กรมศิลปากรพัฒนาการจัดแสดง “ท้องพระโรงวังหน้า” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พร้อมเปิดให้ชมปี ๖๔
นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ปี ๒๕๖๓ นี้ กรมศิลปากรได้ดำเนินงาน พัฒนาการจัดแสดงพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย ซึ่งเป็นการดำเนินงานระยะสุดท้ายภายใต้โครงการพัฒนาพระราชวัง บวรสถานมงคล ที่ได้ดำเนินงานมาตั้งแต่ ปี ๒๕๕๕ โดยกรมศิลปากรได้เริ่มบูรณะอาคารหมู่พระวิมาน และพัฒนาการจัดแสดงนิทรรศการถาวรใหม่ทุกพระที่นั่งในหมู่พระวิมาน รวม ๑๓ ห้องจัดแสดง จะแล้วเสร็จพร้อม เปิดให้เข้าชมในปี ๒๕๖๔
การพัฒนาการจัดแสดงพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย ดำเนินการภายใต้แนวคิดการกลับคืนลักษณะ ท้องพระโรงของพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า ซึ่งมีพระที่นั่งบุษบกเกริน ที่ประทับในการออกรับแขกเมืองของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ประดิษฐานเป็นประธานท้องพระโรง ถัดมาเป็นพระแท่นราชบัลลังก์เศวตฉัตร ซึ่งใช้ในพระราชพิธีเฉลิมพระอิสริยยศพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระที่นั่งแห่งนี้ และพระแท่นออก ขุนนาง ที่ประทับในการออกว่าราชการในวาระปกติของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล จัดแสดงอยู่ในตำแหน่งด้านหน้าพระที่นั่งทั้งสององค์ อันเป็นไปตามลำดับสถานะความสำคัญของพระที่นั่ง
นอกจากนี้ ยังจัดแสดงเรื่องราวของสถาปัตยกรรมพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตามระเบียบพระราชสำนัก และพระราชนิยมในกรมพระราชวังบวรสถานมงคลทั้ง ๕ พระองค์ ส่วนท้ายจะเป็นนิทรรศการการศึกษาทางโบราณคดีวังหน้าอันเป็นงานเริ่มต้นของโครงการพัฒนาพระราชวังบวรสถานมงคลในครั้งนี้ ซึ่งโครงการพัฒนาการจัดแสดง “ท้องพระโรงวังหน้า” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในปี ๒๕๖๓ นี้ จะแล้วเสร็จเป็นห้องจัดแสดงที่ ๑๓ พร้อมเปิดให้เข้าชมครบทั้ง ๑๓ ห้องจัดแสดงของอาคารหมู่ พระวิมานในปี ๒๕๖๔ นี้
เมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๙ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานหมู่พระวิมาน พระราชวังบวรสถานมงคล เป็นห้องจัดแสดงพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในปัจจุบัน โดยเวลานั้นได้มีการปรับปรุงพระที่นั่งต่างๆ ภายใน หมู่พระวิมานให้เป็นห้องจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ดังเช่นพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย เดิมเป็นท้องพระโรงของพระราชวังบวรสถานมงคล สร้างในสมัยกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ รัชกาลที่ ๓ ได้ปรับปรุงเป็นห้องจัดแสดงประติมากรรม เครื่องใช้สำริด กระทั่งปี ๒๕๑๐ จึงปรับเปลี่ยนเป็นห้องจัดแสดงนิทรรศการพิเศษ
ภาพร่างนิทรรศการ “ท้องพระโรงวังหน้า” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
นิทรรศการสถาปัตยกรรมพระราชวังบวรสถานมงคล และโบราณคดีวังหน้า
การพัฒนาการจัดแสดงพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย ดำเนินการภายใต้แนวคิดการกลับคืนลักษณะ ท้องพระโรงของพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า ซึ่งมีพระที่นั่งบุษบกเกริน ที่ประทับในการออกรับแขกเมืองของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ประดิษฐานเป็นประธานท้องพระโรง ถัดมาเป็นพระแท่นราชบัลลังก์เศวตฉัตร ซึ่งใช้ในพระราชพิธีเฉลิมพระอิสริยยศพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระที่นั่งแห่งนี้ และพระแท่นออก ขุนนาง ที่ประทับในการออกว่าราชการในวาระปกติของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล จัดแสดงอยู่ในตำแหน่งด้านหน้าพระที่นั่งทั้งสององค์ อันเป็นไปตามลำดับสถานะความสำคัญของพระที่นั่ง
นอกจากนี้ ยังจัดแสดงเรื่องราวของสถาปัตยกรรมพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตามระเบียบพระราชสำนัก และพระราชนิยมในกรมพระราชวังบวรสถานมงคลทั้ง ๕ พระองค์ ส่วนท้ายจะเป็นนิทรรศการการศึกษาทางโบราณคดีวังหน้าอันเป็นงานเริ่มต้นของโครงการพัฒนาพระราชวังบวรสถานมงคลในครั้งนี้ ซึ่งโครงการพัฒนาการจัดแสดง “ท้องพระโรงวังหน้า” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในปี ๒๕๖๓ นี้ จะแล้วเสร็จเป็นห้องจัดแสดงที่ ๑๓ พร้อมเปิดให้เข้าชมครบทั้ง ๑๓ ห้องจัดแสดงของอาคารหมู่ พระวิมานในปี ๒๕๖๔ นี้
เมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๙ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานหมู่พระวิมาน พระราชวังบวรสถานมงคล เป็นห้องจัดแสดงพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในปัจจุบัน โดยเวลานั้นได้มีการปรับปรุงพระที่นั่งต่างๆ ภายใน หมู่พระวิมานให้เป็นห้องจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ดังเช่นพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย เดิมเป็นท้องพระโรงของพระราชวังบวรสถานมงคล สร้างในสมัยกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ รัชกาลที่ ๓ ได้ปรับปรุงเป็นห้องจัดแสดงประติมากรรม เครื่องใช้สำริด กระทั่งปี ๒๕๑๐ จึงปรับเปลี่ยนเป็นห้องจัดแสดงนิทรรศการพิเศษ
ภาพร่างนิทรรศการ “ท้องพระโรงวังหน้า” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
นิทรรศการสถาปัตยกรรมพระราชวังบวรสถานมงคล และโบราณคดีวังหน้า
(จำนวนผู้เข้าชม 1684 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน