คันฉ่องสำริด พบที่แหล่งเรือจมรางเกวียน จังหวัดชลบุรี
คันฉ่องสำริด พบที่แหล่งเรือจมรางเกวียน จังหวัดชลบุรี แบบศิลปะจีน พบในแหล่งเรือจมรางเกวียนจังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นแหล่งเรือจมที่กำหนดอายุอยู่ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 20 สันนิษฐานว่าเป็นวัตถุมงคลที่ช่างต่อเรือฝังตรึงไว้เพื่อให้ความคุ้มครองป้องกันภัยในการเดินทาง พบจำนวน 3 ชิ้น
เฉพาะคันฉ่องที่มีลายนูนพบฝังตรึงอยู่กับกระดูกงูด้านหัวเรือลักษณะเป็นคันฉ่องบานขนาดเล็ก ด้านหน้าขัดเรียบ ด้านหลังมีลายนูนรูปต้นไม้และรูปกลุ่มบุคคล ในประเทศไทยคันฉ่องสำริดศิลปะจีนอยู่หลายชิ้น ตัวอย่างเช่น คันฉ่องที่พบที่อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช พบที่ริมแม่น้ำเพชรบุรี อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี และพบที่ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เป็นต้น
การทำคันฉ่องสำริดของจีน เริ่มมาตั้งแต่ยุคราชวงศ์โจวตะวันออก อายุราว 2500 ปีมาแล้ว มีการค้นพบแม่พิมพ์คันฉ่องที่มีลวดลายของสัตว์และดอกไม้ที่แหล่งโบราณคดีในมณฑล Shansi ประเทศจีน ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีในสมัยราชวงศ์โจวตะวันออก หลังจากนั้นก็มีการทำต่อมาเรื่อยๆ รวมทั้งเผยแพร่รูปแบบและเทคนิคไปยังดินแดนอื่นๆ ใกล้เคียง เช่น ญี่ปุ่นและคาบสมุทรเกาหลี เป็นต้น
------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี
------------------------------------------
อ้างอิง
1. กรมศิลปากร.โบราณคดีสีคราม.โครงการโบราณคดีใต้น้ำ งานโบราณคดีใต้น้ำ ฝ่ายวิชาการ กองโบราณคดี กรมศิลปากร ,2531 2. ล้อม เพ็งแก้ว ชื่อ “วัตถุทางวัฒนธรรม” ใน ศิลปวัฒนธรรม ฉบับกุมภาพันธ์ 2559 3.สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ เล่ม 3 กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542 4.องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง เรื่อง “คันฉ่องสำริดที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง” เผยแพร่เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2563 5. Yunxiang Bai, On the two traditions of the bronze mirror casting techniques in East Asia. Chinese Archaeology | Volume 11: Issue 1 Published online: 01 Jan 2011 6. Ancient Chinese Bronze Mirrors from the Lloyd Cotsen Collection. Nov. 12, 2011–May 15, 2012 Virginia Steele Scott Galleries of American Art, Susan and Stephen Chandler Wing, The Huntington Library, Art Collections and Botanical Gardens
เฉพาะคันฉ่องที่มีลายนูนพบฝังตรึงอยู่กับกระดูกงูด้านหัวเรือลักษณะเป็นคันฉ่องบานขนาดเล็ก ด้านหน้าขัดเรียบ ด้านหลังมีลายนูนรูปต้นไม้และรูปกลุ่มบุคคล ในประเทศไทยคันฉ่องสำริดศิลปะจีนอยู่หลายชิ้น ตัวอย่างเช่น คันฉ่องที่พบที่อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช พบที่ริมแม่น้ำเพชรบุรี อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี และพบที่ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เป็นต้น
การทำคันฉ่องสำริดของจีน เริ่มมาตั้งแต่ยุคราชวงศ์โจวตะวันออก อายุราว 2500 ปีมาแล้ว มีการค้นพบแม่พิมพ์คันฉ่องที่มีลวดลายของสัตว์และดอกไม้ที่แหล่งโบราณคดีในมณฑล Shansi ประเทศจีน ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีในสมัยราชวงศ์โจวตะวันออก หลังจากนั้นก็มีการทำต่อมาเรื่อยๆ รวมทั้งเผยแพร่รูปแบบและเทคนิคไปยังดินแดนอื่นๆ ใกล้เคียง เช่น ญี่ปุ่นและคาบสมุทรเกาหลี เป็นต้น
------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี
------------------------------------------
อ้างอิง
1. กรมศิลปากร.โบราณคดีสีคราม.โครงการโบราณคดีใต้น้ำ งานโบราณคดีใต้น้ำ ฝ่ายวิชาการ กองโบราณคดี กรมศิลปากร ,2531 2. ล้อม เพ็งแก้ว ชื่อ “วัตถุทางวัฒนธรรม” ใน ศิลปวัฒนธรรม ฉบับกุมภาพันธ์ 2559 3.สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ เล่ม 3 กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542 4.องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง เรื่อง “คันฉ่องสำริดที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง” เผยแพร่เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2563 5. Yunxiang Bai, On the two traditions of the bronze mirror casting techniques in East Asia. Chinese Archaeology | Volume 11: Issue 1 Published online: 01 Jan 2011 6. Ancient Chinese Bronze Mirrors from the Lloyd Cotsen Collection. Nov. 12, 2011–May 15, 2012 Virginia Steele Scott Galleries of American Art, Susan and Stephen Chandler Wing, The Huntington Library, Art Collections and Botanical Gardens
(จำนวนผู้เข้าชม 1454 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน