เพลงประกอบระบำทวารวดี
ประวัติความเป็นมา
“ถ้าจะอาศัยโบราณวัตถุสมัยต่าง ๆ เป็นหลัก แล้วสร้างเป็นนาฏศิลป์ขึ้นเป็นชุด ๆ ก็จะทำให้ศิลปโบราณวัตถุแต่ละสมัยมีชีวิตชีวาขึ้น หากสร้างขึ้นได้ตามยุคตามสมัย ก็จะเกิดเป็นนาฏศิลป์ไทยที่นำเอาศิลปต่างยุคต่างสมัยอันมีลักษณะท่าทางและสำเนียงดนตรีที่มีความสวยงามและความไพเราะแตกต่างกันมารวมไว้ให้ชมในที่แห่งเดียวกัน อันจะจูงใจให้ผู้ดูผู้ชมปรารถนาที่จะศึกษาหาความรู้จากโบราณวัตถุสถานแพร่หลายออกไป ข้าพเจ้าจึงพยายามศึกษาศิลปและโบราณวัตถุ สมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย โดยอาศัยภาพปั้นหล่อจำหลักของศิลปโบราณวัตถุจากโบราณสถานสมัยนั้น ๆ เป็นหลักและค้นคว้าเปรียบเทียบกับภาพและเอกสารทางศิลปกรรมและโบราณคดีจากประเทศใกล้เคียงแล้ววางแนวสร้างระบำประจำสมัยของศิลปโบราณวัตถุแต่ละชุด เรียกรวมกัน ที่หมายรวมกันไว้ว่า “ ระบำชุดโบราณคดี”
(ธนิต อยู่โพธิ์, ๒๕๐๑ : ๑๑๕ – ๑๑๖)
นายธนิต อยู่โพธิ์ อธิบดีในสมัยนั้น ได้สนับสนุนให้สร้างอาคารใหม่จำนวน ๒ หลัง คือ อาคาร มหาสุรสิงหนาถและอาคารประพาสพิพิธภัณฑ์เพื่อจัดแสดงโบราณวัตถุและศิลปวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้นด้วยความตั้งใจจะจัดสร้างเครื่องแต่งกายตามสมัยโบราณคดีถวายทอดพระเนตรในงานเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอาคารแสดงศิลปโบราณวัตถุและศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ซึ่งกำหนดไว้ในพุทธศักราช ๒๕๑๐ โดยทูลขอร้องให้หม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งสถาปนิกพิเศษในกรมศิลปากร ทรงศึกษาแบบอย่างและทรงเขียนเลียนแบบเครื่องแต่งกายสมัยลพบุรี กับขอให้นายพรศักดิ์ ผลปราชญ์ ศึกษาและเขียนเลียนแบบเครื่องแต่งกายสมัยทวารวดีบางรูป แต่ในขณะที่เตรียมงานอยู่นั้น (ประมาณพุทธศักราช ๒๕๐๙) ได้รับแจ้งจากนายประสงค์ บุญเจิม เอกอัครราชฑูตไทยประจำกรุงกัวลาลัมเปอร์ว่า “ท่านตนกู อับดุล รามานห์ นายกรัฐมนตรีแห่งมาเลเซีย ต้องการจะได้นาฏศิลป์จากประเทศไทยไปถ่ายทำประกอบภาพยนตร์เรื่อง Raja Bersiong ซึ่งท่านตนกู แต่งขึ้น โดยขอให้กรมศิลปากรจัดระบำจำนวน ๒ ชุด ชุดหนึ่งคือรำซัดชาตรี และอีกชุดหนึ่ง คือระบำแบบศรีวิชัย” ด้วยเหตุที่ท่านตนกู ขอระบำแบบศรีวิชัยไปแสดงประกอบ ภาพยนตร์ จึงทำให้นายธนิต อยู่โพธิ์ เกิดแรงบันดาลใจที่จะสร้างระบำโบราณคดีตามสมัยของศิลป-โบราณวัตถุค้นพบ ประกอบด้วย สมัยทวารวดี สมัยศรีวิชัย สมัยลพบุรี สมัยเชียงแสน และสมัยสุโขทัย
การจัดทำระบำโบราณคดีนั้น มีองค์ประกอบที่สำคัญ ๓ เรื่อง คือ เพลงดนตรีที่ใช้ประกอบระบำ ท่ารำและเครื่องแต่งกาย ทั้งหมดจะต้องมีความสอดคล้องกลมกลืนกัน ทั้งนี้นายธนิต อยู่โพธิ์ได้มอบหมายให้นายมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ประพันธ์ทำนองเพลง นางลมุล ยมะคุปต์ และนางเฉลย ศุขะวณิช ศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ นายสนิท ดิษฐพันธ์ ออกแบบเครื่องแต่งกาย นางชนานันท์ ช่างเรียน สร้างเครื่องแต่งกาย นายชิต แก้วดวงใหญ่ สร้างศิราภรณ์ และเครื่องประดับ //เพลงประกอบ “ระบำทวารวดี”
คำว่า “ระบำ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า การฟ้อนรำเป็นชุด หรืออีกนัยหนึ่ง ระบำ คือการฟ้อนรำมุ่งหมายเพียงเพื่อความงามของศิลปะการรำและความรื่นเริงบันเทิงใจ ไม่มีการดำเนินเป็นเรื่องราว ระบำในยุคแรก อาทิ ระบำสี่บท ระบำย่องหงิด ระบำพรหมาสตร์ ผู้แสดงแต่งกายยืนเครื่องพระ - นาง ลักษณะของระบำชนิดนี้ผู้แสดงจะรำตามบทหรือตีท่ารำตามบทขับร้อง ต่อมาได้มีการคิดประดิษฐ์เพลงระบำมากขึ้น แต่การแต่งกายจะไม่ได้แต่งกายยืนเครื่องหากแต่แต่งกายตามรูปแบบการแสดง นั้น ๆ จึงเรียกระบำที่มีมาแต่เดิมว่า“ระบำมาตรฐาน” และระบำที่เกิดขึ้นที่ภายหลังเรียกว่า“ระบำเบ็ดเตล็ด”ระบำเบ็ดเตล็ดที่แต่งขึ้นภายหลังจะประดิษฐ์ขึ้นเพื่อแทรกอยู่ในการแสดง อาทิ ระบำเริงอรุณ จากการแสดงโขน ตอนศึกวิรุณจำบัง ระบำไกรลาสสำเริง จากการแสดงละครเรื่องมโนห์รา ระบำนพรัตน์ จากละครเรื่องสุวรรณหงส์ ตอนชมถ้ำ ระบำเหล่านี้ผู้แสดงต้องตีท่าตามบทขับร้องด้วยกันทั้งสิ้น
ต่อมาได้มีการประดิษฐ์ระบำที่เลียนแบบกิริยาอาการของสัตว์เพื่อนำมาแทรกอยู่ในการแสดง เช่น ระบำม้าหรือระบำอัศวลีลา จากการแสดงโขน ชุดพระรามครองเมือง (ตอนปล่อยม้าอุปการ) เพลงที่ประกอบคือเพลงม้ารำและเพลงม้าย่อง ระบำมยุราภิรมย์ แทรกอยู่ในละครในเรื่องอิเหนา ตอนย่าหรันตามนกยูง เพลงที่ประกอบระบำ คือเพลงมยุราภิรมย์ เที่ยวช้าและเที่ยวเร็ว และมีส่วนลงจบ เพลงระบำเหล่านี้มักจะไม่มีบทขับร้องมีแต่การบรรเลงดนตรี แนวคิดในการประพันธ์เพลงนำมาจากกิริยาอาการของสัตว์นั้น ๆ การประพันธ์เพลงระบำที่ไม่มีบทขับร้องนี้ ส่วนใหญ่จะประพันธ์ทำนองเพลงเป็น ๒ ส่วน คือ ประพันธ์อัตราจังหวะ ๒ ชั้น หรือเรียกว่า เที่ยวช้าและอัตราชั้นเดียวหรือเรียกว่า เที่ยวเร็ว
สำหรับแนวคิดการประพันธ์เพลงประกอบระบำโบราณคดี ได้แบ่งทำนองออกเป็น ๒ ส่วนเช่นกัน ซึ่งนอกจากประพันธ์ทำนองเพลงตามยุคสมัยแล้ว ยังต้องคำนึงถึงเครื่องดนตรีที่นำมาบรรเลงให้สอดคล้อง กับยุคสมัยด้วย จึงจำเป็นต้องจัดสร้างขึ้นใหม่บ้างตามภาพจำหลักที่พบในสมัยนั้นด้วยแนวคิดที่ต้องการ จะสะท้อนภาพเรื่องราวและร่องรอยของมนุษย์ในอดีตตามหลักฐานที่ได้มาจากการศึกษาสำรวจขุดค้น ศิลปโบราณวัตถุตามหลักวิชาการทางโบราณคดี โดยต้องการที่จะทำให้ศิลปโบราณวัตถุที่ปรากฏในแต่ละยุคสมัยนั้น ได้เคลื่อนไหวเป็นท่าทางนาฏศิลป์ที่สวยงาม และมีสำเนียงดนตรีที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวของศิลปโบราณวัตถุสมัยต่าง ๆ โดยเฉพาะระบำทวารวดี นายมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ ได้มีแนวคิดที่จะสร้างเครื่องดนตรีบางชิ้นเลียนแบบตามยุคสมัยทวารวดี และประสมวงขึ้นใหม่ให้มีความเหมาะสมตาม ยุคสมัย เครื่องดนตรีที่จัดประสมเป็นวงดนตรีสำหรับประกอบการแสดงระบำโบราณคดีนี้ถือว่าเป็น “วงเฉพาะ” ด้วยใช้สำหรับประกอบการแสดงระบำโบราณคดีนี้โดยตรง วงดนตรีแต่ละวงประกอบด้วยเครื่องดำเนินทำนอง และเครื่องกำกับจังหวะ โดยยึดจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
ภาพแกะสลักนักดนตรีในสมัยทวารวดี ที่ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี
ที่มาของภาพ : สมุดภาพแสดงเครื่องแต่งกายตามสมัยประวัติศาสตร์และโบราณคดี หน้า ๑๐
สำหรับแนวคิดเรื่องเครื่องดนตรีบรรเลงประกอบระบำชุดทวารวดีนี้ นายมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ ได้ศึกษาจากภาพแกะสลัก ที่ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี จากภาพเริ่มจากด้านซ้ายประกอบด้วยนักร้อง ๒ คน เครื่องดนตรีมีพิณ ๕ สาย ฉิ่ง และด้านขวาสุดสันนิษฐานว่าเป็นพิณน้ำเต้า จากการสัมภาษณ์ นายสิริชัยชาญ ฟักจำรูญ ศิลปินแห่งชาติ ซึ่งเป็นผู้บรรเลงระนาดตัดครั้งแรกในระบำทวารวดี ได้กล่าวว่า
“วงดนตรีในระบำโบราณคดีทั้ง ๕ ชุด คุณพ่อมนตรี มีความเห็นว่าเมื่อเรามองย้อนยุคสมัยไป ขณะที่นาฏศิลป์ไปเอาภาพจำหลักมาทำให้มีชีวิตขึ้นมาได้ คุณพ่อมนตรีจึงนำเอาเครื่องดนตรีที่อยู่ในภาพจำหลักนั้นมาสร้างใหม่ โดยมอบให้ นายจรูญ ซึ่งเป็นช่างซ่อมเครื่องดนตรีและสามารถทำเครื่องดนตรีได้เป็นผู้สร้างเครื่องดนตรีตามภาพจำหลัก ได้แก่ พิณ ๕ สาย แล้วก็หาหลักฐานว่าในยุคสมัยนั้นหรือก่อนหน้านั้นมีเครื่องดนตรีอะไรบ้าง ก็พบว่า มีเครื่องดนตรีลักษณะคล้ายระนาดตัด แต่ให้ทำทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก จะได้มีเสียงสูง - เสียงต่ำต่างกัน หลังจากนั้นก็พิจารณาว่าสมัยสุโขทัย มีเครื่องดนตรีอะไรบ้าง และในสมัยอยุธยามีเครื่องดนตรีอะไรบ้าง พบว่ามี จะเข้ ที่มีการสันนิษฐานว่าไทยได้รับอิทธิพลมาจากมอญ จึงนำเข้ามาประสมด้วย นำขลุ่ยเข้ามาประสม แต่ทั้งนี้ต้องมี “ตะโพนมอญ” เพราะสมัยทวารวดี มีชนชาติมอญอาศัยอยู่ ทั้งทำนองเพลงที่ประพันธ์ก็มีสำเนียงมอญจึงใช้ตะโพนมอญตีกำกับหน้าทับ เครื่องกำกับจังหวะย่อยใช้กรับ “กรับไม้ไผ่” ไม่ใช้กรับพวง แต่ไม่มีเครื่องสีเพราะไม่ปรากฏว่ามีเครื่องสีในภาพจำหลัก
หลังจากนั้น จึงนำมาบรรเลงรวมวง ฝึกซ้อมกันอยู่หลายสิบครั้ง จนเกิดความกลมกลืนทั้งวง ทั้งนี้ได้กำหนดให้จะเข้ทำหน้าที่ดำเนินทำนองเป็นหลัก ของวง พิณ ๕ สาย มีเสียงเบา ก็ดีดตามทำนองเพลงเช่นกัน ระนาดตัดที่จัดสร้างขึ้นใหม่ ๒ ราง คุณพ่อมนตรี จึงให้ระนาดตัดรางใหญ่(เสียงต่ำ)เสียงต่ำทำหน้าที่ดำเนินตามทำนองเพลง ส่วนระนาดรางตัดรางเล็ก(เสียงสูง) ให้บรรเลงตามทำนองและบรรเลงสอดแทรกเพื่อให้มีเสียงดังกังวาน หรือสร้างสีสันให้กับทำนองเพลง ตะโพนมอญ ตีกำกับหน้าทับและทำหน้าที่ขึ้นนำทำนองเพลง ส่วนเครื่องดนตรีชิ้นอื่น ทำหน้าที่ตีกำกับจังหวะย่อย”
(สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ,สัมภาษณ์: วันที่ ๓๐ กรกฏาคม ๒๕๖๓)
เครื่องดนตรีที่บรรเลงประกอบระบำทวารวดี ประกอบด้วย
พิณ ๕ สาย
จะเข้
ขลุ่ย
ระนาดตัดรางใหญ่ (เสียงต่ำ)
ระนาดตัดรางเล็ก (เสียงสูง)
ตะโพนมอญ
ฉิ่ง
ฉาบใหญ่และฉาบเล็ก
กรับไม้ไผ่
เมื่อนำมาประสมเป็นวงดนตรีแล้ว แบ่งออกเป็นเครื่องดำเนินทำนอง ได้แก่ พิณ ๕ สาย จะเข้ ขลุ่ย ระนาดตัดรางใหญ่(เสียงสูง) ๑ ราง และระนาดตัดรางเล็ก (เสียงต่ำ) ๑ ราง เครื่องกำกับจังหวะ ได้แก่ ตะโพนมอญ ฉิ่ง ฉาบใหญ่และฉาบเล็ก และกรับไม้ ๒ คู่
ทำนองเพลงระบำทวารวดีที่นายมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ ประพันธ์ขึ้นใหม่เป็นเพลงสำเนียงมอญ แบ่งทำนองเพลงออกเป็นสองส่วน ส่วนที่ ๑ ทำหน้าที่เป็นทำนองนำและทำนองลงจบ เรียกว่า “รัวทวารวดี” ส่วนที่ ๒ เป็นทำนองเพลงที่ใช้ประกอบระบำทวารวดีเป็นเพลงท่อนเดียวให้บรรเลงทั้ง เที่ยวช้าและเที่ยวเร็วตามรูปแบบเพลงระบำที่ได้เคยทำไว้ แต่เพลงระบำทวารวดีนี้จะใช้ทำนองเดียวกัน บรรเลงทั้งอัตรา ๒ ชั้น และอัตราชั้นเดียว ซึ่งจะแตกต่างกับระบำโบราณคดีชุด อื่น ๆ อาทิ ระบำลพบุรี
โน้ตเพลงระบำทวารวดี
ภาพ : โน้ตเพลงระบำโบราณคดีลายมือ นายมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ
ภาพ : โน้ตเพลงระบำทวารวดี ที่คัดลอกใหม่
(ที่มาของภาพ : หนังสือระบำชุดโบราณคดี หน้า ๓๖ )
เที่ยวช้า (อัตรา ๒ ชั้น) ใช้เพลงระบำลพบุรีที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เที่ยวเร็ว (อัตราชั้นเดียว) นำเพลงเขมรชมดง ๒ ชั้นมาตัดลงเป็นชั้นเดียว แล้วนำมาใช้เป็นเที่ยวเร็วของระบำลพบุรี
ดังนั้นเพลงที่ใช้ประกอบระบำทวารวดี ได้แก่ เพลงรัวทวารวดี เพลงทวารวดี (เที่ยวช้าและเที่ยวเร็ว) และรัวทวารวดี ลงจบ
ระบำทวารวดี นำออกแสดงครั้งแรกในงานดนตรีมหกรรมประจำปี ณ เวทีสังคีตศาลา เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๑๐ และได้แสดงถวายพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๑๐
รายนามผู้บรรเลงเพลงระบำทวารวดี ที่บรรเลงถวายหน้าพระที่นั่ง มีดังนี้
------------------------------------------------
ข้อมูล : นางบุญตา เขียนทองกุล รักษาการในตำแหน่งนักวิชาการละครและดนตรีเชี่ยวชาญ สำนักการสังคีต
------------------------------------------------
บรรณานุกรม
- ราชบัณฑิตยสถาน.พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน.พุทธศักราช ๒๕๒๕, กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์, ๒๕๒๕
- ศิลปากร, กรม. ทะเบียนข้อมูล วิพิธทัศนา ชุด ระบำ รำ ฟ้อน เล่ม ๒ กรุงเทพฯ : บริษัท ไทยภูมิ พับลิชชิ่ง จำกัด, ๒๕๕๐.
- ศิลปากร, กรม. ทะเบียนข้อมูล วิพิธทัศนา ชุด ระบำ รำ ฟ้อน เล่ม ๓. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์ ปริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๕๑.
- ศิลปากร,กรม.สมุดภาพแสดงเครื่องแต่งกายตามประวัติศาสตร์และโบราณคดี. กรมศิลปากร รวบรวมจัดพิมพ์ประกอบการแสดงแต่งกายเนื่องในงานฉลองครบ ๒๐ ปี สภาการพิพิธภัณฑ์ ระหว่างชาติ ๖ มีนาคม ๒๕๑๑. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนศิวพร, ๒๕๑๑
- ศิลปากร,กรม. ระบำชุดโบราณคดี. กรมศิลปากรจัดแสดงในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนศิวพร, ๒๕๑๐ //ศิลปากร,กรม. อธิบายเพลงแผ่นเสียงลองเพลย์ ชุดที่ ๖. กรุงเทพฯ:ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิวพร, ๒๕๑๔.
- สัมภาษณ์ นายสิริชัยชาญ ฟักจำรูญ ศิลปินแห่งชาติ วันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๓ ณ ห้องประชุม สำนักการสังคีต
“ถ้าจะอาศัยโบราณวัตถุสมัยต่าง ๆ เป็นหลัก แล้วสร้างเป็นนาฏศิลป์ขึ้นเป็นชุด ๆ ก็จะทำให้ศิลปโบราณวัตถุแต่ละสมัยมีชีวิตชีวาขึ้น หากสร้างขึ้นได้ตามยุคตามสมัย ก็จะเกิดเป็นนาฏศิลป์ไทยที่นำเอาศิลปต่างยุคต่างสมัยอันมีลักษณะท่าทางและสำเนียงดนตรีที่มีความสวยงามและความไพเราะแตกต่างกันมารวมไว้ให้ชมในที่แห่งเดียวกัน อันจะจูงใจให้ผู้ดูผู้ชมปรารถนาที่จะศึกษาหาความรู้จากโบราณวัตถุสถานแพร่หลายออกไป ข้าพเจ้าจึงพยายามศึกษาศิลปและโบราณวัตถุ สมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย โดยอาศัยภาพปั้นหล่อจำหลักของศิลปโบราณวัตถุจากโบราณสถานสมัยนั้น ๆ เป็นหลักและค้นคว้าเปรียบเทียบกับภาพและเอกสารทางศิลปกรรมและโบราณคดีจากประเทศใกล้เคียงแล้ววางแนวสร้างระบำประจำสมัยของศิลปโบราณวัตถุแต่ละชุด เรียกรวมกัน ที่หมายรวมกันไว้ว่า “ ระบำชุดโบราณคดี”
(ธนิต อยู่โพธิ์, ๒๕๐๑ : ๑๑๕ – ๑๑๖)
นายธนิต อยู่โพธิ์ อธิบดีในสมัยนั้น ได้สนับสนุนให้สร้างอาคารใหม่จำนวน ๒ หลัง คือ อาคาร มหาสุรสิงหนาถและอาคารประพาสพิพิธภัณฑ์เพื่อจัดแสดงโบราณวัตถุและศิลปวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้นด้วยความตั้งใจจะจัดสร้างเครื่องแต่งกายตามสมัยโบราณคดีถวายทอดพระเนตรในงานเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอาคารแสดงศิลปโบราณวัตถุและศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ซึ่งกำหนดไว้ในพุทธศักราช ๒๕๑๐ โดยทูลขอร้องให้หม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งสถาปนิกพิเศษในกรมศิลปากร ทรงศึกษาแบบอย่างและทรงเขียนเลียนแบบเครื่องแต่งกายสมัยลพบุรี กับขอให้นายพรศักดิ์ ผลปราชญ์ ศึกษาและเขียนเลียนแบบเครื่องแต่งกายสมัยทวารวดีบางรูป แต่ในขณะที่เตรียมงานอยู่นั้น (ประมาณพุทธศักราช ๒๕๐๙) ได้รับแจ้งจากนายประสงค์ บุญเจิม เอกอัครราชฑูตไทยประจำกรุงกัวลาลัมเปอร์ว่า “ท่านตนกู อับดุล รามานห์ นายกรัฐมนตรีแห่งมาเลเซีย ต้องการจะได้นาฏศิลป์จากประเทศไทยไปถ่ายทำประกอบภาพยนตร์เรื่อง Raja Bersiong ซึ่งท่านตนกู แต่งขึ้น โดยขอให้กรมศิลปากรจัดระบำจำนวน ๒ ชุด ชุดหนึ่งคือรำซัดชาตรี และอีกชุดหนึ่ง คือระบำแบบศรีวิชัย” ด้วยเหตุที่ท่านตนกู ขอระบำแบบศรีวิชัยไปแสดงประกอบ ภาพยนตร์ จึงทำให้นายธนิต อยู่โพธิ์ เกิดแรงบันดาลใจที่จะสร้างระบำโบราณคดีตามสมัยของศิลป-โบราณวัตถุค้นพบ ประกอบด้วย สมัยทวารวดี สมัยศรีวิชัย สมัยลพบุรี สมัยเชียงแสน และสมัยสุโขทัย
การจัดทำระบำโบราณคดีนั้น มีองค์ประกอบที่สำคัญ ๓ เรื่อง คือ เพลงดนตรีที่ใช้ประกอบระบำ ท่ารำและเครื่องแต่งกาย ทั้งหมดจะต้องมีความสอดคล้องกลมกลืนกัน ทั้งนี้นายธนิต อยู่โพธิ์ได้มอบหมายให้นายมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ประพันธ์ทำนองเพลง นางลมุล ยมะคุปต์ และนางเฉลย ศุขะวณิช ศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ นายสนิท ดิษฐพันธ์ ออกแบบเครื่องแต่งกาย นางชนานันท์ ช่างเรียน สร้างเครื่องแต่งกาย นายชิต แก้วดวงใหญ่ สร้างศิราภรณ์ และเครื่องประดับ //เพลงประกอบ “ระบำทวารวดี”
คำว่า “ระบำ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า การฟ้อนรำเป็นชุด หรืออีกนัยหนึ่ง ระบำ คือการฟ้อนรำมุ่งหมายเพียงเพื่อความงามของศิลปะการรำและความรื่นเริงบันเทิงใจ ไม่มีการดำเนินเป็นเรื่องราว ระบำในยุคแรก อาทิ ระบำสี่บท ระบำย่องหงิด ระบำพรหมาสตร์ ผู้แสดงแต่งกายยืนเครื่องพระ - นาง ลักษณะของระบำชนิดนี้ผู้แสดงจะรำตามบทหรือตีท่ารำตามบทขับร้อง ต่อมาได้มีการคิดประดิษฐ์เพลงระบำมากขึ้น แต่การแต่งกายจะไม่ได้แต่งกายยืนเครื่องหากแต่แต่งกายตามรูปแบบการแสดง นั้น ๆ จึงเรียกระบำที่มีมาแต่เดิมว่า“ระบำมาตรฐาน” และระบำที่เกิดขึ้นที่ภายหลังเรียกว่า“ระบำเบ็ดเตล็ด”ระบำเบ็ดเตล็ดที่แต่งขึ้นภายหลังจะประดิษฐ์ขึ้นเพื่อแทรกอยู่ในการแสดง อาทิ ระบำเริงอรุณ จากการแสดงโขน ตอนศึกวิรุณจำบัง ระบำไกรลาสสำเริง จากการแสดงละครเรื่องมโนห์รา ระบำนพรัตน์ จากละครเรื่องสุวรรณหงส์ ตอนชมถ้ำ ระบำเหล่านี้ผู้แสดงต้องตีท่าตามบทขับร้องด้วยกันทั้งสิ้น
ต่อมาได้มีการประดิษฐ์ระบำที่เลียนแบบกิริยาอาการของสัตว์เพื่อนำมาแทรกอยู่ในการแสดง เช่น ระบำม้าหรือระบำอัศวลีลา จากการแสดงโขน ชุดพระรามครองเมือง (ตอนปล่อยม้าอุปการ) เพลงที่ประกอบคือเพลงม้ารำและเพลงม้าย่อง ระบำมยุราภิรมย์ แทรกอยู่ในละครในเรื่องอิเหนา ตอนย่าหรันตามนกยูง เพลงที่ประกอบระบำ คือเพลงมยุราภิรมย์ เที่ยวช้าและเที่ยวเร็ว และมีส่วนลงจบ เพลงระบำเหล่านี้มักจะไม่มีบทขับร้องมีแต่การบรรเลงดนตรี แนวคิดในการประพันธ์เพลงนำมาจากกิริยาอาการของสัตว์นั้น ๆ การประพันธ์เพลงระบำที่ไม่มีบทขับร้องนี้ ส่วนใหญ่จะประพันธ์ทำนองเพลงเป็น ๒ ส่วน คือ ประพันธ์อัตราจังหวะ ๒ ชั้น หรือเรียกว่า เที่ยวช้าและอัตราชั้นเดียวหรือเรียกว่า เที่ยวเร็ว
สำหรับแนวคิดการประพันธ์เพลงประกอบระบำโบราณคดี ได้แบ่งทำนองออกเป็น ๒ ส่วนเช่นกัน ซึ่งนอกจากประพันธ์ทำนองเพลงตามยุคสมัยแล้ว ยังต้องคำนึงถึงเครื่องดนตรีที่นำมาบรรเลงให้สอดคล้อง กับยุคสมัยด้วย จึงจำเป็นต้องจัดสร้างขึ้นใหม่บ้างตามภาพจำหลักที่พบในสมัยนั้นด้วยแนวคิดที่ต้องการ จะสะท้อนภาพเรื่องราวและร่องรอยของมนุษย์ในอดีตตามหลักฐานที่ได้มาจากการศึกษาสำรวจขุดค้น ศิลปโบราณวัตถุตามหลักวิชาการทางโบราณคดี โดยต้องการที่จะทำให้ศิลปโบราณวัตถุที่ปรากฏในแต่ละยุคสมัยนั้น ได้เคลื่อนไหวเป็นท่าทางนาฏศิลป์ที่สวยงาม และมีสำเนียงดนตรีที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวของศิลปโบราณวัตถุสมัยต่าง ๆ โดยเฉพาะระบำทวารวดี นายมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ ได้มีแนวคิดที่จะสร้างเครื่องดนตรีบางชิ้นเลียนแบบตามยุคสมัยทวารวดี และประสมวงขึ้นใหม่ให้มีความเหมาะสมตาม ยุคสมัย เครื่องดนตรีที่จัดประสมเป็นวงดนตรีสำหรับประกอบการแสดงระบำโบราณคดีนี้ถือว่าเป็น “วงเฉพาะ” ด้วยใช้สำหรับประกอบการแสดงระบำโบราณคดีนี้โดยตรง วงดนตรีแต่ละวงประกอบด้วยเครื่องดำเนินทำนอง และเครื่องกำกับจังหวะ โดยยึดจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
ภาพแกะสลักนักดนตรีในสมัยทวารวดี ที่ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี
ที่มาของภาพ : สมุดภาพแสดงเครื่องแต่งกายตามสมัยประวัติศาสตร์และโบราณคดี หน้า ๑๐
สำหรับแนวคิดเรื่องเครื่องดนตรีบรรเลงประกอบระบำชุดทวารวดีนี้ นายมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ ได้ศึกษาจากภาพแกะสลัก ที่ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี จากภาพเริ่มจากด้านซ้ายประกอบด้วยนักร้อง ๒ คน เครื่องดนตรีมีพิณ ๕ สาย ฉิ่ง และด้านขวาสุดสันนิษฐานว่าเป็นพิณน้ำเต้า จากการสัมภาษณ์ นายสิริชัยชาญ ฟักจำรูญ ศิลปินแห่งชาติ ซึ่งเป็นผู้บรรเลงระนาดตัดครั้งแรกในระบำทวารวดี ได้กล่าวว่า
“วงดนตรีในระบำโบราณคดีทั้ง ๕ ชุด คุณพ่อมนตรี มีความเห็นว่าเมื่อเรามองย้อนยุคสมัยไป ขณะที่นาฏศิลป์ไปเอาภาพจำหลักมาทำให้มีชีวิตขึ้นมาได้ คุณพ่อมนตรีจึงนำเอาเครื่องดนตรีที่อยู่ในภาพจำหลักนั้นมาสร้างใหม่ โดยมอบให้ นายจรูญ ซึ่งเป็นช่างซ่อมเครื่องดนตรีและสามารถทำเครื่องดนตรีได้เป็นผู้สร้างเครื่องดนตรีตามภาพจำหลัก ได้แก่ พิณ ๕ สาย แล้วก็หาหลักฐานว่าในยุคสมัยนั้นหรือก่อนหน้านั้นมีเครื่องดนตรีอะไรบ้าง ก็พบว่า มีเครื่องดนตรีลักษณะคล้ายระนาดตัด แต่ให้ทำทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก จะได้มีเสียงสูง - เสียงต่ำต่างกัน หลังจากนั้นก็พิจารณาว่าสมัยสุโขทัย มีเครื่องดนตรีอะไรบ้าง และในสมัยอยุธยามีเครื่องดนตรีอะไรบ้าง พบว่ามี จะเข้ ที่มีการสันนิษฐานว่าไทยได้รับอิทธิพลมาจากมอญ จึงนำเข้ามาประสมด้วย นำขลุ่ยเข้ามาประสม แต่ทั้งนี้ต้องมี “ตะโพนมอญ” เพราะสมัยทวารวดี มีชนชาติมอญอาศัยอยู่ ทั้งทำนองเพลงที่ประพันธ์ก็มีสำเนียงมอญจึงใช้ตะโพนมอญตีกำกับหน้าทับ เครื่องกำกับจังหวะย่อยใช้กรับ “กรับไม้ไผ่” ไม่ใช้กรับพวง แต่ไม่มีเครื่องสีเพราะไม่ปรากฏว่ามีเครื่องสีในภาพจำหลัก
หลังจากนั้น จึงนำมาบรรเลงรวมวง ฝึกซ้อมกันอยู่หลายสิบครั้ง จนเกิดความกลมกลืนทั้งวง ทั้งนี้ได้กำหนดให้จะเข้ทำหน้าที่ดำเนินทำนองเป็นหลัก ของวง พิณ ๕ สาย มีเสียงเบา ก็ดีดตามทำนองเพลงเช่นกัน ระนาดตัดที่จัดสร้างขึ้นใหม่ ๒ ราง คุณพ่อมนตรี จึงให้ระนาดตัดรางใหญ่(เสียงต่ำ)เสียงต่ำทำหน้าที่ดำเนินตามทำนองเพลง ส่วนระนาดรางตัดรางเล็ก(เสียงสูง) ให้บรรเลงตามทำนองและบรรเลงสอดแทรกเพื่อให้มีเสียงดังกังวาน หรือสร้างสีสันให้กับทำนองเพลง ตะโพนมอญ ตีกำกับหน้าทับและทำหน้าที่ขึ้นนำทำนองเพลง ส่วนเครื่องดนตรีชิ้นอื่น ทำหน้าที่ตีกำกับจังหวะย่อย”
(สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ,สัมภาษณ์: วันที่ ๓๐ กรกฏาคม ๒๕๖๓)
เครื่องดนตรีที่บรรเลงประกอบระบำทวารวดี ประกอบด้วย
พิณ ๕ สาย
จะเข้
ขลุ่ย
ระนาดตัดรางใหญ่ (เสียงต่ำ)
ระนาดตัดรางเล็ก (เสียงสูง)
ตะโพนมอญ
ฉิ่ง
ฉาบใหญ่และฉาบเล็ก
กรับไม้ไผ่
เมื่อนำมาประสมเป็นวงดนตรีแล้ว แบ่งออกเป็นเครื่องดำเนินทำนอง ได้แก่ พิณ ๕ สาย จะเข้ ขลุ่ย ระนาดตัดรางใหญ่(เสียงสูง) ๑ ราง และระนาดตัดรางเล็ก (เสียงต่ำ) ๑ ราง เครื่องกำกับจังหวะ ได้แก่ ตะโพนมอญ ฉิ่ง ฉาบใหญ่และฉาบเล็ก และกรับไม้ ๒ คู่
ทำนองเพลงระบำทวารวดีที่นายมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ ประพันธ์ขึ้นใหม่เป็นเพลงสำเนียงมอญ แบ่งทำนองเพลงออกเป็นสองส่วน ส่วนที่ ๑ ทำหน้าที่เป็นทำนองนำและทำนองลงจบ เรียกว่า “รัวทวารวดี” ส่วนที่ ๒ เป็นทำนองเพลงที่ใช้ประกอบระบำทวารวดีเป็นเพลงท่อนเดียวให้บรรเลงทั้ง เที่ยวช้าและเที่ยวเร็วตามรูปแบบเพลงระบำที่ได้เคยทำไว้ แต่เพลงระบำทวารวดีนี้จะใช้ทำนองเดียวกัน บรรเลงทั้งอัตรา ๒ ชั้น และอัตราชั้นเดียว ซึ่งจะแตกต่างกับระบำโบราณคดีชุด อื่น ๆ อาทิ ระบำลพบุรี
โน้ตเพลงระบำทวารวดี
ภาพ : โน้ตเพลงระบำโบราณคดีลายมือ นายมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ
ภาพ : โน้ตเพลงระบำทวารวดี ที่คัดลอกใหม่
(ที่มาของภาพ : หนังสือระบำชุดโบราณคดี หน้า ๓๖ )
เที่ยวช้า (อัตรา ๒ ชั้น) ใช้เพลงระบำลพบุรีที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เที่ยวเร็ว (อัตราชั้นเดียว) นำเพลงเขมรชมดง ๒ ชั้นมาตัดลงเป็นชั้นเดียว แล้วนำมาใช้เป็นเที่ยวเร็วของระบำลพบุรี
ดังนั้นเพลงที่ใช้ประกอบระบำทวารวดี ได้แก่ เพลงรัวทวารวดี เพลงทวารวดี (เที่ยวช้าและเที่ยวเร็ว) และรัวทวารวดี ลงจบ
ระบำทวารวดี นำออกแสดงครั้งแรกในงานดนตรีมหกรรมประจำปี ณ เวทีสังคีตศาลา เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๑๐ และได้แสดงถวายพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๑๐
รายนามผู้บรรเลงเพลงระบำทวารวดี ที่บรรเลงถวายหน้าพระที่นั่ง มีดังนี้
เครื่องดนตรี - ผู้บรรเลง
พิณ ๕ สาย- ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน
จะเข้ - ทองดี สุจริตกุล
ขลุ่ย - สุรพล หนูจ้อย
ระนาดตัดรางเล็ก - ศิลปี ตราโมท
ระนาดตัดรางใหญ่ - สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ
ตะโพนมอญ - ปฐมรัตน์ ถิ่นธรณี
ฉิ่ง - วิเชียร อ่อนละมูล
ฉาบ - อนุชาติ วรรณมาศ
กรับคู่ ๑ - ยงยุทธ ปลื้มปรีชา
กรับคู่ ๒ - บุญช่วย โสวัตร
ข้อมูล : นางบุญตา เขียนทองกุล รักษาการในตำแหน่งนักวิชาการละครและดนตรีเชี่ยวชาญ สำนักการสังคีต
------------------------------------------------
บรรณานุกรม
- ราชบัณฑิตยสถาน.พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน.พุทธศักราช ๒๕๒๕, กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์, ๒๕๒๕
- ศิลปากร, กรม. ทะเบียนข้อมูล วิพิธทัศนา ชุด ระบำ รำ ฟ้อน เล่ม ๒ กรุงเทพฯ : บริษัท ไทยภูมิ พับลิชชิ่ง จำกัด, ๒๕๕๐.
- ศิลปากร, กรม. ทะเบียนข้อมูล วิพิธทัศนา ชุด ระบำ รำ ฟ้อน เล่ม ๓. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์ ปริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๕๑.
- ศิลปากร,กรม.สมุดภาพแสดงเครื่องแต่งกายตามประวัติศาสตร์และโบราณคดี. กรมศิลปากร รวบรวมจัดพิมพ์ประกอบการแสดงแต่งกายเนื่องในงานฉลองครบ ๒๐ ปี สภาการพิพิธภัณฑ์ ระหว่างชาติ ๖ มีนาคม ๒๕๑๑. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนศิวพร, ๒๕๑๑
- ศิลปากร,กรม. ระบำชุดโบราณคดี. กรมศิลปากรจัดแสดงในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนศิวพร, ๒๕๑๐ //ศิลปากร,กรม. อธิบายเพลงแผ่นเสียงลองเพลย์ ชุดที่ ๖. กรุงเทพฯ:ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิวพร, ๒๕๑๔.
- สัมภาษณ์ นายสิริชัยชาญ ฟักจำรูญ ศิลปินแห่งชาติ วันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๓ ณ ห้องประชุม สำนักการสังคีต
(จำนวนผู้เข้าชม 35565 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน