ผักไม่ใช่ผัก
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : ผักไม่ใช่ผัก --
" ผักสามหาว " คือคำสุภาพที่ถูกบัญญัติขึ้นใช้เรียก " ผักตบชวา " พืชที่ไม่ใช่ผักสำหรับรับประทาน เติบโตได้ดีทั้งบนผิวน้ำและริมตลิ่ง ออกดอกสีม่วงสวยงาม แต่... ขยายพันธุ์ได้เองอย่างรวดเร็ว เมื่อลอยไปตามแม่น้ำลำคลองจะแพร่กระจายไปหลายพื้นที่ จึงเป็นปัญหาที่ภาครัฐกับเอกชนช่วยกันกำจัดมาโดยตลอด
.
ปี 2515 กระทรวงมหาดไทยมีหนังสือราชการแจ้งเวียนถึงผู้ว่าราชการทุกจังหวัดให้ใช้พระราชบัญญัติสำหรับกำจัดผักตบชวา พ.ศ. 2456 กำจัดให้หมดสิ้นทั้งประเทศ โดยระบุสาระสำคัญตอนหนึ่งว่า " หากผักตบชวามีขึ้นในที่ของผู้ใด ให้ถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้นั้นต้องทำลาย " อีกทั้ง " บุคคลใดปลูกเลี้ยง ปล่อยให้มีขึ้น หรือทิ้งลงแม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง มีความผิด " ส่วนวิธีการกำจัดนั้น " ให้เอาขึ้นบกตากแห้งแล้วเผาไฟ หรือใช้ยากำจัดศัตรูพืชฉีดพ่นให้ตาย "
.
ต่อมา มีเอกสารราชการของผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย รับทราบแนวทางปฏิบัติและแจ้งให้ทุกอำเภอจัดการพร้อมกับรายงานกลับมาให้ทราบด้วย ซึ่งภายในเวลาไม่ถึงครึ่งเดือน นายอำเภอคีรีมาศกับนายอำเภอบ้านด่านลานหอยรายงานว่า " ในท้องที่ของตนไม่มีผักตบชวาแต่อย่างใด " แต่ได้กำชับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองดำเนินการกวดขันเอาใจใส่สม่ำเสมอ
.
นับได้ว่าเป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่งที่ในพื้นที่ไม่มีผักตบชวา เพราะใครๆ ทราบดีว่าการกำจัดผักตบชวา ไม่ง่าย ใช้ระยะเวลาพอสมควร วัชพืชชนิดนี้ขึ้นที่ใด ลอยอยู่บริเวณไหน มักทำให้พืชเศรษฐกิจใกล้เคียงล้มตาย เรือไม่สามารถสัญจรขึ้นล่องแม่น้ำลำคลองได้
.
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้การกำจัดดังกล่าวข้างต้นจะแข็งขันเพียงใด แต่พระราชบัญญัติกำจัดผักตบชวาประกาศใช้มาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) และปี 2515 ก็ยังใช้บังคับต่อเนื่อง ย่อมแสดงให้เห็นว่า การกำจัดผักตบชวาไม่ได้ผลสม่ำเสมอ และปัจจุบันยังเป็นปัญหาระดับชาติ ซึ่งก็ไม่แน่ว่า หลักฐานจากเอกสารจดหมายเหตุในอนาคตอาจมีการกล่าวถึง " ผักที่ไม่ใช่ผัก " นี้อีกเช่นกัน
.
ผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
.
เอกสารอ้างอิง:
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสำนักงานปกครองจังหวัดสุโขทัย สท 1.2.1/85 เรื่อง การกำจัดผักตบชวา [ 18 ต.ค. - 21 พ.ย. 2515 ].
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
" ผักสามหาว " คือคำสุภาพที่ถูกบัญญัติขึ้นใช้เรียก " ผักตบชวา " พืชที่ไม่ใช่ผักสำหรับรับประทาน เติบโตได้ดีทั้งบนผิวน้ำและริมตลิ่ง ออกดอกสีม่วงสวยงาม แต่... ขยายพันธุ์ได้เองอย่างรวดเร็ว เมื่อลอยไปตามแม่น้ำลำคลองจะแพร่กระจายไปหลายพื้นที่ จึงเป็นปัญหาที่ภาครัฐกับเอกชนช่วยกันกำจัดมาโดยตลอด
.
ปี 2515 กระทรวงมหาดไทยมีหนังสือราชการแจ้งเวียนถึงผู้ว่าราชการทุกจังหวัดให้ใช้พระราชบัญญัติสำหรับกำจัดผักตบชวา พ.ศ. 2456 กำจัดให้หมดสิ้นทั้งประเทศ โดยระบุสาระสำคัญตอนหนึ่งว่า " หากผักตบชวามีขึ้นในที่ของผู้ใด ให้ถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้นั้นต้องทำลาย " อีกทั้ง " บุคคลใดปลูกเลี้ยง ปล่อยให้มีขึ้น หรือทิ้งลงแม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง มีความผิด " ส่วนวิธีการกำจัดนั้น " ให้เอาขึ้นบกตากแห้งแล้วเผาไฟ หรือใช้ยากำจัดศัตรูพืชฉีดพ่นให้ตาย "
.
ต่อมา มีเอกสารราชการของผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย รับทราบแนวทางปฏิบัติและแจ้งให้ทุกอำเภอจัดการพร้อมกับรายงานกลับมาให้ทราบด้วย ซึ่งภายในเวลาไม่ถึงครึ่งเดือน นายอำเภอคีรีมาศกับนายอำเภอบ้านด่านลานหอยรายงานว่า " ในท้องที่ของตนไม่มีผักตบชวาแต่อย่างใด " แต่ได้กำชับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองดำเนินการกวดขันเอาใจใส่สม่ำเสมอ
.
นับได้ว่าเป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่งที่ในพื้นที่ไม่มีผักตบชวา เพราะใครๆ ทราบดีว่าการกำจัดผักตบชวา ไม่ง่าย ใช้ระยะเวลาพอสมควร วัชพืชชนิดนี้ขึ้นที่ใด ลอยอยู่บริเวณไหน มักทำให้พืชเศรษฐกิจใกล้เคียงล้มตาย เรือไม่สามารถสัญจรขึ้นล่องแม่น้ำลำคลองได้
.
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้การกำจัดดังกล่าวข้างต้นจะแข็งขันเพียงใด แต่พระราชบัญญัติกำจัดผักตบชวาประกาศใช้มาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) และปี 2515 ก็ยังใช้บังคับต่อเนื่อง ย่อมแสดงให้เห็นว่า การกำจัดผักตบชวาไม่ได้ผลสม่ำเสมอ และปัจจุบันยังเป็นปัญหาระดับชาติ ซึ่งก็ไม่แน่ว่า หลักฐานจากเอกสารจดหมายเหตุในอนาคตอาจมีการกล่าวถึง " ผักที่ไม่ใช่ผัก " นี้อีกเช่นกัน
.
ผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
.
เอกสารอ้างอิง:
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสำนักงานปกครองจังหวัดสุโขทัย สท 1.2.1/85 เรื่อง การกำจัดผักตบชวา [ 18 ต.ค. - 21 พ.ย. 2515 ].
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
(จำนวนผู้เข้าชม 1488 ครั้ง)