จารึกเจดีย์น้อย วัดมหาธาตุเมืองสุโขทัย
จารึกเจดีย์น้อย วัดมหาธาตุเมืองสุโขทัย พบการจากขุดแต่งเจดีย์น้อย ด้านหน้าเจดีย์ 5 ยอด ทางด้านทิศใต้ของวัดมหาธาตุ เมื่อราวปี พ.ศ.2497 สภาพเมื่อแรกพบชำรุดแตกหักออกเป็น 2 ชิ้น ต่อมาในปีเดียวกันนั้น นายบุญธรรม พูนสวัสดิ์ ได้มอบชิ้นส่วนจารึกให้กรมศิลปากรเพิ่มอีกจำนวน 1 ชิ้น .
ศิลาจารึกเจดีย์น้อย จารึกด้วยอักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย 54 บรรทัด คือ จารึกด้านที่ 1 บรรทัด 1 ถึง 29 และจารึกด้านที่ 2 บรรทัด 1 ถึง 25 ส่วนด้านที่ 2 ตั้งแต่บรรทัดที่ 26 ถึง 28 จารึกด้วยอักษรขอมสุโขทัย ภาษาสันสกฤต สันนิษฐานว่าจารึกเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 20-21 . --- ศาสตราจารย์ ฉ่ำ ทองคำวรรณ ได้อ่านและอธิบายคำจารึกด้านที่ 1 ซึ่งได้นำลงตีพิมพ์ใน วารสารศิลปากร ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2497 เป็นครั้งแรก ต่อมาได้นำลงตีพิมพ์ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 ฉบับพิมพ์ พ.ศ. 2500, 2515 และ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 ฉบับพิมพ์ พ.ศ. 2503 ต่อมาในเดือนสิงหาคม 2510 นายประสาร บุญประคอง เจ้าหน้าที่ผู้อ่านจารึก พบว่าแผ่นศิลาจารึกเจดีย์น้อย ด้านที่ 2 มีจารึกอักษรอยู่อีกหลายบรรทัดแต่มีคราบปูนเกาะอยู่แน่น จึงใช้กรรมวิธีตามหลักวิทยาศาสตร์ ล้างคราบปูนที่เกาะอยู่ออกได้หมด แล้วถ่ายถอด อ่าน แปล และอธิบายเพิ่มเติมขึ้น นำลงตีพิมพ์ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 ฉบับพิมพ์ พ.ศ. 2513 ให้ชื่อว่า “หลักที่ 40 พิเศษ”
เนื้อหาของจารึกเกี่ยวกับการถวายคำสัตย์ระหว่างน้าพระยากับหลานพระยา ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ได้ตีความว่า ฝ่ายหลานพระยานั้นคงจะหมายถึงสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งพระราเมศวรและเป็นหลานตาของพระมหาธรรมราชาที่ 2 จารึกหลักนี้จึงเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางด้านเครือญาติระหว่างสุโขทัยและอยุธยา
ภาพที่ 1 ภาพเก่าการพบจารึกเจดีย์น้อย จากการขุดแต่งเจดีย์น้อย ด้านหน้าเจดีย์ 5 ยอด ทางด้านทิศใต้ของวัดมหาธาตุ เมื่อราวปี พ.ศ.2497
ภาพที่ 2 ภาพแสดงตำแหน่งที่พบจารึกเจดีย์น้อย
ภาพที่ 3 จารึกด้านที่ 1
ภาพที่ 4 จารึกด้านที่ 2
ที่มาของข้อมูล : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
--- อ้างอิง ---
1. จตุพร ศิริสัมพันธ์และคณะ, ประชุมประชุมจารึก ภาคที่ 8 จารึกสุโขทัย. (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2548) หน้า 435-444 2. ประเสริฐ ณ นคร. “รายงานการค้นคว้าจารึกสุโขทัย” ในสารนิพันธ์ ประเสริฐ ณ นคร. หน้า 324 3. https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/180
ศิลาจารึกเจดีย์น้อย จารึกด้วยอักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย 54 บรรทัด คือ จารึกด้านที่ 1 บรรทัด 1 ถึง 29 และจารึกด้านที่ 2 บรรทัด 1 ถึง 25 ส่วนด้านที่ 2 ตั้งแต่บรรทัดที่ 26 ถึง 28 จารึกด้วยอักษรขอมสุโขทัย ภาษาสันสกฤต สันนิษฐานว่าจารึกเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 20-21 . --- ศาสตราจารย์ ฉ่ำ ทองคำวรรณ ได้อ่านและอธิบายคำจารึกด้านที่ 1 ซึ่งได้นำลงตีพิมพ์ใน วารสารศิลปากร ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2497 เป็นครั้งแรก ต่อมาได้นำลงตีพิมพ์ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 ฉบับพิมพ์ พ.ศ. 2500, 2515 และ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 ฉบับพิมพ์ พ.ศ. 2503 ต่อมาในเดือนสิงหาคม 2510 นายประสาร บุญประคอง เจ้าหน้าที่ผู้อ่านจารึก พบว่าแผ่นศิลาจารึกเจดีย์น้อย ด้านที่ 2 มีจารึกอักษรอยู่อีกหลายบรรทัดแต่มีคราบปูนเกาะอยู่แน่น จึงใช้กรรมวิธีตามหลักวิทยาศาสตร์ ล้างคราบปูนที่เกาะอยู่ออกได้หมด แล้วถ่ายถอด อ่าน แปล และอธิบายเพิ่มเติมขึ้น นำลงตีพิมพ์ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 ฉบับพิมพ์ พ.ศ. 2513 ให้ชื่อว่า “หลักที่ 40 พิเศษ”
เนื้อหาของจารึกเกี่ยวกับการถวายคำสัตย์ระหว่างน้าพระยากับหลานพระยา ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ได้ตีความว่า ฝ่ายหลานพระยานั้นคงจะหมายถึงสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งพระราเมศวรและเป็นหลานตาของพระมหาธรรมราชาที่ 2 จารึกหลักนี้จึงเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางด้านเครือญาติระหว่างสุโขทัยและอยุธยา
ภาพที่ 1 ภาพเก่าการพบจารึกเจดีย์น้อย จากการขุดแต่งเจดีย์น้อย ด้านหน้าเจดีย์ 5 ยอด ทางด้านทิศใต้ของวัดมหาธาตุ เมื่อราวปี พ.ศ.2497
ภาพที่ 2 ภาพแสดงตำแหน่งที่พบจารึกเจดีย์น้อย
ภาพที่ 3 จารึกด้านที่ 1
ภาพที่ 4 จารึกด้านที่ 2
ที่มาของข้อมูล : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
--- อ้างอิง ---
1. จตุพร ศิริสัมพันธ์และคณะ, ประชุมประชุมจารึก ภาคที่ 8 จารึกสุโขทัย. (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2548) หน้า 435-444 2. ประเสริฐ ณ นคร. “รายงานการค้นคว้าจารึกสุโขทัย” ในสารนิพันธ์ ประเสริฐ ณ นคร. หน้า 324 3. https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/180
(จำนวนผู้เข้าชม 1226 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน