คณะกรรมการ พอ.สว. พะเยา
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : คณะกรรมการ พอ.สว. พะเยา --
ทราบไหมว่า จังหวัดพะเยามีคณะกรรมการมูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีประจำจังหวัด ?
แล้วทราบไหมว่า คณะกรรมการมีหน้าที่อะไรบ้าง ?
.
มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรืออักษรย่อ " พอ.สว. " ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2512 โดยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อรวมกลุ่มอาสาสมัครทางการแพทย์ สาธารณสุข และสาขาวิชาชีพต่างๆ เป็นหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกให้บริการตรวจรักษาประชาชนในท้องถิ่นทุรกันดารทั่วประเทศ เป็นงานสาธารณประโยชน์ ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองหรือธุรกิจแต่อย่างใด
.
จังหวัดพะเยานับแต่ยกสถานะขึ้นเป็นจังหวัดเมื่อปี พ.ศ. 2520 มีการดำเนินงานของมูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเรื่อยมา โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการประจำจังหวัดสำหรับบริหารและประสานงานกับสำนักงานมูลนิธิฯ ในส่วนกลางสม่ำเสมอ
.
หนึ่งในเอกสารจดหมายเหตุชุดสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา ปรากฏเอกสารราชการเรื่อง " เชิญประชุมคณะกรรมการ พอ.สว.จังหวัดพะเยา " เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2533 ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัด ทำให้ทราบว่าขณะนั้นมีคณะกรรมการจำนวน 24 คน ที่สำคัญได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด นายแพทย์สาธารณสุข ศึกษาธิการ เกษตรจังหวัด ผู้บังคับการทหาร ตำรวจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอำเภอต่างๆ และนายกเหล่ากาชาด
.
ทั้งนี้คณะกรรมการ พอ.สว.จังหวัดพะเยามีหน้าที่ 12 ประการ โดยสรุปคือ
- จัดทำแผนการปฏิบัติงานในหน้าที่
- ประสานงานอำนวยความสะดวกการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ และกิจกรรมอื่นๆ ของสำนักงานมูลนิธิ พอ.สว.
- ส่งผู้ป่วยเข้ารับการรักษาต่อในโรงพยาบาลที่เหมาะสม
- จัดหาทุนทรัพย์สนับสนุนการดำเนินงานแพทย์อาสา
- ประเมินผลการปฏิบัติงาน
- ประชาสัมพันธ์หน่วยงานให้เป็นที่รู้จักแก่การสาธารณกุศล ไม่ใช่องค์กรธุรกิจ
เป็นต้น
.
อย่างไรก็ตาม เอกสารจดหมายเหตุดังกล่าวมีเนื้อหาการเชิญประชุมและคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ พอ.สว.จังหวัดพะเยาเท่านั้น น่าเสียดายที่ไม่มีรายงานการประชุมร่วมด้วย เพราะจะเข้าใจรายละเอียดอื่นๆ รวมไปถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องกับมูลนิธิฯ มากขึ้น
.
แต่กระนั้น เพียงเอกสารเท่าที่มีก็เป็นหลักฐานยืนยันการทำกิจกรรมของคณะกรรมการ พอ.สว.จังหวัดพะเยา บ่งบอกถึงการบริหารงานสาธารณประโยชน์ เพื่อให้ " เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา " ต่อไป ซึ่งปัจจุบันต้องใช้คำว่า มี " จิตอาสา " อย่างแท้จริง
.
ผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
.
เอกสารอ้างอิง:
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา พย 1.13/2 เรื่อง การประชุมคณะกรรมการมูลนิธิแพทย์อาสาบรมราชชนนีจังหวัดพะเยา [ 8 - 14 ก.พ. 2533 ].
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
ทราบไหมว่า จังหวัดพะเยามีคณะกรรมการมูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีประจำจังหวัด ?
แล้วทราบไหมว่า คณะกรรมการมีหน้าที่อะไรบ้าง ?
.
มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรืออักษรย่อ " พอ.สว. " ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2512 โดยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อรวมกลุ่มอาสาสมัครทางการแพทย์ สาธารณสุข และสาขาวิชาชีพต่างๆ เป็นหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกให้บริการตรวจรักษาประชาชนในท้องถิ่นทุรกันดารทั่วประเทศ เป็นงานสาธารณประโยชน์ ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองหรือธุรกิจแต่อย่างใด
.
จังหวัดพะเยานับแต่ยกสถานะขึ้นเป็นจังหวัดเมื่อปี พ.ศ. 2520 มีการดำเนินงานของมูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเรื่อยมา โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการประจำจังหวัดสำหรับบริหารและประสานงานกับสำนักงานมูลนิธิฯ ในส่วนกลางสม่ำเสมอ
.
หนึ่งในเอกสารจดหมายเหตุชุดสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา ปรากฏเอกสารราชการเรื่อง " เชิญประชุมคณะกรรมการ พอ.สว.จังหวัดพะเยา " เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2533 ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัด ทำให้ทราบว่าขณะนั้นมีคณะกรรมการจำนวน 24 คน ที่สำคัญได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด นายแพทย์สาธารณสุข ศึกษาธิการ เกษตรจังหวัด ผู้บังคับการทหาร ตำรวจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอำเภอต่างๆ และนายกเหล่ากาชาด
.
ทั้งนี้คณะกรรมการ พอ.สว.จังหวัดพะเยามีหน้าที่ 12 ประการ โดยสรุปคือ
- จัดทำแผนการปฏิบัติงานในหน้าที่
- ประสานงานอำนวยความสะดวกการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ และกิจกรรมอื่นๆ ของสำนักงานมูลนิธิ พอ.สว.
- ส่งผู้ป่วยเข้ารับการรักษาต่อในโรงพยาบาลที่เหมาะสม
- จัดหาทุนทรัพย์สนับสนุนการดำเนินงานแพทย์อาสา
- ประเมินผลการปฏิบัติงาน
- ประชาสัมพันธ์หน่วยงานให้เป็นที่รู้จักแก่การสาธารณกุศล ไม่ใช่องค์กรธุรกิจ
เป็นต้น
.
อย่างไรก็ตาม เอกสารจดหมายเหตุดังกล่าวมีเนื้อหาการเชิญประชุมและคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ พอ.สว.จังหวัดพะเยาเท่านั้น น่าเสียดายที่ไม่มีรายงานการประชุมร่วมด้วย เพราะจะเข้าใจรายละเอียดอื่นๆ รวมไปถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องกับมูลนิธิฯ มากขึ้น
.
แต่กระนั้น เพียงเอกสารเท่าที่มีก็เป็นหลักฐานยืนยันการทำกิจกรรมของคณะกรรมการ พอ.สว.จังหวัดพะเยา บ่งบอกถึงการบริหารงานสาธารณประโยชน์ เพื่อให้ " เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา " ต่อไป ซึ่งปัจจุบันต้องใช้คำว่า มี " จิตอาสา " อย่างแท้จริง
.
ผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
.
เอกสารอ้างอิง:
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา พย 1.13/2 เรื่อง การประชุมคณะกรรมการมูลนิธิแพทย์อาสาบรมราชชนนีจังหวัดพะเยา [ 8 - 14 ก.พ. 2533 ].
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
(จำนวนผู้เข้าชม 314 ครั้ง)