โอนอำเภอท่าปลา
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : โอนอำเภอท่าปลา --
อำเภอท่าปลา ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอุตรดิตถ์ แต่เมื่อร้อยปีก่อนอำเภอแห่งนี้เคยอยู่กับจังหวัดน่านมาก่อน ซึ่งข้อมูลจากเอกสารจดหมายเหตุทำให้เราทราบว่า การโอนย้ายอำเภอจากจังหวัดหนึ่งไปอีกจังหวัดหนึ่งในสมัยนั้น มีปัจจัยใดที่ต้องพิจารณาบ้าง
.
ข้อมูลจากเอกสารจดหมายเหตุชุดกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 6 กระทรวงมหาดไทย ระบุว่า เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2465 พระยาราชนกูล ผู้ทำการแทนเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้มีหนังสือกราบบังคมทูลความว่า ได้รับใบบอกจากอุปราชมณฑลภาคพายัพว่า อำเภอท่าปลา จังหวัดน่าน ตั้งอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดมาก ใช้เวลาเดินทางไป-กลับ จากตัวจังหวัดน่านถึงอำเภอโดยทางบกรวม 14 วัน ซึ่งเส้นทางนั้นเป็นทางทุรกันดารและต้องบุกป่าฝ่าดง หากเดินทางทางน้ำไป-กลับ จะใช้เวลารวม 15 วัน ต้องฝ่าเกาะแก่งต่างๆ ซึ่งลำบากต่อการเดินเรือ ยิ่งเมื่อถึงฤดูฝนการเดินทางจะยิ่งยากลำบากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการเดินทางระหว่างอำเภอท่าปลากับจังหวัดอุตรดิตถ์แล้ว พบว่าทางบกใช้เวลาเดินทางเพียง 3 วันเท่านั้น ส่วนทางน้ำก็สะดวกกว่าจังหวัดน่าน นอกจากนี้พลเมืองของอำเภอท่าปลายังมีความ “คล้ายคลึง” กับพลเมืองของอำเภอแสนตอ จังหวัดอุตรดิตถ์ (ปัจจุบันคืออำเภอน้ำปาด – ผู้เขียน) อีกด้วย จากเหตุผลต่างๆ เหล่านี้ อุปราชมณฑลภาคพายัพ จึงมีความเห็นว่าควรโอนอำเภอท่าปลาจากจังหวัดน่านไปขึ้นกับจังหวัดอุตรดิตถ์ พระยาราชนกูลได้ปรึกษากับสมุหเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลก มีความเห็นสอดคล้องกัน จึงมีหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตโอนอำเภอดังกล่าว
.
ในเวลาต่อมา ได้มีลายพระหัตถ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ พระราชทานพระอนุญาตให้โอนอำเภอท่าปลาไปขึ้นกับจังหวัดอุตรดิตถ์ และได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2465 อำเภอท่าปลาจึงได้มาอยู่กับจังหวัดอุตรดิตถ์ตราบจนถึงปัจจุบัน
.
ผู้เขียน: นายธัชพงศ์ พัตรสงวน (นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
เอกสารอ้างอิง:
1. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารชุดกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 6 กระทรวงมหาดไทย ร.6 ม 3.2/54 เรื่อง โอน อ. ท่าปลาจาก จ. น่านมาขึ้นกับ จ. อุตรดิตถ์ [ 18 – 26 พ.ค. 2465 ].
2. “ประกาศโอนอำเภอท่าปลาจากจังหวัดน่านมาขึ้นจังหวัดอุตรดิฐ.” (2465) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 39, ตอน ก (4 มิถุนายน): 55.
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
อำเภอท่าปลา ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอุตรดิตถ์ แต่เมื่อร้อยปีก่อนอำเภอแห่งนี้เคยอยู่กับจังหวัดน่านมาก่อน ซึ่งข้อมูลจากเอกสารจดหมายเหตุทำให้เราทราบว่า การโอนย้ายอำเภอจากจังหวัดหนึ่งไปอีกจังหวัดหนึ่งในสมัยนั้น มีปัจจัยใดที่ต้องพิจารณาบ้าง
.
ข้อมูลจากเอกสารจดหมายเหตุชุดกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 6 กระทรวงมหาดไทย ระบุว่า เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2465 พระยาราชนกูล ผู้ทำการแทนเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้มีหนังสือกราบบังคมทูลความว่า ได้รับใบบอกจากอุปราชมณฑลภาคพายัพว่า อำเภอท่าปลา จังหวัดน่าน ตั้งอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดมาก ใช้เวลาเดินทางไป-กลับ จากตัวจังหวัดน่านถึงอำเภอโดยทางบกรวม 14 วัน ซึ่งเส้นทางนั้นเป็นทางทุรกันดารและต้องบุกป่าฝ่าดง หากเดินทางทางน้ำไป-กลับ จะใช้เวลารวม 15 วัน ต้องฝ่าเกาะแก่งต่างๆ ซึ่งลำบากต่อการเดินเรือ ยิ่งเมื่อถึงฤดูฝนการเดินทางจะยิ่งยากลำบากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการเดินทางระหว่างอำเภอท่าปลากับจังหวัดอุตรดิตถ์แล้ว พบว่าทางบกใช้เวลาเดินทางเพียง 3 วันเท่านั้น ส่วนทางน้ำก็สะดวกกว่าจังหวัดน่าน นอกจากนี้พลเมืองของอำเภอท่าปลายังมีความ “คล้ายคลึง” กับพลเมืองของอำเภอแสนตอ จังหวัดอุตรดิตถ์ (ปัจจุบันคืออำเภอน้ำปาด – ผู้เขียน) อีกด้วย จากเหตุผลต่างๆ เหล่านี้ อุปราชมณฑลภาคพายัพ จึงมีความเห็นว่าควรโอนอำเภอท่าปลาจากจังหวัดน่านไปขึ้นกับจังหวัดอุตรดิตถ์ พระยาราชนกูลได้ปรึกษากับสมุหเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลก มีความเห็นสอดคล้องกัน จึงมีหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตโอนอำเภอดังกล่าว
.
ในเวลาต่อมา ได้มีลายพระหัตถ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ พระราชทานพระอนุญาตให้โอนอำเภอท่าปลาไปขึ้นกับจังหวัดอุตรดิตถ์ และได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2465 อำเภอท่าปลาจึงได้มาอยู่กับจังหวัดอุตรดิตถ์ตราบจนถึงปัจจุบัน
.
ผู้เขียน: นายธัชพงศ์ พัตรสงวน (นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
เอกสารอ้างอิง:
1. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารชุดกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 6 กระทรวงมหาดไทย ร.6 ม 3.2/54 เรื่อง โอน อ. ท่าปลาจาก จ. น่านมาขึ้นกับ จ. อุตรดิตถ์ [ 18 – 26 พ.ค. 2465 ].
2. “ประกาศโอนอำเภอท่าปลาจากจังหวัดน่านมาขึ้นจังหวัดอุตรดิฐ.” (2465) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 39, ตอน ก (4 มิถุนายน): 55.
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
(จำนวนผู้เข้าชม 721 ครั้ง)