เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ความคืบหน้าการดำเนินงานขุดค้นทางโบราณคดี แหล่งโบราณคดีสีบัวทอง อ.แสวงหา จ.อ่างทอง
นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า จากที่มีการค้นพบการฝังศพสมัยก่อน ประวัติศาสตร์ที่บ้านสีบัวทอง ตำบลสีบัวทอง อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง มีหน่วยงานภาครัฐและมหาวิทยาลัยเข้าสำรวจจนระบุได้ว่าเป็นแหล่งโบราณคดีแห่งใหม่ของจังหวัดอ่างทอง ปัจจุบันสำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา เข้าดำเนินการในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทโดยตรงต่อการศึกษาทางวิชาการ จนค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่จะเป็นข้อมูลสำคัญต่อพัฒนาการของจังหวัดอ่างทอง
การขุดค้นดำเนินการทั้งหมด ๓ หลุม พบโครงกระดูกมนุษย์ทั้งหมด ๗ โครง โดยเป็นผู้ใหญ่ ๖ โครง เป็นเด็ก ๑ โครง การฝังศพอยู่ลึกลงจากผิวดินชั้นวัฒนธรรมประมาณ ๒๐ – ๗๐ เซนติเมตร เป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงถึงพิธีกรรมการฝังศพของคนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ทุกโครงถูกฝังในลักษณะนอนหงายเหยียดยาว มีข้อสังเกตุเกี่ยวกับการมัดบริเวณเข่าในทุกโครง (ยกเว้นโครงเด็ก) หันศีรษะไปทางทิศเหนือและทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีเครื่องอุทิศที่ฝังร่วมกับโครงกระดูก ได้แก่ ภาชนะดินเผา พบร่วมกับโครงกระดูก ๕ โครง วางอยู่ด้านบนหรือด้านข้างของโครงกระดูกตำแหน่งตั้งแต่สะโพกจนถึงปลายเท้า จำนวนตั้งแต่ ๑ ใบจนถึง ๙ ใบ หม้ออุทิศเป็นภาชนะดินเผาเนื้อดิน (Earthenware) ประเภทหม้อก้นกลม ชาม ตกแต่งผิวด้วยลายเชือกทาบหรือทาน้ำดินสีแดง ขวานหินขัดวางอยู่ที่กระดูกสะโพกข้างขวาของโครงกระดูกโครงหนึ่งที่ไม่พบภาชนะดินเผา กำไลสำริด พบสวมอยู่ที่กระดูกปลายแขนข้างซ้ายของโครงกระดูกที่อยู่ลึกที่สุดและมีสภาพไม่สมบูรณ์ที่สุด
จากการตรวจสอบชั้นดินหลุมขุดค้นในที่ทำการ อบต. สีบัวทอง ซึ่งคาดว่าเป็นผิวดินเดิม พบว่าใน ระดับผิวดินเดิมก่อนที่จะทำการขุดลอกนั้นไม่พบโบราณวัตถุ จนกระทั่งความลึกประมาณ ๑ เมตรจากผิวดินเดิม จึงพบโบราณวัตถุปะปน เช่น เศษภาชนะดินเผาหรือเศษกระดูก เป็นระดับที่ใกล้เคียงกับระดับที่พบการฝังศพ ในพื้นที่ของนายสมเกียรติ บริบูรณ์ ที่ขุดลอกหน้าดินออกไป ดังนั้นพื้นที่แหล่งโบราณคดีสีบัวทอง มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์อยู่ช่วงเวลาหนึ่งแล้วจึงมีการโยกย้ายทิ้งร้างพื้นที่ไป
จากการดำเนินงานโบราณคดีในช่วงที่ผ่านมาทำให้พอทราบว่าชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนที่มีอายุในช่วงยุคสำริด คือประมาณ ๒,๕๐๐ – ๓,๐๐๐ ปี แม้ว่าจะยังคงพบขวานหินขัดร่วมกับหลุมฝังศพ แต่จากการที่พบโครงกระดูกที่มีสำริดฝังร่วมด้วยในชั้นที่ลึกกว่าโครงอื่น จึงควรสันนิษฐานว่าชุมชนแห่งนี้เข้าสู่ยุคสำริดแล้ว แม้ว่าระดับเทคโนโลยีจะยังคงคล้ายยุคหินใหม่อยู่ก็ตาม ทั้งนี้ในเบื้องต้นพบว่ารูปแบบภาชนะดินเผามีความใกล้เคียงกับแหล่งโบราณคดีในจังหวัดลพบุรีมากกว่าแหล่งโบราณคดีในจังหวัดสุพรรณบุรี หากวิเคราะห์ร่วมกับชั้นวัฒนธรรมที่ไม่หนามาก อาจจะสันนิษฐานเบื้องต้นได้ว่าเป็นชุมชนที่มีการโยกย้ายมาอยู่ในช่วงสั้น ๆ ก่อนจะอพยพไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณอื่น
(จำนวนผู้เข้าชม 1950 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน