แม่บ้านเกษตรกรออมเงิน
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : แม่บ้านเกษตรกรออมเงิน --
เมื่อ พ.ศ. 2534 กรมส่งเสริมการเกษตรและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ร่วมกันจัดทำโครงการส่งเสริมเงินออมทรัพย์ในกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรขึ้น เพื่อส่งเสริมการเก็บออมรายได้ ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย และจุดมุ่งหมายสำคัญคือ เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (พระอิสริยยศขณะนั้น)
ครั้นเวลาผ่านไป 4 ปี เกษตรอำเภอเชียงม่วนเสนอรายงานผลของโครงการแก่เกษตรจังหวัดพะเยา โดยแบ่งกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่เป็นเป้าหมายไว้ 3 กลุ่ม แล้วระบุเงินฝากในบัญชี ณ สิ้นเดือนกันยายน พ.ศ. 2538 ดังนี้
1. กลุ่มธุรกิจ เงินรับฝากคงเหลือ 214,904.88 บาท
2. กลุ่มเพิ่มรายได้ เงินรับฝากคงเหลือ 87,861.22 บาท
3. กลุ่มบริโภคในครัวเรือน เงินรับฝากคงเหลือ - บาท
" รวมเงินรับฝากทั้งสิ้น 302,766.10 บาท "
ส่วนรายงานความก้าวหน้ากิจการโครงการ ได้แก่ การให้บริการด้านวัสดุอุปกรณ์การเกษตร บัตรสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อย ประกันชีวิต การกู้เงิน ปัญหาการดำเนินงาน และอื่นๆ นั้น ในรายงานไม่ได้ระบุแต่อย่างใด หากหัวข้อเหล่านี้ทำให้เราทราบกิจกรรมอื่นๆ นอกจากการส่งเสริมการออมทรัพย์เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ไม่ปรากฏในรายงานเงินฝากอีกสองประการคือ
1. เงินต้นแรกรับฝากของแต่ละกลุ่มแม่บ้าน
2. ดอกเบี้ยจากการออม ซึ่งเข้าใจว่ารายงานรวมไปกับจำนวนเงินรับฝากคงเหลือเรียบร้อยแล้ว
นอกจากนี้ เมื่อเกษตรอำเภอเชียงม่วนเสนอรายงานในช่วงเวลานี้ เกษตรอำเภออื่นๆ น่าจะเสนอรายงานดังกล่าวเช่นกัน ซึ่งเมื่อทราบภาพรวมของทุกอำเภอได้ ทางจังหวัดจะพบความสำเร็จของเป้าหมาย โครงการช่วยแก้ไขปัญหารายรับของเกษตรกร และสุดท้ายสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสมัยต่อมาอีกด้วย
ผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
เอกสารอ้างอิง:
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา พย 1.13.1.1/16 เรื่อง โครงการส่งเสริมเงินออมทรัพย์ในกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเพื่อเฉลิมพระเกียรติ ของสำนักงานเกษตรอำเภอเชียงม่วน
[ 16 - 20 ต.ค. 2538 ].
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
เมื่อ พ.ศ. 2534 กรมส่งเสริมการเกษตรและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ร่วมกันจัดทำโครงการส่งเสริมเงินออมทรัพย์ในกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรขึ้น เพื่อส่งเสริมการเก็บออมรายได้ ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย และจุดมุ่งหมายสำคัญคือ เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (พระอิสริยยศขณะนั้น)
ครั้นเวลาผ่านไป 4 ปี เกษตรอำเภอเชียงม่วนเสนอรายงานผลของโครงการแก่เกษตรจังหวัดพะเยา โดยแบ่งกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่เป็นเป้าหมายไว้ 3 กลุ่ม แล้วระบุเงินฝากในบัญชี ณ สิ้นเดือนกันยายน พ.ศ. 2538 ดังนี้
1. กลุ่มธุรกิจ เงินรับฝากคงเหลือ 214,904.88 บาท
2. กลุ่มเพิ่มรายได้ เงินรับฝากคงเหลือ 87,861.22 บาท
3. กลุ่มบริโภคในครัวเรือน เงินรับฝากคงเหลือ - บาท
" รวมเงินรับฝากทั้งสิ้น 302,766.10 บาท "
ส่วนรายงานความก้าวหน้ากิจการโครงการ ได้แก่ การให้บริการด้านวัสดุอุปกรณ์การเกษตร บัตรสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อย ประกันชีวิต การกู้เงิน ปัญหาการดำเนินงาน และอื่นๆ นั้น ในรายงานไม่ได้ระบุแต่อย่างใด หากหัวข้อเหล่านี้ทำให้เราทราบกิจกรรมอื่นๆ นอกจากการส่งเสริมการออมทรัพย์เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ไม่ปรากฏในรายงานเงินฝากอีกสองประการคือ
1. เงินต้นแรกรับฝากของแต่ละกลุ่มแม่บ้าน
2. ดอกเบี้ยจากการออม ซึ่งเข้าใจว่ารายงานรวมไปกับจำนวนเงินรับฝากคงเหลือเรียบร้อยแล้ว
นอกจากนี้ เมื่อเกษตรอำเภอเชียงม่วนเสนอรายงานในช่วงเวลานี้ เกษตรอำเภออื่นๆ น่าจะเสนอรายงานดังกล่าวเช่นกัน ซึ่งเมื่อทราบภาพรวมของทุกอำเภอได้ ทางจังหวัดจะพบความสำเร็จของเป้าหมาย โครงการช่วยแก้ไขปัญหารายรับของเกษตรกร และสุดท้ายสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสมัยต่อมาอีกด้วย
ผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
เอกสารอ้างอิง:
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา พย 1.13.1.1/16 เรื่อง โครงการส่งเสริมเงินออมทรัพย์ในกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเพื่อเฉลิมพระเกียรติ ของสำนักงานเกษตรอำเภอเชียงม่วน
[ 16 - 20 ต.ค. 2538 ].
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
(จำนวนผู้เข้าชม 227 ครั้ง)