...

ประติมากรรมที่พบจากปราสาทนางรำ อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา
ประติมากรรมที่พบจากปราสาทนางรำ อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมาค่ะ
 
ปราสาทนางรำ เป็น สุคตาลัยหรือหอพระประจำสถานพยาบาล
เป็นสถาปัตยกรรมประเภทหนึ่งในอาโรคยาศาลาหรือสถานพยาบาล
ที่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 18
ในรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
โดยหนึ่งในหลักฐานสำคัญที่พบจากปราสาทนางรำ คือประติมากรรมรูปบุรุษ
ยืนถืออาวุธคือตรีศูลย์ สันนิษฐานว่าเป็นทวารบาลที่คอยดูแลรักษาศาสนสถาน 
แต่เดิมนั้นทวารบาลที่ปกปักษ์รักษาศาสนสถานมักเป็นรูปสิงห์ หรือรูปบุรุษที่ชื่อว่านันทิเกศวรและมหากาล
โดยนันทิเกศวรเป็นเทวบุรุษที่คอยดูแลเทวาลัยพระศิวะ ลักษณะหน้าตาใจดี บางครั้งสลักตาที่ 3 ที่หน้าผาก 
อีกองค์คือ มหากาล มีลักษณะหน้าตาดุร้าย ผมหยิกหนา รูปร่างเตี้ยค่อม
โดยคู่ทวารบาลทั้งสององค์มิได้จำกัดเฉพาะเทวาลัยของพระศิวะแต่พบที่เทวาลัยของพระวิษณุด้วย
อย่างไรก็ตามเนื่องจากปราสาทนางรำเป็นพุทธสถานจึงมีข้อสันนิษฐานว่า ประติมากรรมรูปนี้คือ
พระวัชรปาณิในรูปของทวารบาล เนื่องจากถือสิ่งของสามแฉกที่บางท่านสันนิษฐานว่าคล้ายคลึงกับวัชระ 
แต่จากการเปรียบเทียบกับศาสนสถานในเมืองพระนคร ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
พบว่า ทวารบาลที่ปรากฏมักพบว่าองค์หนึ่งมีลักษณะยิ้มแย้ม อีกองค์มีลักษณะดุร้าย
ทั้งสององค์บางครั้งถือกระบอง บางครั้งถือตรีศูลย์ไม่ได้จำเพาะเจาะจง
ซึ่งตรงกับลักษณะของมหากาลและนันทิเกศวรที่เป็นทวารบาลในเทวาลัย
ดังนั้น...ทวารบาลที่พบจากปราสาทนางรำ คงไม่ได้ถือวัชระแต่เป็นตรีศูลย์ซึ่งตรงส่วนกระบองนั้นหักหายไป
เป็นไปได้ว่าจากลักษณะใบหน้าที่ยิ้มแย้ม ประติมากรรมองค์นี้อาจเป็นนันทิเกศวรที่เป็นทวารบาลคู่กับมหากาล แม้จะเป็นพุทธสถาน 
ทวารบาลทั้งสองล้วนอยู่คู่ศาสนสถานมาเนิ่นนาน และคอยปกปักษ์รักษาศาสนสถานมาจวบจนทุกวันนี้ 
สามารถชมภาพสลักทวารบาลนันทิเกศวรและมหากาลที่สวยงาม สมบูรณ์ได้อีกแห่งที่ปราสาทศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์

(จำนวนผู้เข้าชม 799 ครั้ง)


Messenger