คนเลี้ยงช้าง : หลักฐานโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในอีสาน
ช้าง เป็นสัตว์บกสี่เท้าที่เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งมีขนาดใหญ่ การที่คนสามารถนำช้างป่ามาฝึกสอนจนสามารถใช้งานได้ในกิจการต่าง ๆ แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญา ความรู้ ความสามารถที่สืบเนื่องมาตั้งแต่บรรพกาลตราบจนถึงปัจจุบัน
หลักฐานจากการขุดค้นทางโบราณในแหล่งสมัยก่อนประวัติศาสตร์ แม้ไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าเคยมีการขุดพบกระดูกหรือชิ้นส่วนของช้างที่สัมพันธ์กับคนในช่วงสมัยดังกล่าวก็ตาม แต่จากภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เช่น แหล่งภาพเขียนสีผาแต้ม แหล่งภาพเขียนสีผาเจ๊ก อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี และอีกหลายแหล่ง ได้ปรากฏรูปช้างเป็นหลักฐานว่า คนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในภาคอีสานของประเทศไทย รู้จักช้าง เคยเห็นช้างและมีช้างอยู่อาศัยในพื้นที่ แต่ภาพช้างดังกล่าวก็อาจเป็นเพียงช้างป่าที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในยุคสมัยนั้น
จนเมื่อ พ.ศ. 2545 สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 8 อุบลราชธานี (ขณะนั้น) ได้ดำเนินการขุดกู้หลักฐานในแหล่งโบราณคดีโนนหนองหอ ตำบลนาอุดม อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร ได้พบกระบวยสำริด (Bronze dipper) สภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ลักษณะกระบวยมีด้าม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7 เซนติเมตร สูงประมาณ 6.7 เซนติเมตร ด้ามจับยาวประมาณ 13 เซนติเมตร ตัวกระบวยมีลายนูนรูปกวางอยู่โดยรอบ ด้านหน้ากระบวยทำลายเป็นรูปคนถือขอสับนั่งอยู่บนหลังช้าง ส่วนปากกระบวยทำเป็นลายรูปครึ่งวงกลม ส่วนขอบก้นกระบวยทำเป็นรูปครึ่งวงกลมวางสลับหันหลังชนกันคล้ายใบไม้ กึ่งกลางก้นทำเป็นลายตะวันแปดแฉกแบบเดียวกับที่ปรากฏบนหน้ากลองมโหระทึก ส่วนด้ามหล่อตันโดยนำมาเชื่อมติดภายหลัง
ลายประดับภาพคนถือขอสับนั่งอยู่บนหลังช้าง เป็นหลักฐานชัดเจนว่าในช่วงสมัยนั้น คนมีความสามารถนำช้างป่ามาฝึกสอนเป็นช้างบ้านสำหรับใช้งานในกิจกรรมต่าง ๆ ได้ และเชื่อได้ว่าองค์ความรู้สำหรับกลุ่ม “คนเลี้ยงช้าง” ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์น่าจะมีการสืบทอดมาอย่างต่อ
เนื่องจนถึงปัจจุบัน และอาจเกี่ยวโยงกันกับกลุ่มคนที่มีบรรพบุรุษเป็นคนเลี้ยงช้างในปัจจุบันก็เป็นได้
นอกจากนี้ยังสามารถอนุมานได้ถึงสภาพแวดล้อมของพื้นที่ในยุคสมัยนั้น ซึ่งน่าจะเป็นป่ารกทึบสลับป่าโปร่ง และมีทุ่งหญ้าที่กวางเขายาวและช้างป่าสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
แหล่งโบราณคดีโนนหนองหอ ตำบลนาอุดม อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร มีการกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ ได้ค่าอายุ 2105 + 25 BP (ปีมาแล้ว) ปัจจุบันกระบวยสำริดดังกล่าว ได้จัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี
ข้อมูล : กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 9 อุบลราชธานี
อ้างอิง :
สุกัญญา เบาเนิด. โนนหนองหอแหล่งผลิตกลองมโหระทึกในประเทศไทย. เอกสารอัดสำเนา. 2558. : www.dnp.go.th>fca16>file : http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/ubonratchathani/index.php/th/virtual-model-360/43-1-11.html
หลักฐานจากการขุดค้นทางโบราณในแหล่งสมัยก่อนประวัติศาสตร์ แม้ไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าเคยมีการขุดพบกระดูกหรือชิ้นส่วนของช้างที่สัมพันธ์กับคนในช่วงสมัยดังกล่าวก็ตาม แต่จากภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เช่น แหล่งภาพเขียนสีผาแต้ม แหล่งภาพเขียนสีผาเจ๊ก อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี และอีกหลายแหล่ง ได้ปรากฏรูปช้างเป็นหลักฐานว่า คนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในภาคอีสานของประเทศไทย รู้จักช้าง เคยเห็นช้างและมีช้างอยู่อาศัยในพื้นที่ แต่ภาพช้างดังกล่าวก็อาจเป็นเพียงช้างป่าที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในยุคสมัยนั้น
จนเมื่อ พ.ศ. 2545 สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 8 อุบลราชธานี (ขณะนั้น) ได้ดำเนินการขุดกู้หลักฐานในแหล่งโบราณคดีโนนหนองหอ ตำบลนาอุดม อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร ได้พบกระบวยสำริด (Bronze dipper) สภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ลักษณะกระบวยมีด้าม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7 เซนติเมตร สูงประมาณ 6.7 เซนติเมตร ด้ามจับยาวประมาณ 13 เซนติเมตร ตัวกระบวยมีลายนูนรูปกวางอยู่โดยรอบ ด้านหน้ากระบวยทำลายเป็นรูปคนถือขอสับนั่งอยู่บนหลังช้าง ส่วนปากกระบวยทำเป็นลายรูปครึ่งวงกลม ส่วนขอบก้นกระบวยทำเป็นรูปครึ่งวงกลมวางสลับหันหลังชนกันคล้ายใบไม้ กึ่งกลางก้นทำเป็นลายตะวันแปดแฉกแบบเดียวกับที่ปรากฏบนหน้ากลองมโหระทึก ส่วนด้ามหล่อตันโดยนำมาเชื่อมติดภายหลัง
ลายประดับภาพคนถือขอสับนั่งอยู่บนหลังช้าง เป็นหลักฐานชัดเจนว่าในช่วงสมัยนั้น คนมีความสามารถนำช้างป่ามาฝึกสอนเป็นช้างบ้านสำหรับใช้งานในกิจกรรมต่าง ๆ ได้ และเชื่อได้ว่าองค์ความรู้สำหรับกลุ่ม “คนเลี้ยงช้าง” ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์น่าจะมีการสืบทอดมาอย่างต่อ
เนื่องจนถึงปัจจุบัน และอาจเกี่ยวโยงกันกับกลุ่มคนที่มีบรรพบุรุษเป็นคนเลี้ยงช้างในปัจจุบันก็เป็นได้
นอกจากนี้ยังสามารถอนุมานได้ถึงสภาพแวดล้อมของพื้นที่ในยุคสมัยนั้น ซึ่งน่าจะเป็นป่ารกทึบสลับป่าโปร่ง และมีทุ่งหญ้าที่กวางเขายาวและช้างป่าสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
แหล่งโบราณคดีโนนหนองหอ ตำบลนาอุดม อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร มีการกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ ได้ค่าอายุ 2105 + 25 BP (ปีมาแล้ว) ปัจจุบันกระบวยสำริดดังกล่าว ได้จัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี
ข้อมูล : กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 9 อุบลราชธานี
อ้างอิง :
สุกัญญา เบาเนิด. โนนหนองหอแหล่งผลิตกลองมโหระทึกในประเทศไทย. เอกสารอัดสำเนา. 2558. : www.dnp.go.th>fca16>file : http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/ubonratchathani/index.php/th/virtual-model-360/43-1-11.html
(จำนวนผู้เข้าชม 1916 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน