เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
การค้าขายและเงินตราที่ใช้ในล้านนา ตอน เงินพดด้วง
เงินพดด้วง เป็นเงินตราที่ชาวไทผลิตขึ้นใช้ต่อเนื่องยาวนานมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ โดยการตัดโลหะเงินเป็นชิ้นเล็กๆ ให้ได้น้ำหนักตามต้องการแล้วนำไปหลอมจากนั้นเทโลหะที่ละลายดีแล้วลงเบ้าไม้ที่แช่อยู่ในน้ำ จากนั้นนำมาทำให้งอโดยตอกแบ่งครึ่งด้วยสิ่วสองคม แล้วทุบปลายทั้งสองข้างเข้าหากันจนขดงอคล้ายตัวด้วง เงินพดด้วงที่ตีด้วยค้อนจนเข้ารูปแล้วจะถูกนำไปวางบนทั่งเหล็กหรือกระดูกขาช้าง เพื่อตอกประทับตราประจำแผ่นดินและตราประจำรัชกาลลงบนตัวเงิน
เนื่องจากเงินพดด้วงเป็นเงินตราที่ใช้มาตราน้ำหนักเป็นมาตรฐานพิกัดราคา จึงไม่มีการระบุพิกัดราคาไว้บนตัวเงินเงินพดด้วงถูกนำมาใช้เป็นสื่อกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยนในล้านนา จากการติดต่อค้าขายกับสุโขทัยและอยุธยา ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ก็ยังคงมีการนำเงินพดด้วงมาใช้ในล้านนา เงินพดด้วงในสมัยรัตนโกสินทร์นี้มีตราจักรเป็นตราประจำแผ่นดิน และมีตราอุณาโลม ครุฑ ปราสาทและมหามงกุฎประทับลงบนพดด้วง
-----------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน
-----------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
เงินตราล้านนา : นวรัตน์ เลขะกุล/ธนาคารแห่งประเทศไทย นพบุรีการพิมพ์ เชียงใหม่, ๒๕๕๕ เงินตราล้านนาและผ้าไท : ธนาคารแห่งประเทศไทย อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๔๓ เบี้ย บาท กษาปณ์ แบงค์ : นวรัตน์ เลขะกุล สนพ.สารคดี, ๒๕๔๗
(จำนวนผู้เข้าชม 11247 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน