เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
เล่าเรื่องประติมานวิทยา: วัชรหุงการมุทรา/วัชรหูงการมุทร
เล่าเรื่องประติมานวิทยา: วัชรหุงการมุทรา/วัชรหูงการมุทร(Vajrahuṅkāramudrā/Vajrahūkāramudrā)
มุทรา (mudrā) คือ การทำเครื่องหมายด้วยมือและนิ้วมือทั้งสิบนิ้ว หรือนิ้วใดนิ้วหนึ่ง ในลักษณะต่าง ๆ โดยแสดงด้วยมือข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง ซึ่งสื่อความหมายตามบัญญัติ ใช้เป็นท่าทางการแสดงสัญลักษณ์ทางพิธีกรรมทั้งในศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู มีบัญญัติไว้เป็นจำนวนมากหลายร้อยภาค มุทราแต่ละท่าจะแฝงนัยความหมายทางจิตวิญญาณที่แตกต่างกันไปตามประติมานวิทยา และการฝึกจิตที่พบในศาสนาแบบอินเดีย
วัชรหุงการ (Vajrahuṅkāra) หรือ วัชรหูงการ (Vajrahūkāra) เป็นท่ามือแห่งพยางค์ “หูม” (hūṁ) ในพุทธศาสนาลัทธิตันตระ แสดงโดยไขว้ข้อมือทั้งสองระหว่างอก มือขวาถือวัชระ (vajra) มือขวาถือกระดิ่ง (ฆัณฎา-ghaṇṭā) นานครั้ง ๆ จึงปรากฏว่าถือสัญลักษณ์อื่น มือทั้งสองหันเข้าด้านใน หากหันฝ่ามือออก เรียกว่า ไตรโลกยวิชัยมุทรา (trilokyavijayamudrā)
มุทรานี้เป็นสัญลักษณ์ของการตรัสรู้ การหลุดพ้นจากกิเลส นอกจากนี้ยังกล่าวว่า หมายถึงการผสานรวมกันเข้าระหว่างปรัชญา (prajñā) และอุปาย (upāya) เป็นลักษณะของสมันตภัทร (Samantabhadra) สัมวระ (Samvara) ไตรโลกยวิชัย (Trailokyavijaya) วัชรธร (Vajradhara) วัชรหุงการ (Vajrahuṅkāra) และยิดัม (yi-dam)
ภาพประกอบ 1. ลายเส้นแสดงวัชรหุงการมุทรา ภาพโดยนางกิริยา ชยะกุล สิทธิวัง นักวิชาการช่างศิลป์ กองโบราณคดี
ภาพประกอบ 2. พระวัชรธร 4 กร 2กรหน้าแสดงวัชรหุงการมุทรา ศิลปะทิเบต พุทธศตวรรษที่ 20-21 ภาพจาก Asian Art Museum
--------------------------------------
เ
รียบเรียงข้อมูล: นางเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
ภาพลายเส้น:
นางกิริยา ชยะกุล สิทธิวัง นักวิชาการช่างศิลป์ กองโบราณคดี
อ้างอิงจาก
1. Liebert, Gosta. Iconographic Dictionary of the Indian Religions Hinduism-Buddhism-Jainism. Leiden: E.J. Brill, 1976.
(จำนวนผู้เข้าชม 5974 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน