อุทาหรณ์สอนใจชาย
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : อุทาหรณ์สอนใจชาย --
บทบาทของหนังสือพิมพ์ในอดีต นอกเหนือจากการนำเสนอข่าว วิพากษ์วิจารณ์ และให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนแล้ว ยังรวมไปถึงการเตือนบรรดาผู้อ่านให้ระมัดระวังภัยจากมิจฉาชีพที่อาจทำให้สูญเสียทรัพย์สินของมีค่าของตนได้ มิจฉาชีพในสมัยก่อนมีหลายรูปแบบ รูปแบบหนึ่งก็คือ มิจฉาชีพในคราบของหญิงสาวที่ทำให้ชายอกสามศอกที่หลงเสน่ห์ต้องมาเสียใจในภายหลัง ดังตัวอย่างบทความข่าวที่ปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุชุดกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย
.
บทความข่าวชิ้นหนึ่งเรื่อง “อยากหนุ่มจงระวังสาว” ในหนังสือพิมพ์ศรีกรุง ฉบับวันที่ 25 มกราคม 2472 (นับตามปฏิทินปัจจุบันคือ พ.ศ. 2473) เล่าเรื่องราวของชายสองคนพี่น้องที่โดยสารรถไฟจากสถานีอุตรดิตถ์จะมากรุงเทพฯ พอถึงสถานีปากน้ำโพ ทั้งคู่ได้พบกับหญิงสาวสวยสองราย ฝ่ายชายสอบถามทั้งคู่ได้ความว่าจะลงไปกรุงเทพฯ เช่นกัน จึงชวนฝ่ายหญิงมานั่งด้วยกันเผื่อว่าถ้าเกิดเรื่องอะไรขึ้นก็จะได้ช่วยเหลือกัน จากนั้นทั้ง 4 คนได้สนทนากันจนเป็นที่พอใจ เมื่อขบวนรถไฟมาหยุดที่สถานีบ้านภาชี หญิงสาวขอลงไปซื้อของรับประทาน และบอกฝากสัมภาระไว้ แต่ชายหนุ่มอาสาว่าจะเป็นผู้ลงไปซื้อให้แทน ฝ่ายหญิงเห็นเป็นโอกาสเหมาะจึงฉวยเอาเสื้อนอกแพรของฝ่ายชายลงจากรถแล้วหลบหนีไป ชายทั้งสองกว่าจะทราบเรื่องก็ไล่ติดตามไม่ทันเพราะรถออกเสียแล้ว สุดท้ายทั้งคู่จึงมาถึงกรุงเทพฯ โดยเหลือแค่ผ้าม่วงที่นุ่งอยู่คนละผืนและหมวกคนละใบเท่านั้น ส่วนของมึค่าเช่น หีบใส่บุหรี่ และเงินรวมกว่า 30 บาท ได้อันตรธานไปพร้อมกับเสื้อนอกด้วยฝีมือของหญิงสาวที่พวกเขาเอาอกเอาใจนั่นเอง
.
เรื่องนี้จึงนับเป็นอุทาหรณ์อย่างยิ่งสำหรับผู้ชายที่จะต้องระวังมิจฉาชีพในรูปแบบนี้ให้มากๆ ซึ่งในตอนท้ายของบทความทำให้เราทราบว่าผู้หญิงที่หากินในลักษณะนี้มีปรากฏอยู่เนืองๆ แล้วตั้งแต่สมัยนั้น และเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่บ้านเมืองจะต้องตรวจตราจับกุมไม่ให้มิจฉาชีพเหล่านี้ย่ามใจกระทำผิดต่อไปได้
.
ผู้เขียน: นายธัชพงศ์ พัตรสงวน (นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
เอกสารอ้างอิง:
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย ร.7 ม 26.5 ก/35 เรื่อง จังหวัดอุตรดิตถ์ [ 12 มิ.ย. 2471 – 7 มี.ค. 2472 ].
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
บทบาทของหนังสือพิมพ์ในอดีต นอกเหนือจากการนำเสนอข่าว วิพากษ์วิจารณ์ และให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนแล้ว ยังรวมไปถึงการเตือนบรรดาผู้อ่านให้ระมัดระวังภัยจากมิจฉาชีพที่อาจทำให้สูญเสียทรัพย์สินของมีค่าของตนได้ มิจฉาชีพในสมัยก่อนมีหลายรูปแบบ รูปแบบหนึ่งก็คือ มิจฉาชีพในคราบของหญิงสาวที่ทำให้ชายอกสามศอกที่หลงเสน่ห์ต้องมาเสียใจในภายหลัง ดังตัวอย่างบทความข่าวที่ปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุชุดกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย
.
บทความข่าวชิ้นหนึ่งเรื่อง “อยากหนุ่มจงระวังสาว” ในหนังสือพิมพ์ศรีกรุง ฉบับวันที่ 25 มกราคม 2472 (นับตามปฏิทินปัจจุบันคือ พ.ศ. 2473) เล่าเรื่องราวของชายสองคนพี่น้องที่โดยสารรถไฟจากสถานีอุตรดิตถ์จะมากรุงเทพฯ พอถึงสถานีปากน้ำโพ ทั้งคู่ได้พบกับหญิงสาวสวยสองราย ฝ่ายชายสอบถามทั้งคู่ได้ความว่าจะลงไปกรุงเทพฯ เช่นกัน จึงชวนฝ่ายหญิงมานั่งด้วยกันเผื่อว่าถ้าเกิดเรื่องอะไรขึ้นก็จะได้ช่วยเหลือกัน จากนั้นทั้ง 4 คนได้สนทนากันจนเป็นที่พอใจ เมื่อขบวนรถไฟมาหยุดที่สถานีบ้านภาชี หญิงสาวขอลงไปซื้อของรับประทาน และบอกฝากสัมภาระไว้ แต่ชายหนุ่มอาสาว่าจะเป็นผู้ลงไปซื้อให้แทน ฝ่ายหญิงเห็นเป็นโอกาสเหมาะจึงฉวยเอาเสื้อนอกแพรของฝ่ายชายลงจากรถแล้วหลบหนีไป ชายทั้งสองกว่าจะทราบเรื่องก็ไล่ติดตามไม่ทันเพราะรถออกเสียแล้ว สุดท้ายทั้งคู่จึงมาถึงกรุงเทพฯ โดยเหลือแค่ผ้าม่วงที่นุ่งอยู่คนละผืนและหมวกคนละใบเท่านั้น ส่วนของมึค่าเช่น หีบใส่บุหรี่ และเงินรวมกว่า 30 บาท ได้อันตรธานไปพร้อมกับเสื้อนอกด้วยฝีมือของหญิงสาวที่พวกเขาเอาอกเอาใจนั่นเอง
.
เรื่องนี้จึงนับเป็นอุทาหรณ์อย่างยิ่งสำหรับผู้ชายที่จะต้องระวังมิจฉาชีพในรูปแบบนี้ให้มากๆ ซึ่งในตอนท้ายของบทความทำให้เราทราบว่าผู้หญิงที่หากินในลักษณะนี้มีปรากฏอยู่เนืองๆ แล้วตั้งแต่สมัยนั้น และเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่บ้านเมืองจะต้องตรวจตราจับกุมไม่ให้มิจฉาชีพเหล่านี้ย่ามใจกระทำผิดต่อไปได้
.
ผู้เขียน: นายธัชพงศ์ พัตรสงวน (นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
เอกสารอ้างอิง:
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย ร.7 ม 26.5 ก/35 เรื่อง จังหวัดอุตรดิตถ์ [ 12 มิ.ย. 2471 – 7 มี.ค. 2472 ].
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
(จำนวนผู้เข้าชม 457 ครั้ง)