เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
เล่าเรื่องประติมานวิทยา: อปัสมารปุรุษ (Apasmārapuruṣa)
อปัสมารปุรุษ ร่างเป็นภูติคนแคระ (ยักษ์ค่อม) ตัวแทนของโง่เขลา ภาษาทมิฬเรียกว่า มูยฬกะ (Mūyaḷaka) หรือ มูยฬกัน (Mūyaḷakan) พระศิวะในปางนาฏราช (Nāṭarāja-ผู้เป็นเจ้าแห่งการเต้นรำ) ทรงเหยียบพระบาทขวาอยู่เหนืออปัสมารปุรุษ เป็นสัญลักษณ์ของการสร้างโลก การขับเคลื่อนธาตุแห่งชีวิตให้เป็นไปตามวัฏจักร พระบาทอีกข้างหนึ่งซึ่งยกขึ้นมีความหมายถึงการปลดปล่อย ดังนั้นพระบาททั้ง 2 ข้างของพระองค์ จึงแสดงถึงวงวัฏจักรที่ต่อเนื่องของภาวะจิตที่เข้าสู่และออกจากความโง่เขลา มุทราของอปัสมารปุรุษ คือ อัญชลีมุทรา (Añjalinudrā-ท่าแสดงความเคารพ) บางครั้งพบอยู่ร่วมกับพระศิวะในปางจันทรเศขรมูรติ (Candraśekharamūrti) และตริปุรานตกะมูรติ (Tripurāntakamūrti) เมื่อปรากฏอยู่ใต้พระบาทพระศิวะในปางวยาขยานทักษิณามูรติ (Vyākhyānadakṣiṇāmūrti) มือขวาของอปัสมารอยู่ในท่า สรรป (Sarpa) หรือ ท่า“งู” และถืองูเห่าอยู่ในมือ
ภาพ 1. พระศิวะปาง ชญาน-ทักษิณามูรติ (Jñāna-dakṣiṇāmūrti) ในฐานะครูแห่งจักรวาลผู้ประทานความรู้สูงสุด แก่เหล่ามุนีและโยคีผู้แสวงหาทางพ้นไปจากความทุกข์ในโลก พระนามหมายถึงผู้หันหน้าไปทางทิศใต้ อันเป็นทิศของวิชาความรู้ พระบาทขวาเหยียบอยู่บนอปัสมารปุรุษ บุคคลาธิษฐานแห่งอวิชา ภาพจาก Asian Art Museum
ภาพ 2. อปัสมารปุรุษ รูปร่างเป็นภูติคนแคระ ภาพจาก Asian Art Museum
-------------------------------------------
เรียบเรียงข้อมูล: นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
-------------------------------------------
อ้างอิงจาก 1. Stutley , Margaret. The illustrated dictionary of Hindu iconography. London : Routledae & Kegan Paul, 1985.
(จำนวนผู้เข้าชม 2691 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน