เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
เครื่องจักสาน กลุ่มไทยทรงดำบ้านหัวเขาจีน
เครื่องจักสาน กลุ่มไทยทรงดำบ้านหัวเขาจีน ตั้งอยู่ที่อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ปัจจุบันเหลือผู้ทำอยู่ เพียงท่านเดียว คือ นายซุ้ม คุ้มสวัสดิ อายุ ๘๕ ปี เดิมประกอบอาชีพช่างปลูกบ้าน แต่พออายุมากขึ้นทำงานหนักไม่ไหวจึง เริ่มหัดทำเครื่องจักสาน และเป็นหมอเสนด้วย ท่านอธิบายการทำเครื่องจักสานแบบชาวไทยทรงดำที่ท่านได้เรียนรู้มาจากพ่อแม่ ว่า การเลือกไม้ไผ่ ต้องเป็นไผ่สีสุก ซึ่งเป็นไผ่ในท้องถิ่นแถบนี้มาแต่เดิม พบเห็นได้โดยทั่วไป เป็นไผ่ที่มีหนาม กอใหญ่ ให้หน่อต่อปีจำนวนมาก สามารถนำไปประกอบอาหารรับประทานได้ ไม้ไผ่ที่จะนำมาใช้จักสาน ต้องเป็นลำที่มีอายุ ๔ - ๕ ปี มีสีผิวเขียวเข้มๆเหมือนสีตะไคร่น้ำ จะมีความเหนียวมาก การตัด จะตัดตรงตำแหน่งเหนือพื้นดินขึ้นไป ๑.๕ - ๒ เมตร โดยให้เหตุผลว่า ตอไผ่หรือโคนไผ่มีความหนาและแข็งมากไม่เหมาะที่จะนำมาจักสานและโคนไผ่จะช่วยพยุงลำไผ่ลำอื่นๆให้ต้นตั้งตรงสูงขึ้นฟ้า หากไม่มีโคน จะทำให้กอแบะออก เลือกใช้ไม้ไผ่ส่วนกลางลำขึ้นไป จะมีเนื้อบางสะดวกต่อการจักตอก และมีความเหนียว ส่วนการป้องกันมอดนั้น จะต้องดูตั้งแต่เวลาที่ตัดไม้ โดยจะเลือกตัดตอนต้นไผ่แตกใบอ่อน เดือน ๕ หรือเดือน ๖ แต่ปัจจุบันไม่ได้ทำแบบนี้ เมื่อจะใช้ก็จะไปตัด โดยเลือกลำที่ได้อายุ เนื่องจากปัจจุบันมี น้ำยาเคมีสมันใหม่ ที่สามารถนำมาทาเคลือบป้องกันมอดแมลงได้เป็นอย่างดีและมีความสวยงาม ท่านใช้ยูรีเทนทาเคลือบทั้งด้านนอกและด้านในหรือใช้น้ำมันตราปลา ก็ได้ ท่านยังแนะนำอีกว่า หากนำไปรมควันจะทาน้ำมันไม่ขึ้น หมายถึงไม่สวย
เครื่องจักสานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน ส่วนมากเป็นของที่ใช้ในพิธีเสนเรือน ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่ยึดถือมาแต่เดิมว่า จะต้องนำเครื่องเซ่นใส่ในภาชนะ ที่ทำจากเครื่องจักสานเท่านั้น เรียกว่า ขมุ ใช้เป็นคู่ ราคาคู่ล่ะ 2000 บาท นากจากนั้นก็จะมีคนมาจ้างสานเครื่องใช้แบบต่างๆที่ไม่มีคนทำ เช่น โคเคี่ยวน้ำตาล สำหรับใส่ในกะทะเคี่ยวน้ำตาลป้องกันน้ำตาลเดือดล้นกะทะ ซึ่งมีการใช้อยู่ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีและสมุทรสงคราม ร่วมทั้งเครื่องมือจับปลาด้วย
----------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก
----------------------------------------------
(จำนวนผู้เข้าชม 2006 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน