จารึกที่แสดงถึงการเข้ามาของชาวอินเดียที่พบในแหล่งโบราณคดีฝั่งอันดามัน
หลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่พบในปัจจุบันมีหลายชนิด เช่น ภาชนะดินเผา เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับ รูปเคารพ โบราณสถาน จารึก พงศาวดาร และจดหมายเหตุ เป็นต้น ในบรรดาหลักฐานที่กล่าวมา จารึก ถือเป็นหลักฐานชั้นต้นประเภทลายลักษณ์อักษรที่สำคัญและน่าเชื่อถือที่สุดเนื่องจากทำขึ้นในช่วงเวลาที่เหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้น และบางจารึกมีการระบุศักราชหรือชื่อผู้สร้าง โดยจารึกที่พบในภาคใต้มักเป็นตัวอักษรและภาษาที่ใช้กันในประเทศอินเดียสมัยโบราณ
จารึกที่แสดงถึงการเข้ามาชาวอินเดียที่พบในแหล่งโบราณคดีฝั่งอันดามัน คือ จารึกบนหินลองเครื่องมือของช่างทอง และจารึกเขาพระนารายณ์ (จารึกหลักที่ ๒๖) โดยมีรายละเอียดดังนี้
จารึกบนหินลองเครื่องมือของช่างทอง
อักษร/ภาษา : อักษรพราหมี ภาษาทมิฬ อายุ : พุทธศตวรรษที่ ๘-๙ พบที่ : แหล่งโบราณคดีควนลูกปัด (คลองท่อม) จังหวัดกระบี่ คำอ่าน-คำแปล : อ่านว่า เปรุมปาทัน กัล แปลว่า หินของนายเปรุมปาทัน หรือ อ่านว่า เปรุมปาตัน กัล แปลว่า หินลองเครื่องมือของช่างทองผู้ยิ่งใหญ่ (หรือช่างทองอาวุโส) คำว่า เปรุมปาทัน แปลตามตัวอักษรได้ว่า ตีนโต
ภาพ : พิพิธภัณฑสถานคลองท่อม จังหวัดกระบี่
การพบหินลองเครื่องมือของช่างทองที่มีจารึกภาษาทมิฬในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๘-๙ นี้ อาจสะท้อนให้เห็นว่าแหล่งโบราณคดีควนลูกปัด (คลองท่อม) เป็นเมืองท่าโบราณที่มีชาวอินเดียใต้ที่เป็นช่างฝีมือเข้ามาตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพ สอดคล้องกับอายุสมัยของแหล่งและการพบหลักฐานทางโบราณคดีอื่นๆ ในช่วงแรกเริ่มประวัติศาสตร์ เช่น ลูกปัดหินประเภทกึ่งอัญมณี (semi–precious) ทั้งแบบเรียบ และแบบฝังสี (etched bead) ลูกปัดแก้ว (glass bead) ลูกปัดแก้วหลายสี (striped bead) ลูกปัดมีตา (eye bead) หัวแหวนสลักจากหินมีค่า (intaglios-cameo) เหรียญ และตราประทับ เป็นต้น
---------------------------------------
ค้นคว้า/เรียบเรียงข้อมูล : น.ส.สุขกมล วงศ์สวรรค์ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช
---------------------------------------
อ้างอิง : - อมรา ศรีสุชาติ. ศรีวิชัยในสุวรรณทวีป. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๕๗.- Wheatley,Paul. The Golden Khersonese. Kuala Lumpur: University of Malay Press, ๑๙๖๑.
จารึกที่แสดงถึงการเข้ามาชาวอินเดียที่พบในแหล่งโบราณคดีฝั่งอันดามัน คือ จารึกบนหินลองเครื่องมือของช่างทอง และจารึกเขาพระนารายณ์ (จารึกหลักที่ ๒๖) โดยมีรายละเอียดดังนี้
จารึกบนหินลองเครื่องมือของช่างทอง
อักษร/ภาษา : อักษรพราหมี ภาษาทมิฬ อายุ : พุทธศตวรรษที่ ๘-๙ พบที่ : แหล่งโบราณคดีควนลูกปัด (คลองท่อม) จังหวัดกระบี่ คำอ่าน-คำแปล : อ่านว่า เปรุมปาทัน กัล แปลว่า หินของนายเปรุมปาทัน หรือ อ่านว่า เปรุมปาตัน กัล แปลว่า หินลองเครื่องมือของช่างทองผู้ยิ่งใหญ่ (หรือช่างทองอาวุโส) คำว่า เปรุมปาทัน แปลตามตัวอักษรได้ว่า ตีนโต
ภาพ : พิพิธภัณฑสถานคลองท่อม จังหวัดกระบี่
การพบหินลองเครื่องมือของช่างทองที่มีจารึกภาษาทมิฬในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๘-๙ นี้ อาจสะท้อนให้เห็นว่าแหล่งโบราณคดีควนลูกปัด (คลองท่อม) เป็นเมืองท่าโบราณที่มีชาวอินเดียใต้ที่เป็นช่างฝีมือเข้ามาตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพ สอดคล้องกับอายุสมัยของแหล่งและการพบหลักฐานทางโบราณคดีอื่นๆ ในช่วงแรกเริ่มประวัติศาสตร์ เช่น ลูกปัดหินประเภทกึ่งอัญมณี (semi–precious) ทั้งแบบเรียบ และแบบฝังสี (etched bead) ลูกปัดแก้ว (glass bead) ลูกปัดแก้วหลายสี (striped bead) ลูกปัดมีตา (eye bead) หัวแหวนสลักจากหินมีค่า (intaglios-cameo) เหรียญ และตราประทับ เป็นต้น
---------------------------------------
ค้นคว้า/เรียบเรียงข้อมูล : น.ส.สุขกมล วงศ์สวรรค์ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช
---------------------------------------
อ้างอิง : - อมรา ศรีสุชาติ. ศรีวิชัยในสุวรรณทวีป. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๕๗.- Wheatley,Paul. The Golden Khersonese. Kuala Lumpur: University of Malay Press, ๑๙๖๑.
(จำนวนผู้เข้าชม 3027 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน