การจัดการโรงพยาบาลใหม่
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : การจัดการโรงพยาบาลใหม่ --
ปีพุทธศักราช 2455 มีการจัดตั้งโรงพยาบาลแห่งใหม่ขึ้นที่จังหวัดสุโขทัย เรื่องราวเกี่ยวกับการจัดตั้งโรงพยาบาลแห่งนี้มีหลักฐานปรากฏอยู่ในเอกสารจดหมายเหตุชุดกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 6 กระทรวงมหาดไทย โดยนอกจากจะกล่าวถึงมูลเหตุของการจัดตั้ง การบริจาคทรัพย์ของผู้มีจิตศรัทธา และการก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลแล้ว ในเอกสารจดหมายเหตุชุดนี้กล่าวถึงวิธีการจัดการโรงพยาบาลที่ตั้งขึ้นใหม่ ทั้งในเรื่องการบริหาร ข้อบังคับ และหน้าที่ของแพทย์ประจำโรงพยาบาล ซึ่งน่าสนใจว่า คนเมื่อร้อยกว่าปีก่อนมีแนวคิดในการจัดการโรงพยาบาลที่ตั้งขึ้นใหม่อย่างไร
.
เมื่อเดือนพฤศจิกายน ร.ศ. 131 (พ.ศ. 2455) พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย (พระอิสริยยศ-ตำแหน่งในขณะนั้น) ทรงมีลายพระหัตถ์กราบทูลพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี ราชเลขานุการ ใจความของลายพระหัตถ์กล่าวถึงการสร้างโรงพยาบาลของเมืองสุโขทัย ซึ่งพระยารามราชภักดี ผู้ว่าราชการเมืองสุโขทัยพร้อมด้วยข้าราชการและราษฎรเมืองสุโขทัย ร่วมกันออกทุนทรัพย์สร้างโรงพยาบาล เพื่อเป็นที่ระลึกในการเสด็จพระราชดำเนินประพาศเมืองสุโขทัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่ราษฎรทั่วไป การก่อสร้างโรงพยาบาลเริ่มมาตั้งแต่ ร.ศ. 128 (พ.ศ. 2452) จนแล้วเสร็จเมื่อเดือนตุลาคม ร.ศ. 131 ใช้เงินค่าก่อสร้าง 2,747 บาท 58 สตางค์ และมีกำหนดเปิดให้บริการโรงพยาบาลในวันที่ 2 มกราคม ร.ศ. 131 (เทียบกับปฏิทินปัจจุบันคือปี พ.ศ. 2456) พร้อมกับได้ทรงแนบรายชื่อผู้บริจาคเงิน รายชื่อกรรมการโรงพยาบาล รายการก่อสร้าง บัญชีรายจ่าย วิธีจัดการโรงพยาบาล และแบบแปลนมาพร้อมกับลายพระหัตถ์ฉบับนี้ สำหรับ “วิธีจัดการโรงพยาบาล” ที่แนบมากับลายพระหัตถ์นั้น จำแนกได้เป็นสามส่วนดังนี้
.
1. หน้าที่กรรมการและวิธีจัดการกรรมการ กำหนดให้มีสภานายก 1 คน และกรรมการไม่ต่ำกว่า 8 คน ผู้ที่เป็นสภานายกจะต้องเป็นผู้ว่าราชการเมืองโดยตำแหน่ง ส่วนคนที่เป็นกรรมการต้องเป็นผู้มีกำลังทรัพย์เพราะจะมีคนนิยมนับถือ กรรมการมีหน้าที่หลักคือต้องตรวจและแนะนำการงานทุกอย่างของโรงพยาบาล มีอำนาจตรวจสอบบัญชีรายรับรายจ่ายของโรงพยาบาล รวมทั้งเป็นผู้บอกบุญขอรับบริจาคจากราษฎรเพื่ออุดหนุนโรงพยาบาล หากทุนทรัพย์ไม่พอกรรมการต้องออกทุนส่วนตัวคนละไม่ต่ำกว่า 40 บาทต่อปี
.
2. ข้อบังคับของโรงพยาบาล เน้นไปที่หมอและคนใช้ของโรงพยาบาล โดยกำหนดให้ต้องมีหมอประจำอยู่โรงพยาบาลไม่ต่ำกว่า 1 คน มีคนพยาบาลหรือคนใช้ไม่ต่ำกว่า 2 คน หมอที่ประจำโรงพยาบาลนั้น ควรเป็นหมอประจำเมืองที่มีหน้าที่รักษาพยาบาลนักโทษและราษฎรอยู่แล้ว (หมอประจำเมืองนี้ต่อมาได้พัฒนามาเป็นนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดในปัจจุบัน - ผู้เขียน) เพื่อจะได้ประหยัดเงิน ส่วนคนใช้ของโรงพยาบาล เสนอให้นำนักโทษที่มีโทษสถานเบามาใช้ในการพยาบาลและรักษาสถานที่ แต่ต้องมีคนใช้ที่ไม่ใช่นักโทษอีก 1 คน เพราะข้อบังคับของเรือนจำไม่อนุญาตให้นักโทษอยู่ตอนกลางคืน
.
3. หน้าที่หมอ หมอในโรงพยาบาลแห่งนี้ต้องทำหน้าที่หลายๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกับงานสาธารณสุข เช่น ต้องรักษาพยาบาลราษฎรโดยไม่เลือกชาติและภาษา ต้องพิจารณาจัดยาให้แก่ราษฎรตามอาการในปริมาณที่เหมาะสม ต้องปลูกฝีไข้ทรพิษให้กับราษฎร ถ้าเป็นหมอประจำเมืองก็ต้องไปตรวจรักษาในเรือนจำตามข้อบังคับด้วย เป็นต้น
.
หลังจากที่มีผู้มีจิตศรัทธาจำนวนมากร่วมบริจาคเงินจนสามารถนำเงินไปสร้างโรงพยาบาลให้แล้วเสร็จ และเปิดให้บริการเพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่ราษฎรแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระราชทานโรงพยาบาลประจำเมืองสุโขทัยแห่งนี้ว่า “ศุโขไทยศุขสถาน” (สะกดตามต้นฉบับ) แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันกลับไม่พบชื่อโรงพยาบาลแห่งนี้อีกแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องสืบค้นเพิ่มเติมกันต่อไปว่าโรงพยาบาลแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ใด และเลิกดำเนินงานหรือย้ายไปที่อื่นเมื่อใด
.
ผู้เขียน: นายธัชพงศ์ พัตรสงวน (นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
.
เอกสารอ้างอิง:
1. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารชุดกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 6 กระทรวงมหาดไทย ร.6 ม 12.3/2 เรื่อง โรงพยาบาลเมืองศุโขไทย [ 21 พ.ย. 2455 – 7 ส.ค. 2456 ].
2. “แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่องบริจาคทรัพย์สร้างโรงพยาบาล.” (2456) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 30, ตอน ง (12 ตุลาคม): 1528-1532.
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
ปีพุทธศักราช 2455 มีการจัดตั้งโรงพยาบาลแห่งใหม่ขึ้นที่จังหวัดสุโขทัย เรื่องราวเกี่ยวกับการจัดตั้งโรงพยาบาลแห่งนี้มีหลักฐานปรากฏอยู่ในเอกสารจดหมายเหตุชุดกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 6 กระทรวงมหาดไทย โดยนอกจากจะกล่าวถึงมูลเหตุของการจัดตั้ง การบริจาคทรัพย์ของผู้มีจิตศรัทธา และการก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลแล้ว ในเอกสารจดหมายเหตุชุดนี้กล่าวถึงวิธีการจัดการโรงพยาบาลที่ตั้งขึ้นใหม่ ทั้งในเรื่องการบริหาร ข้อบังคับ และหน้าที่ของแพทย์ประจำโรงพยาบาล ซึ่งน่าสนใจว่า คนเมื่อร้อยกว่าปีก่อนมีแนวคิดในการจัดการโรงพยาบาลที่ตั้งขึ้นใหม่อย่างไร
.
เมื่อเดือนพฤศจิกายน ร.ศ. 131 (พ.ศ. 2455) พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย (พระอิสริยยศ-ตำแหน่งในขณะนั้น) ทรงมีลายพระหัตถ์กราบทูลพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี ราชเลขานุการ ใจความของลายพระหัตถ์กล่าวถึงการสร้างโรงพยาบาลของเมืองสุโขทัย ซึ่งพระยารามราชภักดี ผู้ว่าราชการเมืองสุโขทัยพร้อมด้วยข้าราชการและราษฎรเมืองสุโขทัย ร่วมกันออกทุนทรัพย์สร้างโรงพยาบาล เพื่อเป็นที่ระลึกในการเสด็จพระราชดำเนินประพาศเมืองสุโขทัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่ราษฎรทั่วไป การก่อสร้างโรงพยาบาลเริ่มมาตั้งแต่ ร.ศ. 128 (พ.ศ. 2452) จนแล้วเสร็จเมื่อเดือนตุลาคม ร.ศ. 131 ใช้เงินค่าก่อสร้าง 2,747 บาท 58 สตางค์ และมีกำหนดเปิดให้บริการโรงพยาบาลในวันที่ 2 มกราคม ร.ศ. 131 (เทียบกับปฏิทินปัจจุบันคือปี พ.ศ. 2456) พร้อมกับได้ทรงแนบรายชื่อผู้บริจาคเงิน รายชื่อกรรมการโรงพยาบาล รายการก่อสร้าง บัญชีรายจ่าย วิธีจัดการโรงพยาบาล และแบบแปลนมาพร้อมกับลายพระหัตถ์ฉบับนี้ สำหรับ “วิธีจัดการโรงพยาบาล” ที่แนบมากับลายพระหัตถ์นั้น จำแนกได้เป็นสามส่วนดังนี้
.
1. หน้าที่กรรมการและวิธีจัดการกรรมการ กำหนดให้มีสภานายก 1 คน และกรรมการไม่ต่ำกว่า 8 คน ผู้ที่เป็นสภานายกจะต้องเป็นผู้ว่าราชการเมืองโดยตำแหน่ง ส่วนคนที่เป็นกรรมการต้องเป็นผู้มีกำลังทรัพย์เพราะจะมีคนนิยมนับถือ กรรมการมีหน้าที่หลักคือต้องตรวจและแนะนำการงานทุกอย่างของโรงพยาบาล มีอำนาจตรวจสอบบัญชีรายรับรายจ่ายของโรงพยาบาล รวมทั้งเป็นผู้บอกบุญขอรับบริจาคจากราษฎรเพื่ออุดหนุนโรงพยาบาล หากทุนทรัพย์ไม่พอกรรมการต้องออกทุนส่วนตัวคนละไม่ต่ำกว่า 40 บาทต่อปี
.
2. ข้อบังคับของโรงพยาบาล เน้นไปที่หมอและคนใช้ของโรงพยาบาล โดยกำหนดให้ต้องมีหมอประจำอยู่โรงพยาบาลไม่ต่ำกว่า 1 คน มีคนพยาบาลหรือคนใช้ไม่ต่ำกว่า 2 คน หมอที่ประจำโรงพยาบาลนั้น ควรเป็นหมอประจำเมืองที่มีหน้าที่รักษาพยาบาลนักโทษและราษฎรอยู่แล้ว (หมอประจำเมืองนี้ต่อมาได้พัฒนามาเป็นนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดในปัจจุบัน - ผู้เขียน) เพื่อจะได้ประหยัดเงิน ส่วนคนใช้ของโรงพยาบาล เสนอให้นำนักโทษที่มีโทษสถานเบามาใช้ในการพยาบาลและรักษาสถานที่ แต่ต้องมีคนใช้ที่ไม่ใช่นักโทษอีก 1 คน เพราะข้อบังคับของเรือนจำไม่อนุญาตให้นักโทษอยู่ตอนกลางคืน
.
3. หน้าที่หมอ หมอในโรงพยาบาลแห่งนี้ต้องทำหน้าที่หลายๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกับงานสาธารณสุข เช่น ต้องรักษาพยาบาลราษฎรโดยไม่เลือกชาติและภาษา ต้องพิจารณาจัดยาให้แก่ราษฎรตามอาการในปริมาณที่เหมาะสม ต้องปลูกฝีไข้ทรพิษให้กับราษฎร ถ้าเป็นหมอประจำเมืองก็ต้องไปตรวจรักษาในเรือนจำตามข้อบังคับด้วย เป็นต้น
.
หลังจากที่มีผู้มีจิตศรัทธาจำนวนมากร่วมบริจาคเงินจนสามารถนำเงินไปสร้างโรงพยาบาลให้แล้วเสร็จ และเปิดให้บริการเพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่ราษฎรแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระราชทานโรงพยาบาลประจำเมืองสุโขทัยแห่งนี้ว่า “ศุโขไทยศุขสถาน” (สะกดตามต้นฉบับ) แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันกลับไม่พบชื่อโรงพยาบาลแห่งนี้อีกแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องสืบค้นเพิ่มเติมกันต่อไปว่าโรงพยาบาลแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ใด และเลิกดำเนินงานหรือย้ายไปที่อื่นเมื่อใด
.
ผู้เขียน: นายธัชพงศ์ พัตรสงวน (นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
.
เอกสารอ้างอิง:
1. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารชุดกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 6 กระทรวงมหาดไทย ร.6 ม 12.3/2 เรื่อง โรงพยาบาลเมืองศุโขไทย [ 21 พ.ย. 2455 – 7 ส.ค. 2456 ].
2. “แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่องบริจาคทรัพย์สร้างโรงพยาบาล.” (2456) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 30, ตอน ง (12 ตุลาคม): 1528-1532.
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
(จำนวนผู้เข้าชม 260 ครั้ง)