โบราณสถานวัดมหาธาตุ จังหวัดชัยนาท
ประวัติโบราณสถาน : วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท เป็นวัดที่ตั้งอยู่กลางเมืองสรรคบุรี ริมฝั่งแม่น้ำน้อย มีพื้นที่ประมาณ 19 ไร่ 2 งาน 47 ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ 7465 ทิศเหนือยาว 120 เมตร ติดวัดพระยาแพรก(ร้าง) และหมู่บ้าน ทิศใต้ยาว 110 เมตร ติดอาคารพาณิชย์ 2 ชั้น มีทางสาธารณะคั่นกลาง ทิศตะวันออกยาว 63 เมตร ติดแม่น้ำน้อย ทิศตะวันตกยาว 75 เมตร ติดถนนสายสรรคบุรี – สรรพยา ถัดจากถนนทางวัดได้สร้างพระเมรุไว้ ตำแหน่งที่ตั้งของวัดมหาธาตุ พิกัดที่ 47 PPS 253638 ตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ละติจูด 15 องศา 2 ลิปดา 1 ฟิลิปดา เหนือ ลองติจูดที่ 100 องศา 9 ลิปดา ตะวันออก (อ่านตำแหน่งที่ตั้งจากแผนที่ลำดับชุด L 7617 ระวางแผนที่ 5039 III มาตราส่วน 1 : 50000)
ตามประวัติวัดมหาธาตุสร้างขึ้นในสมัยใดหรือใครเป็นผู้ก่อสร้างนั้น ยังไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด จากที่สังเกตุพิจารณาจากรูปแบบสถาปัตยกรรมที่อยู่ภายในวัด น่าจะสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น ประกอบกับวัดหลักคู่บ้านคู่เมือง สันนิษฐานว่าผู้ครองเมืองในสมัยนั้นเป็นผู้ก่อสร้างขึ้น วัดมหาธาตุเป็นวัดที่มีความสำคัญเพราะปรากฏลักษณะทางสถาปัตยกรรม
ภาพ : ผังบริเวณวัดมหาธาตุ
วัดมหาธาตุ เป็นโบราณสถานที่ยังมีการแบ่งพื้นที่ใช้งานอยู่ โดยมีกลุ่มโบราณสถานอยู่ด้านหน้าวัดทางทิศตะวันออก ส่วนด้านทิศตะวันตกของวัดเป็นลานอเนกประสงค์ใช้เป็นตลาดนัดในวันพระ ศาลา อาคารพิพิธภัณฑ์ของวัด โบราณสถานที่ตั้งอยู่ภายในวัดประกอบด้วย เจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ถูกทับด้วยอิฐหักขนาดต่างๆ จำนวนมาก ไม่สามารถเห็นลักษณะรูปทรงส่วนของเจดีย์ว่าเป็นทรงอะไร ด้านหน้าเจดีย์ประธานทางด้านทิศตะวันออก เป็นที่ตั้งของอุโบสถหันหน้าไปทางทิศตะวันออกสู่แม่น้ำน้อย ถัดจากอุโบสถทางทิศเหนือเป็นที่ตั้งของวิหารหลวง ตั้งอยู่คู่ขนานกัน โดยช่วงท้ายวิหารทางด้านทิศตะวันตกมีระเบียงคตล้อมรอบเจดีย์ประธาน ด้านท้ายระเบียงคตทางด้านทิศตะวันตกเป็นที่ตั้งของพระพุทธรูปปางมารวิชัย หรือที่ชาวอำเภอสรรคบุรีให้ความเคารพนับถือเรียกกันว่าหลวงพ่อหมอหรือหลวงพ่อหลักเมือง
ถัดจากวิหารทางด้านทิศเหนือเป็นที่ตั้งของเจดีย์รายจำนวน 2 แถว โดยแถวที่ 1 เป็นเจดีย์ฐาน 8 เหลี่ยมตั้งอยู่ในแนวเดียวกัน 7 องค์ วางตัวตามแนวแกนทิศตะวันออก – ตะวันตก ถัดขึ้นไปทางด้านทิศเหนือเป็นเจดีย์แถวที่ 2 โดยมีเจดีย์ 3 องค์ วางตัวตามแนวแกนทิศตะวันออก – ตะวันตก องค์แรกเป็นเจดีย์ทรงกลีบมะเฟือง องค์ที่ 2 และ 3 เป็นแกนของเจดีย์ 8 เหลี่ยม นอกจากนี้ยังมีซากของโบราณสถานลักษณะเป็นกองอิฐอยู่ถัดจากเจดีย์องค์ที่ 3 มา ทางด้านทิศตะวันตกในแนวแกนเดียวกัน ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นฐานของเจดีย์รายเช่นเดียวกัน
โบราณสถานวัดมหาธาตุ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2478
ภาพ : วิหาร วัดมหาธาตุ
ภาพ : เจดีย์ประธาน วัดมหาธาตุ
ภาพ : ปรางค์กลีบมะเฟือง ก่อด้วยอิฐ มีการตกแต่งด้วยปูนปั้น
ที่มา : รายการประกอบแบบโครงการอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานวัดมหาธาตุ ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท กลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี
ตามประวัติวัดมหาธาตุสร้างขึ้นในสมัยใดหรือใครเป็นผู้ก่อสร้างนั้น ยังไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด จากที่สังเกตุพิจารณาจากรูปแบบสถาปัตยกรรมที่อยู่ภายในวัด น่าจะสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น ประกอบกับวัดหลักคู่บ้านคู่เมือง สันนิษฐานว่าผู้ครองเมืองในสมัยนั้นเป็นผู้ก่อสร้างขึ้น วัดมหาธาตุเป็นวัดที่มีความสำคัญเพราะปรากฏลักษณะทางสถาปัตยกรรม
ภาพ : ผังบริเวณวัดมหาธาตุ
วัดมหาธาตุ เป็นโบราณสถานที่ยังมีการแบ่งพื้นที่ใช้งานอยู่ โดยมีกลุ่มโบราณสถานอยู่ด้านหน้าวัดทางทิศตะวันออก ส่วนด้านทิศตะวันตกของวัดเป็นลานอเนกประสงค์ใช้เป็นตลาดนัดในวันพระ ศาลา อาคารพิพิธภัณฑ์ของวัด โบราณสถานที่ตั้งอยู่ภายในวัดประกอบด้วย เจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ถูกทับด้วยอิฐหักขนาดต่างๆ จำนวนมาก ไม่สามารถเห็นลักษณะรูปทรงส่วนของเจดีย์ว่าเป็นทรงอะไร ด้านหน้าเจดีย์ประธานทางด้านทิศตะวันออก เป็นที่ตั้งของอุโบสถหันหน้าไปทางทิศตะวันออกสู่แม่น้ำน้อย ถัดจากอุโบสถทางทิศเหนือเป็นที่ตั้งของวิหารหลวง ตั้งอยู่คู่ขนานกัน โดยช่วงท้ายวิหารทางด้านทิศตะวันตกมีระเบียงคตล้อมรอบเจดีย์ประธาน ด้านท้ายระเบียงคตทางด้านทิศตะวันตกเป็นที่ตั้งของพระพุทธรูปปางมารวิชัย หรือที่ชาวอำเภอสรรคบุรีให้ความเคารพนับถือเรียกกันว่าหลวงพ่อหมอหรือหลวงพ่อหลักเมือง
ถัดจากวิหารทางด้านทิศเหนือเป็นที่ตั้งของเจดีย์รายจำนวน 2 แถว โดยแถวที่ 1 เป็นเจดีย์ฐาน 8 เหลี่ยมตั้งอยู่ในแนวเดียวกัน 7 องค์ วางตัวตามแนวแกนทิศตะวันออก – ตะวันตก ถัดขึ้นไปทางด้านทิศเหนือเป็นเจดีย์แถวที่ 2 โดยมีเจดีย์ 3 องค์ วางตัวตามแนวแกนทิศตะวันออก – ตะวันตก องค์แรกเป็นเจดีย์ทรงกลีบมะเฟือง องค์ที่ 2 และ 3 เป็นแกนของเจดีย์ 8 เหลี่ยม นอกจากนี้ยังมีซากของโบราณสถานลักษณะเป็นกองอิฐอยู่ถัดจากเจดีย์องค์ที่ 3 มา ทางด้านทิศตะวันตกในแนวแกนเดียวกัน ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นฐานของเจดีย์รายเช่นเดียวกัน
โบราณสถานวัดมหาธาตุ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2478
ภาพ : วิหาร วัดมหาธาตุ
ภาพ : เจดีย์ประธาน วัดมหาธาตุ
ภาพ : ปรางค์กลีบมะเฟือง ก่อด้วยอิฐ มีการตกแต่งด้วยปูนปั้น
ที่มา : รายการประกอบแบบโครงการอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานวัดมหาธาตุ ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท กลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี
(จำนวนผู้เข้าชม 5653 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน