ทำนาที่ดอกคำใต้
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : ทำนาที่ดอกคำใต้ --
กลางปี ๒๕๓๗ จังหวัดพะเยามีคำสั่งให้แต่ละอำเภอในพื้นที่ รายงานสถานการณ์ทำนาทุกสัปดาห์ โดยสำรวจทั้งแปลงปลูกข้าวเจ้าและข้าวเหนียวพร้อมกัน
เอกสารจดหมายเหตุของฝ่ายบริหาร สำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา รายงานสถานการณ์ดังกล่าวของอำเภอดอกคำใต้ จำนวน ๒ สัปดาห์ ซึ่งสัปดาห์แรกเกษตรอำเภอรายงานเมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๓๗ สำรวจครอบคลุม ๑๒ ตำบล รวมพื้นที่ ๑๒๖,๔๔๘ ไร่ พบการปักดำข้าวเหนียวแล้ว ๒๘,๓๖๔ ไร่ และปลูกข้าวเจ้า ๑๓,๓๔๓ ไร่ ไม่มีพื้นที่เสียหายเพราะขาดแคลนน้ำแต่อย่างใด
ต่อมา วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๗ ปลัดอำเภอฝ่ายปกครองและพัฒนา อำเภอดอกคำใต้ มีหนังสือราชการรายงานสถานการณ์ทำนาว่า เกษตรกรใน ๑๒ ตำบลเดิมปักดำข้าวเหนียวเพิ่มเป็น ๕๙,๖๖๒ ไร่ และปลูกข้าวเจ้าอีก ๒๘,๓๖๐ ไร่ ไม่มีพื้นที่เสียหายจากการขาดแคลนน้ำเช่นเคย
จากรายงานสถานการณ์ทำนานี้ แสดงให้ทราบวัตถุประสงค์ของจังหวัดพะเยาหลายประการ ที่สำคัญได้แก่
๑. เมื่อเข้าสู่กลางปีเป็นฤดูฝนแล้ว เกษตรกรสามารถเพาะปลูกได้ผลมากน้อยเพียงใด มีอุปสรรคขัดขวางหรือไม่ ?
๒. จังหวัดสามารถนำรายงานดังกล่าวมาวิเคราะห์เศรษฐกิจในอำเภอ จังหวัด และภูมิภาคต่อไปได้ว่า ปลายปีจะมีผลผลิตเท่าไหร่ ราคาซื้อ-ขายของตลาดจะมากน้อยแค่ไหน และภาพรวมรายได้ของเกษตรกรจะเป็นอย่างไร ?
๓. เกษตรจังหวัดและเกษตรอำเภอนำข้อมูลการเพาะปลูกไปคำนวณการใช้พื้นที่การเกษตรให้ได้ผลคุ้มค่า อาจเปรียบเทียบการทำนาของปีที่ผ่านมา หรือวางแผนโครงการกระตุ้น ช่วยเหลือ เกษตรกรในฤดูกาลถัดไปได้
สรุปว่า นัยของจังหวัดต้องการก็คือ " ลดความเสี่ยง " หรือไม่ให้มีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้นกับเกษตรกร แม้แต่วิกฤตขาดแคลนสินค้าเกษตร โดยเฉพาะข้าวอาหารหลักของตลาดนั่นเอง
ผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
เอกสารอ้างอิง :
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา พย 1.13.1/41 เรื่อง รายงานสถานการณ์การทำนาปี 2537/2538 [ 15 - 28 ก.ค. 2537 ]
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
กลางปี ๒๕๓๗ จังหวัดพะเยามีคำสั่งให้แต่ละอำเภอในพื้นที่ รายงานสถานการณ์ทำนาทุกสัปดาห์ โดยสำรวจทั้งแปลงปลูกข้าวเจ้าและข้าวเหนียวพร้อมกัน
เอกสารจดหมายเหตุของฝ่ายบริหาร สำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา รายงานสถานการณ์ดังกล่าวของอำเภอดอกคำใต้ จำนวน ๒ สัปดาห์ ซึ่งสัปดาห์แรกเกษตรอำเภอรายงานเมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๓๗ สำรวจครอบคลุม ๑๒ ตำบล รวมพื้นที่ ๑๒๖,๔๔๘ ไร่ พบการปักดำข้าวเหนียวแล้ว ๒๘,๓๖๔ ไร่ และปลูกข้าวเจ้า ๑๓,๓๔๓ ไร่ ไม่มีพื้นที่เสียหายเพราะขาดแคลนน้ำแต่อย่างใด
ต่อมา วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๗ ปลัดอำเภอฝ่ายปกครองและพัฒนา อำเภอดอกคำใต้ มีหนังสือราชการรายงานสถานการณ์ทำนาว่า เกษตรกรใน ๑๒ ตำบลเดิมปักดำข้าวเหนียวเพิ่มเป็น ๕๙,๖๖๒ ไร่ และปลูกข้าวเจ้าอีก ๒๘,๓๖๐ ไร่ ไม่มีพื้นที่เสียหายจากการขาดแคลนน้ำเช่นเคย
จากรายงานสถานการณ์ทำนานี้ แสดงให้ทราบวัตถุประสงค์ของจังหวัดพะเยาหลายประการ ที่สำคัญได้แก่
๑. เมื่อเข้าสู่กลางปีเป็นฤดูฝนแล้ว เกษตรกรสามารถเพาะปลูกได้ผลมากน้อยเพียงใด มีอุปสรรคขัดขวางหรือไม่ ?
๒. จังหวัดสามารถนำรายงานดังกล่าวมาวิเคราะห์เศรษฐกิจในอำเภอ จังหวัด และภูมิภาคต่อไปได้ว่า ปลายปีจะมีผลผลิตเท่าไหร่ ราคาซื้อ-ขายของตลาดจะมากน้อยแค่ไหน และภาพรวมรายได้ของเกษตรกรจะเป็นอย่างไร ?
๓. เกษตรจังหวัดและเกษตรอำเภอนำข้อมูลการเพาะปลูกไปคำนวณการใช้พื้นที่การเกษตรให้ได้ผลคุ้มค่า อาจเปรียบเทียบการทำนาของปีที่ผ่านมา หรือวางแผนโครงการกระตุ้น ช่วยเหลือ เกษตรกรในฤดูกาลถัดไปได้
สรุปว่า นัยของจังหวัดต้องการก็คือ " ลดความเสี่ยง " หรือไม่ให้มีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้นกับเกษตรกร แม้แต่วิกฤตขาดแคลนสินค้าเกษตร โดยเฉพาะข้าวอาหารหลักของตลาดนั่นเอง
ผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
เอกสารอ้างอิง :
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา พย 1.13.1/41 เรื่อง รายงานสถานการณ์การทำนาปี 2537/2538 [ 15 - 28 ก.ค. 2537 ]
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
(จำนวนผู้เข้าชม 312 ครั้ง)