เข้าป่าหาหมอน
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : เข้าป่าหาหมอน --
ปี 2512 คนไทยหาหมอนได้ในป่า เป็นหมอนมีค่าที่ใช้เวลาเติบโต ตัดแบ่ง เรียงไว้ และขนย้าย
หมอนดังกล่าวนี้คือ " หมอนไม้ " โดยเฉพาะไม้สำคัญ เช่น ไม่สัก มะค่า ประดู่ หรือกระยาเลย ฯลฯ ของป่าน้ำแหง - น้ำสา จังหวัดน่าน ซึ่งเจ้าหน้าที่ป่าไม้ได้ตรวจสอบ และผู้รับสัมปทานขณะนั้นขออนุญาตชักลากออกมา
จากเอกสารจดหมายเหตุเรื่องสัญญาจ้างทำและขนส่งไม้สักสัมปทานป่าน้ำแหง - น้ำสา ปรากฏแผนที่สังเขปขนาดมาตราส่วน 1 : 25,000 กำหนดจุด " หมอนไม้ " และ " ทางลากขน " ไว้ ถ้าสังเกตจะพบถนน ที่สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท (ร.พ.ช.) ตัดผ่าน แต่เส้นทางลากขนหมอนไม้สัมปทานถูกสร้างต่างหาก เพื่อเชื่อมต่อจุดรวมหมอนไม้และทิศทางที่จะไปเด่นชัย - แพร่อีกทอดหนึ่ง
นอกจากนี้ ยังเห็นเส้นประแนวอาณาเขตตอนไม้คนละเส้นกับแนวอาณาเขตป่า สำหรับแบ่งพื้นที่สัมปทานออกเป็นแปลง ลดการทับซ้อนการสัมปทานหรือห้ามบุกรุกพื้นที่ข้างเคียงจนกระทั่ง " พันธุ์ไม้สูญไป " ซึ่งแน่นอนว่า พื้นที่ที่ไม่เกี่ยวข้องจะเกิดความอุดมสมบูรณ์ ยังมีลำห้วยต่างๆ เช่น ห้วยลึก ห้วยผัก ห้วยทราย ห้วยเตาปูน ห้วยต้นยา และห้วยตีนเป็ด ฯลฯ ไหลผ่าน พื้นที่สีขาวบนแผนที่คงเป็นป่าเขียวขจีแน่นขนัด ฉะนั้น การอนุญาตให้สัมปทานจึงไม่ใช่การเปิดผืนป่าทั้งหมด น่าสนใจว่า แผนที่สังเขปต่อจากแผ่นที่นำเสนอนี้ ยังเป็นป่าตามธรรมชาติหรือไม่ ?
อย่างไรก็ดี การลากขนขอนไม้ในขณะนั้น ยังไม่แสดงเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ร่วมด้วย จึงได้แต่สันนิษฐานว่า น่าจะได้รับการเอาใจใส่เฉกเช่นปัจจุบัน
สำหรับตอนต่อไป เราจะตามเจ้าหน้าที่ป่าไม้ไปสำรวจผืนป่า " แปลงที่ 10 " แปลงที่เห็นในมุมซ้ายด้านบนของแผนที่ มาดูกันว่า เราพบอะไร ???
ผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
เอกสารอ้างอิง :
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา นน 1.6.3.5/14 เอกสารสำนักงานป่าไม้จังหวัดน่าน เรื่อง สัญญาจ้างทำและขนไม้สัมปทานป่าน้ำแหง - น้ำสา ภาค 4 แปลง 1 [ 6 - 25 ก.พ. 2512 ].
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
ปี 2512 คนไทยหาหมอนได้ในป่า เป็นหมอนมีค่าที่ใช้เวลาเติบโต ตัดแบ่ง เรียงไว้ และขนย้าย
หมอนดังกล่าวนี้คือ " หมอนไม้ " โดยเฉพาะไม้สำคัญ เช่น ไม่สัก มะค่า ประดู่ หรือกระยาเลย ฯลฯ ของป่าน้ำแหง - น้ำสา จังหวัดน่าน ซึ่งเจ้าหน้าที่ป่าไม้ได้ตรวจสอบ และผู้รับสัมปทานขณะนั้นขออนุญาตชักลากออกมา
จากเอกสารจดหมายเหตุเรื่องสัญญาจ้างทำและขนส่งไม้สักสัมปทานป่าน้ำแหง - น้ำสา ปรากฏแผนที่สังเขปขนาดมาตราส่วน 1 : 25,000 กำหนดจุด " หมอนไม้ " และ " ทางลากขน " ไว้ ถ้าสังเกตจะพบถนน ที่สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท (ร.พ.ช.) ตัดผ่าน แต่เส้นทางลากขนหมอนไม้สัมปทานถูกสร้างต่างหาก เพื่อเชื่อมต่อจุดรวมหมอนไม้และทิศทางที่จะไปเด่นชัย - แพร่อีกทอดหนึ่ง
นอกจากนี้ ยังเห็นเส้นประแนวอาณาเขตตอนไม้คนละเส้นกับแนวอาณาเขตป่า สำหรับแบ่งพื้นที่สัมปทานออกเป็นแปลง ลดการทับซ้อนการสัมปทานหรือห้ามบุกรุกพื้นที่ข้างเคียงจนกระทั่ง " พันธุ์ไม้สูญไป " ซึ่งแน่นอนว่า พื้นที่ที่ไม่เกี่ยวข้องจะเกิดความอุดมสมบูรณ์ ยังมีลำห้วยต่างๆ เช่น ห้วยลึก ห้วยผัก ห้วยทราย ห้วยเตาปูน ห้วยต้นยา และห้วยตีนเป็ด ฯลฯ ไหลผ่าน พื้นที่สีขาวบนแผนที่คงเป็นป่าเขียวขจีแน่นขนัด ฉะนั้น การอนุญาตให้สัมปทานจึงไม่ใช่การเปิดผืนป่าทั้งหมด น่าสนใจว่า แผนที่สังเขปต่อจากแผ่นที่นำเสนอนี้ ยังเป็นป่าตามธรรมชาติหรือไม่ ?
อย่างไรก็ดี การลากขนขอนไม้ในขณะนั้น ยังไม่แสดงเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ร่วมด้วย จึงได้แต่สันนิษฐานว่า น่าจะได้รับการเอาใจใส่เฉกเช่นปัจจุบัน
สำหรับตอนต่อไป เราจะตามเจ้าหน้าที่ป่าไม้ไปสำรวจผืนป่า " แปลงที่ 10 " แปลงที่เห็นในมุมซ้ายด้านบนของแผนที่ มาดูกันว่า เราพบอะไร ???
ผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
เอกสารอ้างอิง :
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา นน 1.6.3.5/14 เอกสารสำนักงานป่าไม้จังหวัดน่าน เรื่อง สัญญาจ้างทำและขนไม้สัมปทานป่าน้ำแหง - น้ำสา ภาค 4 แปลง 1 [ 6 - 25 ก.พ. 2512 ].
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
(จำนวนผู้เข้าชม 440 ครั้ง)