เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
ศาลหลักเมืองสุโขทัย
โบราณสถานที่เข้าใจว่าเป็น “หลักเมือง” สุโขทัยนี้ มาจากข้อสันนิษฐานที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์ “เที่ยวเมืองพระร่วง” โดยกล่าวไว้ว่า “แต่ทางทิศเหนือวัดมหาธาตุ ริมวัดที่เรียกกันว่า วัดชนะสงครามนั้น มีสถานอันหนึ่งซึ่งราษฎรเรียกว่าศาลกลางเมือง ได้แต่งให้พระวิเชียรปราการไปตรวจดูก่อน บอกว่าเข้าใจว่าจะเป็นหลักเมือง ครั้นไปดูเองภายหลังก็ลงเนื้อเห็นด้วย คือมีเป็นเนินอยู่เฉยๆก่อนแต่ครั้นให้ถางและขุดลงไป จึงได้เห็นท่าทางพอเดาได้ ว่ามีเสาแลงตั้งขึ้นไปทั้ง ๔ มุม มีมุมละ ๒ เสาซ้อนกันเป็น ๒ ชั้น ที่ตรงกลางเนินมีหลุมซึ่งเข้าใจว่าคงจะเป็นหลุมที่ฝังนิมิต ในหลุมนั้นมีศิลาแผ่นแบนทิ้งอยู่แผ่นหนึ่งแต่แตกแยกเป็นสองชิ้น ตรวจดูศิลานั้นก็แลเห็นเป็นลายอะไรเลือนๆ จึงเหลือที่จะรู้ได้ว่าเป็นอะไร บางทีจะเป็นแผ่นศิลาที่ลงดวงของเมืองก็ได้”
ลักษณะของศาลหลักเมืองเป็นสิ่งก่อสร้างขนาดเล็ก ตั้งอยู่เดี่ยวๆ มีลักษณะเป็นฐานอาคารรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสยกพื้นสูง มีบันไดทางขึ้นด้านทิศตะวันออก ด้านบนมีฐานบัวก่อด้วยอิฐรองรับเสาแปดเหลี่ยมทำด้วยศิลาแลง แต่เดิมน่าจะมีเครื่องบนทำด้วยไม้และหลังคามุงกระเบื้อง ปัจจุบันชำรุดหายไป ขนาดของฐานกว้างด้านละ ๓ เมตร สูง ๑.๕๐ เมตร
ที่มาของข้อมูล : อุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย
(จำนวนผู้เข้าชม 6729 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน