แผนที่ตั้งสถานีประมงย่อยหนองหลวง
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : แผนที่ตั้งสถานีประมงย่อยหนองหลวง --
วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 เจ้าหน้าที่กรมประมงเขียนแผนที่ตั้งสถานีประมงย่อย หนองหลวง จังหวัดเชียงราย ขนาดมาตราส่วน 1 : 1,000 ขึ้น นี่คือจุดเริ่มต้นการจัดตั้งสถานีประมงย่อยดังกล่าว
1 ปีก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่งานบูรณะแหล่งน้ำและก่อสร้าง กองประมงน้ำจืด สำรวจและออกแบบ การฝังท่อระบายน้ำกับเสริมคันดินตามแนวเขตหนองหลวงไว้ นอกจากเป็นงานสร้างความแข็งแรงให้กับ แหล่งน้ำแล้ว ยังเสมือนเตรียมการก่อนจัดตั้งสถานีประมงย่อย ณ ที่แห่งนี้
แผนที่ตั้งสถานีประมงย่อย หนองหลวง ที่นำมาเสนอ แสดงให้ทราบว่า กำหนดการก่อสร้างให้ติดพื้นที่หนองหลวง มีเพียงถนนลูกรังขั้นเท่านั้น แล้วที่สำคัญแผนที่ฉายออกมาว่า เป็นการกะเกณฑ์พื้นที่ไว้ "ใหญ่มาก"
ใหญ่อย่างไร ???
พื้นที่ด้านซ้ายจรดหนองหลวง มีผืนนาข้าวต่อเนื่อง ด้านขวาจรดลำห้วยสกึ๊นและนาข้าวเช่นกัน ภายในบริเวณมีเนินดินร่วมกับที่ว่าง ที่ลุ่ม กล่าวง่ายๆว่า เป็นพื้นที่ "ชุ่มน้ำ" คล้ายกับบริเวณสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยานั่นเอง
ส่วนแนวลำห้วยสกึ๊นตอนต้น (ขวามือด้านล่าง) มีการสร้างฝายน้ำล้นไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นระบบชลประทานร่วมกับงานประมง ส่งเสริมการประกอบอาชีพของเกษตรกร
หากฤดูฝนหรือช่วงมรสุมมาเยือน บริเวณดังกล่าวก็กลายเป็นท้องทุ่งผืนใหญ่ หนองน้ำขยายเป็น "บึง" ธรรมชาติดั่งกว๊านได้ง่ายๆ
อย่างไรก็ตาม เมื่อเจ้าหน้าที่เขียนแผนที่ ได้ระบุค่าระดับของพื้นที่ร่วมด้วย หมายถึงค่าระดับความสูง-ต่ำของที่ดินที่เห็นเป็นตารางมีเลขกำกับบวก-ลบ ตามมุมช่องไปตลอด
หลังจากเขียนเสร็จ เจ้าหน้าที่น่าจะนำเข้าที่ประชุมวางแผนจัดตั้งหรือก่อสร้างสถานีประมงต่อไป ความสำคัญจึงอยู่ที่เป็นข้อมูลชั้นต้นเชิงประจักษ์ (Primary Source) อีกทั้งเผยภาพเบื้องบนลงสู่เบื้องล่าง (Bird Eye View) ซึ่งทำออกมาได้ครบถ้วน. . . ครบถ้วนในขณะ 45 ปีที่แล้วไม่มีโดรน (Drone) ใช้แต่อย่างใด.
ผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
เอกสารอ้างอิง :
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา ผจ (2) กษ 1/3 แผนที่ตั้งสถานีประมงย่อย หนองหลวง จังหวัดเชียงราย [ 30 พ.ย. 2520 ]
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 เจ้าหน้าที่กรมประมงเขียนแผนที่ตั้งสถานีประมงย่อย หนองหลวง จังหวัดเชียงราย ขนาดมาตราส่วน 1 : 1,000 ขึ้น นี่คือจุดเริ่มต้นการจัดตั้งสถานีประมงย่อยดังกล่าว
1 ปีก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่งานบูรณะแหล่งน้ำและก่อสร้าง กองประมงน้ำจืด สำรวจและออกแบบ การฝังท่อระบายน้ำกับเสริมคันดินตามแนวเขตหนองหลวงไว้ นอกจากเป็นงานสร้างความแข็งแรงให้กับ แหล่งน้ำแล้ว ยังเสมือนเตรียมการก่อนจัดตั้งสถานีประมงย่อย ณ ที่แห่งนี้
แผนที่ตั้งสถานีประมงย่อย หนองหลวง ที่นำมาเสนอ แสดงให้ทราบว่า กำหนดการก่อสร้างให้ติดพื้นที่หนองหลวง มีเพียงถนนลูกรังขั้นเท่านั้น แล้วที่สำคัญแผนที่ฉายออกมาว่า เป็นการกะเกณฑ์พื้นที่ไว้ "ใหญ่มาก"
ใหญ่อย่างไร ???
พื้นที่ด้านซ้ายจรดหนองหลวง มีผืนนาข้าวต่อเนื่อง ด้านขวาจรดลำห้วยสกึ๊นและนาข้าวเช่นกัน ภายในบริเวณมีเนินดินร่วมกับที่ว่าง ที่ลุ่ม กล่าวง่ายๆว่า เป็นพื้นที่ "ชุ่มน้ำ" คล้ายกับบริเวณสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยานั่นเอง
ส่วนแนวลำห้วยสกึ๊นตอนต้น (ขวามือด้านล่าง) มีการสร้างฝายน้ำล้นไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นระบบชลประทานร่วมกับงานประมง ส่งเสริมการประกอบอาชีพของเกษตรกร
หากฤดูฝนหรือช่วงมรสุมมาเยือน บริเวณดังกล่าวก็กลายเป็นท้องทุ่งผืนใหญ่ หนองน้ำขยายเป็น "บึง" ธรรมชาติดั่งกว๊านได้ง่ายๆ
อย่างไรก็ตาม เมื่อเจ้าหน้าที่เขียนแผนที่ ได้ระบุค่าระดับของพื้นที่ร่วมด้วย หมายถึงค่าระดับความสูง-ต่ำของที่ดินที่เห็นเป็นตารางมีเลขกำกับบวก-ลบ ตามมุมช่องไปตลอด
หลังจากเขียนเสร็จ เจ้าหน้าที่น่าจะนำเข้าที่ประชุมวางแผนจัดตั้งหรือก่อสร้างสถานีประมงต่อไป ความสำคัญจึงอยู่ที่เป็นข้อมูลชั้นต้นเชิงประจักษ์ (Primary Source) อีกทั้งเผยภาพเบื้องบนลงสู่เบื้องล่าง (Bird Eye View) ซึ่งทำออกมาได้ครบถ้วน. . . ครบถ้วนในขณะ 45 ปีที่แล้วไม่มีโดรน (Drone) ใช้แต่อย่างใด.
ผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
เอกสารอ้างอิง :
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา ผจ (2) กษ 1/3 แผนที่ตั้งสถานีประมงย่อย หนองหลวง จังหวัดเชียงราย [ 30 พ.ย. 2520 ]
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
(จำนวนผู้เข้าชม 290 ครั้ง)