7 คน 5 วาระ
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : 7 คน 5 วาระ --
ย้อนกลับไปเมื่อ 40 ปีก่อน โรงเรียนแห่งหนึ่งในตำบลแม่อิง อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา จัดการประชุมประจำเดือน โดยมีคณะครูและเจ้าหน้าที่เข้าร่วมทั้งสิ้น 7 คน ครบถ้วน น่าสนใจว่า "เค้าหารือเรื่องอะไร"
เอกสารจดหมายเหตุของสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมืองพะเยา มีรายงานการประชุมสามัญครั้งที่ 6/2527 ของโรงเรียนบ้านแม่อิง ตำบลแม่อิง ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ที่อำเภอภูกามยาวนั้น ระบุว่า เริ่มการประชุมเวลา 13.55 น. - 15.10 น. วาระการประชุมถูกแบ่งออกเป็น 5 วาระ ได้แก่
วาระแรก เรื่องที่ประธานแจ้งให้ทราบ เช่น สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ทักท้วงใบเสร็จทุกอย่างส่งล่าช้า, การปรับเงินเดิมตามวุฒิ, โรงเรียนที่มีความพร้อมให้เปิดชั้นเด็กเล็กได้, ความดีความชอบปีงบประมาณ 2528 และสหกรณ์ออมทรัพย์ครู
วาระที่สอง ทบทวนรายงานการประชุมครั้งก่อน
วาระที่สาม เรื่องที่สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอแจ้ง อาทิ อบรมทันตอนามัย, ส่งรายงานวินัยนักเรียน, ให้ผู้บริหารกระตุ้นครูผู้สอน, โครงการอาหารกลางวัน, รายได้จากการจำหน่ายผลไม้ที่ปลูกในโรงเรียน และมติคณะรัฐมนตรีให้สมรสกับผู้อพยพได้
วาระที่สี่ เรื่องเพิ่มเติม ได้แก่ กิจกรรมในรอบเดือน, ข้อคิด, การนัดประชุมครั้งหน้า
และ . . . วาระที่ห้า การปรับปรุงห้องเรียน
ทั้งนี้ จากทุกวาระการประชุมไม่มีการบันทึกการสนทนา แสดงความคิดเห็น หรือชี้แจงรายละเอียดใดๆ เป็นแต่จดหัวข้อการประชุมตามลำดับจนสิ้นสุดการประชุม
หากอย่างไรก็ดี รายงานการประชุมประจำเดือนดังกล่าว ทำให้ทราบ " ภารกิจ " ที่โรงเรียนบ้านแม่อิงต้องดำเนินการขณะนั้น สะท้อนภาพการบริหารและการจัดการภายใน - ภายนอกหน่วยงาน ซึ่งบางเรื่องอาจจะมีหลายโรงเรียนจำเป็นต้องปฏิบัติตามมติผู้บังคับบัญชาระดับจังหวัดเช่นกัน
นอกจากนี้ หากสังเกตการจัดลำดับความสำคัญของวาระการประชุมในแต่ละประเด็นแล้วมีความชัดเจนยิ่ง เช่น วาระที่ 1 การแจ้งเรื่องของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) หรือวาระที่ 3 ลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อยได้ดี เป็นต้น
และสิ่งที่น่าสังเกตประการสุดท้าย อาจเป็นข้อสันนิษฐานได้ว่า การประชุมครั้งนี้มีความรีบเร่งหรือไม่ เพราะรายงานการประชุมจำเป็นต้องเขียนส่งสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมืองพะเยาด้วยลายมือ " ไม่มีฉบับพิมพ์ " หรือว่ายังมีฉบับสมบูรณ์ยิ่งกว่านี้ เนื้อความละเอียดมากขึ้นอยู่กับสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ . . . ซึ่งผู้สนใจศึกษาค้นคว้าสามารถสืบค้นต่อยอดได้ต่อไป
ผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
เอกสารอ้างอิง:
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพะเยา (5) ศธ 3.1.2.2/1 เรื่อง รายงานการประชุมประจำเดือนคณะครูโรงเรียนบ้านแม่อิง [ 2 ก.ค. 2527 ].
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
เอกราช จันทร์กลับ. (๒๕๖๓). แนวทางการบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ : กรณีศึกษาสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช. [วิทยานิพนธ์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
Bourdieu, Pierre. (1986). The Forms of Capital. in Handbook of Theory and Research for the Sociology of Education (P 241-258). Greenwood.
ย้อนกลับไปเมื่อ 40 ปีก่อน โรงเรียนแห่งหนึ่งในตำบลแม่อิง อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา จัดการประชุมประจำเดือน โดยมีคณะครูและเจ้าหน้าที่เข้าร่วมทั้งสิ้น 7 คน ครบถ้วน น่าสนใจว่า "เค้าหารือเรื่องอะไร"
เอกสารจดหมายเหตุของสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมืองพะเยา มีรายงานการประชุมสามัญครั้งที่ 6/2527 ของโรงเรียนบ้านแม่อิง ตำบลแม่อิง ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ที่อำเภอภูกามยาวนั้น ระบุว่า เริ่มการประชุมเวลา 13.55 น. - 15.10 น. วาระการประชุมถูกแบ่งออกเป็น 5 วาระ ได้แก่
วาระแรก เรื่องที่ประธานแจ้งให้ทราบ เช่น สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ทักท้วงใบเสร็จทุกอย่างส่งล่าช้า, การปรับเงินเดิมตามวุฒิ, โรงเรียนที่มีความพร้อมให้เปิดชั้นเด็กเล็กได้, ความดีความชอบปีงบประมาณ 2528 และสหกรณ์ออมทรัพย์ครู
วาระที่สอง ทบทวนรายงานการประชุมครั้งก่อน
วาระที่สาม เรื่องที่สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอแจ้ง อาทิ อบรมทันตอนามัย, ส่งรายงานวินัยนักเรียน, ให้ผู้บริหารกระตุ้นครูผู้สอน, โครงการอาหารกลางวัน, รายได้จากการจำหน่ายผลไม้ที่ปลูกในโรงเรียน และมติคณะรัฐมนตรีให้สมรสกับผู้อพยพได้
วาระที่สี่ เรื่องเพิ่มเติม ได้แก่ กิจกรรมในรอบเดือน, ข้อคิด, การนัดประชุมครั้งหน้า
และ . . . วาระที่ห้า การปรับปรุงห้องเรียน
ทั้งนี้ จากทุกวาระการประชุมไม่มีการบันทึกการสนทนา แสดงความคิดเห็น หรือชี้แจงรายละเอียดใดๆ เป็นแต่จดหัวข้อการประชุมตามลำดับจนสิ้นสุดการประชุม
หากอย่างไรก็ดี รายงานการประชุมประจำเดือนดังกล่าว ทำให้ทราบ " ภารกิจ " ที่โรงเรียนบ้านแม่อิงต้องดำเนินการขณะนั้น สะท้อนภาพการบริหารและการจัดการภายใน - ภายนอกหน่วยงาน ซึ่งบางเรื่องอาจจะมีหลายโรงเรียนจำเป็นต้องปฏิบัติตามมติผู้บังคับบัญชาระดับจังหวัดเช่นกัน
นอกจากนี้ หากสังเกตการจัดลำดับความสำคัญของวาระการประชุมในแต่ละประเด็นแล้วมีความชัดเจนยิ่ง เช่น วาระที่ 1 การแจ้งเรื่องของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) หรือวาระที่ 3 ลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อยได้ดี เป็นต้น
และสิ่งที่น่าสังเกตประการสุดท้าย อาจเป็นข้อสันนิษฐานได้ว่า การประชุมครั้งนี้มีความรีบเร่งหรือไม่ เพราะรายงานการประชุมจำเป็นต้องเขียนส่งสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมืองพะเยาด้วยลายมือ " ไม่มีฉบับพิมพ์ " หรือว่ายังมีฉบับสมบูรณ์ยิ่งกว่านี้ เนื้อความละเอียดมากขึ้นอยู่กับสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ . . . ซึ่งผู้สนใจศึกษาค้นคว้าสามารถสืบค้นต่อยอดได้ต่อไป
ผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
เอกสารอ้างอิง:
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพะเยา (5) ศธ 3.1.2.2/1 เรื่อง รายงานการประชุมประจำเดือนคณะครูโรงเรียนบ้านแม่อิง [ 2 ก.ค. 2527 ].
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
เอกราช จันทร์กลับ. (๒๕๖๓). แนวทางการบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ : กรณีศึกษาสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช. [วิทยานิพนธ์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
Bourdieu, Pierre. (1986). The Forms of Capital. in Handbook of Theory and Research for the Sociology of Education (P 241-258). Greenwood.
(จำนวนผู้เข้าชม 160 ครั้ง)