๑๖๐ ปี พระนครคีรี จิรกาล ตอนที่ ๔ กระแสพระราชดำริ
ภายหลังจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) เสด็จขึ้นครองราชย์ ในพุทธศักราช ๒๓๙๔ แล้ว พระองค์โปรดให้กรมการเมืองเพชรบุรีไปจัดการบำรุงรักษาถ้ำเขาหลวง อันเป็นศาสนสถานสำคัญที่ทรงมีพระราชศรัทธา ตั้งแต่ครั้งทรงผนวช และมีพระประสงค์ที่จะเสด็จฯ มาเมืองเพชรบุรี
ครั้นในเดือนอ้าย ปีมะเมีย สัมฤทธิศก พุทธศักราช ๒๔๐๑ จึงได้เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคมายังเมืองเพชรบุรี โดยในครั้งนั้นประทับแรมที่พลับพลาค่ายหลวงที่เขาหลวง ซึ่งเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค ภายหลังเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์) สมุหพระกลาโหม เป็นผู้อำนวยการสร้าง และประทับที่พลับพลาค่ายหลวงบ้านบางทะลุ อีกคืนหนึ่ง ก่อนเสด็จฯ กลับพระนคร
อาจารย์เสยย์ เกิดเจริญ ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์เมืองเพชรบุรี ได้ให้ข้อสันนิษฐานว่าการเสด็จฯ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในเดือนอ้าย พุทธศักราช ๒๔๐๑ นับเป็นมูลเหตุสำคัญให้มีกระแสพระราชดำริ ในการจะสร้างพระราชวังขึ้นที่เมืองเพชรบุรีด้วย ปรากฏว่าหลังจากเสด็จฯ กลับพระนครแล้ว ได้มีรับสั่งให้พระพรหมบริรักษ์ (สันนิษฐานว่าคือ แย้ม บุณยรัตนพันธุ์ ภายหลังเป็นพระยาสีหราชฤทธิไกร) เจ้ากรมพระตำรวจ ออกมาทำแผนที่ร่วมกับพระยาเพชรบุรี เพื่อกะการสร้างพระราชวังบนเขาสมณ ดังเนื้อความในหมายรับสั่งรัชกาลที่ ๔ ฉบับหนึ่ง มีตอนหนึ่งว่า “…มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สั่งว่า ที่เขาพระนอนนั้น ทอดพระเนตรที่ทางชอบกลพอจะทำพระตำหนักพลับพลาได้…” น่าสนใจว่า พระพรหมบริรักษ์และเจ้าเมืองเพชรบุรี ในชณะนั้นคือใคร
จากการศึกษาสืบค้นทำให้ทราบว่า เจ้าเมืองเพชรบุรีในขณะนั้น คือ พระยาสุรินทรฦๅไชย (เกษ ตาลวันนา) ชาวเพชรบุรี ซึ่งเข้ารับราชการในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จนได้รับตำแหน่งเจ้าเมืองเพชรบุรีในปลายรัชกาลนี้ ครั้นถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เป็นผู้สนองพระราชดำริในการจัดการบูรณะถ้ำเขาหลวง รวมถึงวัดสำคัญอื่น ๆ ด้วย และได้มีส่วนร่วมทำแผนที่ก่อสร้างพระราชวังแห่งใหม่บนเขาสมณ
ผู้มีส่วนในการทำแผนที่สร้างพระราชวังแห่งใหม่อีกคนซึ่งปรากฏชื่อในหมายรับสั่งครั้งรัชกาลที่ ๔ คือ พระพรหมบริรักษ์ ซึ่งเป็นตำแหน่งในกรมพระตำรวจหลวง ซึ่งมีหน้าที่อารักขาพระเจ้าแผ่นดิน และนอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ตามที่พระเจ้าแผ่นดินได้มีรับสั่งโปรดเกล้าฯ เป็นครั้งคราว เช่น ไปราชการหัวเมือง ปราบปรามโจรผู้ร้าย เป็นต้น
พระพรหมบริรักษ์ ผู้ได้มาทำแผ่นที่กะการก่อสร้างพระราชวังแห่งใหม่ในครั้งนั้น มีหลักฐานในพระราชหัตถเลขา รัชกาลที่ ๔ ได้แต่งตั้งนายแย้ม บุตรเจ้าพระยาภูธราภัย สมุหนายก เมื่อพุทธศักราช ๒๔๐๑ ให้เป็นพระพรหมบริรักษ์ ก่อนหน้าจะโปรดให้มาเมืองเพชรบุรีไม่นานนัก จึงอนุมานได้ว่า พระพรหมบริรักษ์ ในครั้งนั้น คือ นายแย้ม ซึ่งต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์สูงสุดที่ พระยาสีหราชฤทธิไกร และผู้สืบเชื้อสายต่อมา ได้รับนามสกุลว่า บุณยรตพันธุ์
ภาพถ่ายเก่าพระนครคีรี ถ่ายจากบริเวณหอพิมานเพชรมเหศวร์ ทำให้เห็นหมู่พระที่นั่งและอาคารประกอบต่าง ๆ ทั้งโรงสูทกรรม พระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ พระที่นั่งปราโมทย์มไหสวรรย์ พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท พระที่นั่งราชธรรมสภา และหอชัชวาลเวียงชัย
ข้อมูล/ภาพ : นายณัฐพล ชัยมั่น ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี
ครั้นในเดือนอ้าย ปีมะเมีย สัมฤทธิศก พุทธศักราช ๒๔๐๑ จึงได้เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคมายังเมืองเพชรบุรี โดยในครั้งนั้นประทับแรมที่พลับพลาค่ายหลวงที่เขาหลวง ซึ่งเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค ภายหลังเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์) สมุหพระกลาโหม เป็นผู้อำนวยการสร้าง และประทับที่พลับพลาค่ายหลวงบ้านบางทะลุ อีกคืนหนึ่ง ก่อนเสด็จฯ กลับพระนคร
อาจารย์เสยย์ เกิดเจริญ ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์เมืองเพชรบุรี ได้ให้ข้อสันนิษฐานว่าการเสด็จฯ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในเดือนอ้าย พุทธศักราช ๒๔๐๑ นับเป็นมูลเหตุสำคัญให้มีกระแสพระราชดำริ ในการจะสร้างพระราชวังขึ้นที่เมืองเพชรบุรีด้วย ปรากฏว่าหลังจากเสด็จฯ กลับพระนครแล้ว ได้มีรับสั่งให้พระพรหมบริรักษ์ (สันนิษฐานว่าคือ แย้ม บุณยรัตนพันธุ์ ภายหลังเป็นพระยาสีหราชฤทธิไกร) เจ้ากรมพระตำรวจ ออกมาทำแผนที่ร่วมกับพระยาเพชรบุรี เพื่อกะการสร้างพระราชวังบนเขาสมณ ดังเนื้อความในหมายรับสั่งรัชกาลที่ ๔ ฉบับหนึ่ง มีตอนหนึ่งว่า “…มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สั่งว่า ที่เขาพระนอนนั้น ทอดพระเนตรที่ทางชอบกลพอจะทำพระตำหนักพลับพลาได้…” น่าสนใจว่า พระพรหมบริรักษ์และเจ้าเมืองเพชรบุรี ในชณะนั้นคือใคร
จากการศึกษาสืบค้นทำให้ทราบว่า เจ้าเมืองเพชรบุรีในขณะนั้น คือ พระยาสุรินทรฦๅไชย (เกษ ตาลวันนา) ชาวเพชรบุรี ซึ่งเข้ารับราชการในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จนได้รับตำแหน่งเจ้าเมืองเพชรบุรีในปลายรัชกาลนี้ ครั้นถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เป็นผู้สนองพระราชดำริในการจัดการบูรณะถ้ำเขาหลวง รวมถึงวัดสำคัญอื่น ๆ ด้วย และได้มีส่วนร่วมทำแผนที่ก่อสร้างพระราชวังแห่งใหม่บนเขาสมณ
ผู้มีส่วนในการทำแผนที่สร้างพระราชวังแห่งใหม่อีกคนซึ่งปรากฏชื่อในหมายรับสั่งครั้งรัชกาลที่ ๔ คือ พระพรหมบริรักษ์ ซึ่งเป็นตำแหน่งในกรมพระตำรวจหลวง ซึ่งมีหน้าที่อารักขาพระเจ้าแผ่นดิน และนอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ตามที่พระเจ้าแผ่นดินได้มีรับสั่งโปรดเกล้าฯ เป็นครั้งคราว เช่น ไปราชการหัวเมือง ปราบปรามโจรผู้ร้าย เป็นต้น
พระพรหมบริรักษ์ ผู้ได้มาทำแผ่นที่กะการก่อสร้างพระราชวังแห่งใหม่ในครั้งนั้น มีหลักฐานในพระราชหัตถเลขา รัชกาลที่ ๔ ได้แต่งตั้งนายแย้ม บุตรเจ้าพระยาภูธราภัย สมุหนายก เมื่อพุทธศักราช ๒๔๐๑ ให้เป็นพระพรหมบริรักษ์ ก่อนหน้าจะโปรดให้มาเมืองเพชรบุรีไม่นานนัก จึงอนุมานได้ว่า พระพรหมบริรักษ์ ในครั้งนั้น คือ นายแย้ม ซึ่งต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์สูงสุดที่ พระยาสีหราชฤทธิไกร และผู้สืบเชื้อสายต่อมา ได้รับนามสกุลว่า บุณยรตพันธุ์
ภาพถ่ายเก่าพระนครคีรี ถ่ายจากบริเวณหอพิมานเพชรมเหศวร์ ทำให้เห็นหมู่พระที่นั่งและอาคารประกอบต่าง ๆ ทั้งโรงสูทกรรม พระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ พระที่นั่งปราโมทย์มไหสวรรย์ พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท พระที่นั่งราชธรรมสภา และหอชัชวาลเวียงชัย
ข้อมูล/ภาพ : นายณัฐพล ชัยมั่น ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี
(จำนวนผู้เข้าชม 3201 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน