะภูมิปัญญาของชาติแขนงหนึ่ง นับวันจะถูกทำลายด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงได้มีนโยบายให้สำรวจและพิจารณาโบราณวัตถุกลุ่มสมุดไทย หนังสือบุด คัมภีร์ใบลาน ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นสมบัติของชาติเช่นเดียวกับโบราณวัตถุชนิดอื่น เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองในฐานะโบราณวัตถุที่ประกาศขึ้นทะเบียน ตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติต่อไป
(จำนวนผู้เข้าชม 826 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน