"กู่สวนแตง" อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์
"กู่สวนแตง" อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์
กู่สวนแตง เป็นปราสาทในศาสนาฮินดูอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 และมีการใช้งานต่อเนื่องมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 18 (ราว 800-900 ปีมาแล้ว)
ลักษณะเป็นปราสาทก่อด้วยอิฐ 3 หลัง (ยกเว้นบางส่วน เช่น กรอบประตู ทับหลัง บัวยอดปราสาท บรรพแถลง ที่ใช้หินทราย)
ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน มีบรรณาลัย 2 หลังก่อด้วยศิลาแลง มีร่องรอยของคูน้ำรูปตัว U ล้อมรอบ ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้มีบารายประจำศาสนสถานอยู่
ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน มีบรรณาลัย 2 หลังก่อด้วยศิลาแลง มีร่องรอยของคูน้ำรูปตัว U ล้อมรอบ ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้มีบารายประจำศาสนสถานอยู่
ปราสาท 3 หลังนี้คงสร้างเพื่อบูชาเทพตรีมูรติ ปราสาทหลังทิศเหนือถวายพระวิษณุ ปราสาทหลังทิศใต้ถวายพระพรหม และปราสาทหลังกลางถวายพระศิวะ
ในบันทึกของนายเอเตียน เอ็ดมงด์ ลูเนต์ เดอ ลาชงกิแยร์ (Étienne Lunet de Lajonquière) ได้ระบุว่าตนได้เดินทางมายังที่แห่งนี้เมื่อพ.ศ.2450 สภาพปราสาทอิฐทั้ง 3 หลังยังคงสมบูรณ์
- ปราสาทหลังกลางประดับทับหลังรูปศิวนาฏราช เหนือประตูทางเข้าด้านตะวันออก, ด้านทิศตะวันตกเป็นรูปกูรมาวตาร(พระวิษณุอวตารเป็นเต่า) ในตอนกวนเกษียรสมุทร
และยังพบทับหลังอื่นๆ ได้แก่ รูปนารายณ์บรรทมสินธุ์, วามนวตาร(พระวิษณุอวตารเป็นพราหมณ์เตี้ย), พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ (เดิมติดตั้งเหนือประตูด้านทิศตะวันออกของปราสาทหลังใต้),
รูปขบวนแห่กษัตริย์? และรูปเทวดาประทับนั่งเหนือหน้ากาล
รูปขบวนแห่กษัตริย์? และรูปเทวดาประทับนั่งเหนือหน้ากาล
จากการขุดศึกษาโดยกรมศิลปากรเมื่อปีพ.ศ.2537 ได้พบฐานศิลาแลงที่สร้างขึ้นในสมัยหลังต่อกับฐานของตัวปราสาทและพบฐานรูปเคารพ 4 ฐานวางเรียงกัน
- ฐานที่ 1 อยู่หลังปราสาทหลังทิศเหนือ
- ฐานที่ 2 อยู่ระหว่างปราสาทหลังทิศเหนือและปราสาทประธาน
- ฐานที่ 3 อยู่ระหว่างปราสาทหลังทิศใต้และปราสาทประธาน
- ฐานที่ 4 อยู่หลังปราสาทหลังทิศใต้
เป็นที่น่าเสียดายว่า สภาพก่อนที่กรมศิลปากรจะเข้าบูรณะบริเวณปราสาทหลังกลางถูกขุดรื้อพื้นห้อง ผนังภายในถูกเจาะเพื่อค้นหาโบราณวัตถุมีค่า
สิ่งที่หลงเหลือจากการขุดรื้อของขบวนการค้าโบราณวัตถุที่กรมศิลปากรยังพบอยู่นั้น ได้แก่
- ปราสาทหลังทิศเหนือ พบชิ้นส่วนมือประติมากรรมรูปเคารพถือสังข์ และธรณี(ก้อนดิน)
- ปราสาทหลังทิศใต้ พบฐานประติมากรรมรูปเคารพสององค์และชิ้นส่วนข้อพระบาทของประติมากรรม(มีเดือย) 1 ชิ้นบริเวณด้านหน้าของกรอบประตูทางเข้า
- บรรณาลัยหลังทิศตะวันออกเฉียงเหนือ พบชิ้นส่วนแขนประติมากรรม และชิ้นส่วนข้อพระบาทของประติมากรรม(มีเดือย) 4 ชิ้น
- บรรณาลัยหลังทิศตะวันออกเฉียงเหนือ พบชิ้นส่วนหินบดยา ชิ้นส่วนภาชนะดินเผา และกระเบื้องมุงหลังคา
นอกจากนี้จากการบูรณะยังพบชิ้นส่วนและเศียรประติมากรรมอีกจำนวนหนึ่ง
**************************************
ทับหลังกู่สวนแตงที่หายไป...
ในปีพ.ศ.2532 ศ.มจ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ได้เขียนบทความเรื่อง " Stolen Art Objects Returned to Thailand" โดยระบุว่าทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์จากกู่สวนแตง ได้ถูกขโมยไปเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2507 และหลังจากนั้นได้ไปปรากฏในแคตตาล็อกของ Mr.Avery Brundage ซึ่งสนับสนุนโดย the Asia Foundation และนำไปจัดแสดงที่ De Young Museum ใน San Francisco หลังจากติดตามทวงคืนเป็นเวลานาน ประเทศไทยจึงได้รับทับหลังกู่สวนแตงคืนกลับสู่มาตุภูมิ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2513 ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ส่วนทับหลังชิ้นอื่นๆ นั้น ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย
(จำนวนผู้เข้าชม 1376 ครั้ง)