เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
เล่าเรื่องประติมานวิทยา : กาลราตรี (Kālarātrī)
นามของเทวีผู้เป็นบุคคลาธิษฐานแห่งเวลา 1 ใน 9 ภาคของเทวีทุรคา (นวทุรคา-Navadurgā) ซึ่งได้รับการบูชาในเทศกาลนวราตรี (Navarātrī) ในวันที่ 7 ซึ่งเป็นที่นับถือในศาสนาฮินดูลัทธิตันตระ พระนามหมายถึง “ราตรีที่มืดมิด" คำว่า “กาล” มีความหมายถึงเวลา หรือ ความมืดดำ ทรงเป็นสัญลักษณ์แห่งคืนสุดท้ายของยุค เมื่อโลกถูกทำลายจากกาลเวลา แสดงถึงพลังอำนาจที่นำมาซึ่งทำลายล้างจักรวาลในตอนท้ายแห่งยุค เป็นที่รู้จักในนาม กาลี (Kālī) และ กาลิกา (Kālikā) นอกจากนี้ ยังจัดเป็น 1 ในมหาวิทยา (Mahāvidyas) หรือกลุ่มเทวี 10 องค์ ผู้ทรงปัญญาอันยิ่งใหญ่ และเป็นตัวแทนของ ไภรวี (Bhairavī) ศักติของไภรวะ (Bhairava)
พระนางมีผิวดำดุจดั่งราตรี เดิมคงเป็นเทพีของชนพื้นเมืองอินเดียที่มีผิวสีดำ พระพักตร์ดุร้าย พระเกศายุ่งสยายเป็นกระเซิง มี 3 เนตร 4 กร ถือขวาน และสายฟ้า (เปลวเพลิง) อีก 2 กร แสดงอภัยมุทรา (abhayamudrā-ปางประทานอภัย) และวรทมุทรา (Varamudrā-ปางประทานพร) ยังกล่าวอีกว่า สัญลักษณ์ของพระนางคือ วีณา (พิณ-vīṇa) ดอกชบา (Javā flower หรือ China Rose) ถ้วยบรรจุเลือด และพวงมาลาหัวกะโหลก (มุณฑมาลา-muṇḍamālā) รูปพระนางทำเปลือยกาย (นคนะ-nagna) เป็นสัญลักษณ์ของกาลเวลาที่ทำลายทุกสิ่ง บางครั้งสวมเครื่องประดับเหล็กแหลมที่ข้อเท้าซ้าย และทรงลา (ครรทภะ-gardabha) เป็นพาหนะ แสดงความเกี่ยวเนื่องกับ ชเยษฐา (Jyeṣṭhā-เทวีแห่งอัปมงคล) หรือ ศีตลา (Śītalā-เทวีแห่งไข้ฝีดาษ) จัดเป็นรูปแบบของพระเทวีที่แสดงออกถึงความรุนแรงและทรงพลังที่สุดในการปราบอสูรและความชั่วร้ายทั้งปวง อันเป็นสัญลักษณ์ของอวิชาและความโง่เขลา
-------------------------------------------
ผู้เรียบเรียง : นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ (ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ) สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
-------------------------------------------
อ้างอิง
1. Trilok Chandra Majupuria and Rohit Kumar Majuria, Gods, Goddesses & Religious Symbols of Hinduism, Buddhism & Tantrism [Including Tibetan Deities] (Lashkar (Gwalior): M. Devi, 2004), 121.
2. Gösta Liebert, Iconographic Dictionary of the Indian Religions Hinduism-Buddhism-Jainism (Leiden: E.J. Brill, 1976), 117.
3. Stutley , Margaret, The illustrated dictionary of Hindu iconography (London : Routledae & Kegan Paul, 1985), 63.
(จำนวนผู้เข้าชม 1976 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน