เรื่องเล่าจากเอกสารรับมอบ ตอน บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง
-- องค์ความรู้ เรื่อง เรื่องเล่าจากเอกสารรับมอบ ตอน บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง --
ทุกปีเมื่อถึงวันที่ 5 มีนาคม ที่ลานพ่อขุนงำเมือง ริมกว๊านพะเยาจะเต็มไปด้วยผู้คนที่มาจากทุกอำเภอในจังหวัดพะเยา จากหน่วยงานสถานศึกษา พ่อค้า คหบดี ต่างร่วมทำพิธี “บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง”
จากบันทึกเอกสารการบวงสรวงวิญญาณพระมหากษัตริย์เมืองพะเยาและศาลหลักเมือง จัดทำพิธีบวงสรวง จะเกี่ยวข้องกับการจัดเตรียมสถานที่ เครื่องประกอบตกแต่ง เครื่องบวงสรวงต่างๆ และพิธีกรรม เป็นลักษณะเดียวกับการบวงสรวงเทพยดา เพราะถือว่าพ่อขุนงำเมืองเป็นบุคคลประวัติศาสตร์ที่สร้างเมืองพะเยาให้รุ่งเรืองทำคุณประโยชน์ต่อไพร่ฟ้าเจริญถาวร เป็นที่สักการะยกย่อง โดยกล่าวถึงรายละเอียดการจัดบวงสรวงดังนี้
1. การจัดสถานที่: จะต้องอยู่หน้าสิ่งที่จะบวงสรวง โดยทำรั้วเรียกว่าราชวัตรล้อมรอบมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 3x4 เมตร รั้วราชวัตรทุกด้านมีประตูตรงกลาง ภายในตั้งโต๊ะปูผ้าขาว เพื่อวางเครื่องบวงสรวง
2. เครื่องประกอบในการตกแต่งราชวัตร: ตกแต่งด้วยช่อ (ธงกระดาษลายฉลุ) สีต่างๆ และตุง ทั้ง 4 มุม ประกอบด้วยฉัตรเงิน หรือฉัตรทอง 9 ชั้น (สำหรับล้านนาใช้ 9 ชั้น ภาพอื่นอาจจะเป็น 7 หรือ 5 ชั้น แล้วแต่ความนิยม) มุมละ 1 องค์ หน่อกล้วย หน่ออ้อย ต้นกุ๊ก ประดับทุกด้าน มุมโต๊ะด้านใดด้านหนึ่งสัปทนไว้ 1 คัน
3. เครื่องบวงสรวง 1 ชุด ประกอบด้วย
* บายศรีต้น 1 คู่
* บายศรีปากชาม 2 ชุด
* แจกันประดับดอกไม้ 2 แจกัน
* เชิงเทียนติดเทียมเงิน 4 เล่ม เทียมทอง 5 เล่ม
* กระถางปักธูปไว้ 9 ดอก
* หัวหมู 1 ชุด (หัว ขา 4 ขา หาง เครื่องใน อย่างละเล็กละน้อย) ต้มสุกแล้ว
* เป็ดพะโล้ 1 ตัว
* กุ้งต้มสุก 1 จาน
* ปูทะเลต้มสุก 1 ตัว
* ไข่ต้ม 49 ฟอง
* ขนมต้มขาว
* ขนมต้มแดง
* ฟักทองแกงบวช
* ผลไม้ 9 อย่าง (กล้วยน้ำว้า ส้มเขียวหวาน แตงโม สับประรด และผลไม้ตามฤดูกาล)
* อ้อยควั่น 1 จาน
* มะพร้าวอ่อน 1 ลูก
* ถั่วคั่ว 1 ถ้วย
* งาคั่ว 1 ถ้วย
* เนย 1 ถ้วย
* น้ำชา 1 ถ้วย
* นมสด 1 ถ้วย
* น้ำเย็น 1 ถ้วย
* เหล้าขาว 1 ขวด
* ข้าวเหนียว (ข้าวสุก)
* หมาก พลู บุหรี่ เมี่ยง 1 จาน
* ธูปไว้สำหรับผู้ร่วมพิธี
เครื่องบวงสรวงที่เป็นอาหารจัดใส่ขันโตก รวม 5 โตก สำหรับเครื่องบวงสรวง 1 ชุดคือ
ขันโตกที่ 1 สำหรับ หัวหมู
ขันโตกที่ 2 สำหรับ เป็ด ไก่
ขันโตกที่ 3 สำหรับ กุ้ง ปู ปลา
ขันโตกที่ 4 สำหรับ ผลไม้ 9 ชนิด
ขันโตกที่ 5 สำหรับ ไข่ต้ม
ทุกโตกประดับด้วยดอกดาวเรือง หมายถึงความเจริญรุ่งเรืองและโรยด้วยกลีบกุหลาบ ซึ่งเป็นเครื่องหมายแห่งความสดชื่นเบิกบาน
พิธีกรรม: เมื่อถึงเวลา ประธานในพิธีจุดเทียนและธูป ปู่อาจารย์หรือพรหมณาจารย์ อ่านโองการบวงสรวง โดยเริ่มจากการไหว้ครู และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ไหว้เทพยดาประจำทิศ กล่าวความเป็นมาของสิ่งที่บวงสรวง พร้อมทั้งอัญเชิญมารับเครื่องบวงสรวง และกล่าวคำบวงสรวงเป็นภาษาบาลี
ขณะที่ปู่อาจารย์กล่าวคำบวงสรวงนั้น ประธานจุดธูปปักบนเครื่องสังเวยจนครบทุกอย่าง ปู่อาจารย์กล่าวคำขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่บวงสรวง ให้มาปกป้องคุ้มครองผู้ที่มาและประชาชนที่เกี่ยวข้อง
เครื่องบวงสรวงต่างๆ ตั้งไว้จนกว่าธูปจะหมดดอกแล้วปู่อาจารย์จะกล่าวคำลาเครื่องสังเวย มีธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันมาว่า จะต้องแบ่งเครื่องสังเวยสิ่งละเล็กละน้อยทุกอย่างใส่กระทงใบตองนำไปวางไว้มุมหนึ่งนอกบริเวณเพื่อแบ่งปันให้แก่สัมภเวสีทั้งหลาย
เอกสารบันทึกการบวงสรวงพ่อขุนงำเมืองที่หยิบยกมากล่าวนั้น เป็นบันทึกพิธีบวงสรวงพ่อขุนงำเมือง ประจำปี 2540 เพื่อเฉลิมฉลอง 900 ปี อาณาจักรภูกามยาว 20 ปี จังหวัดพะเยา สำหรับการบูชา 900 ปี ภูกามยาว 20 ปี จังหวัดพะเยา จัดเครื่องบวงสรวง 3 ชุด สำหรับบูชาเทวดาประจำเมือง บูรพกษัตริย์ และเจ้าผู้ครองนคร
ประเภทขนมหวาน : ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เม็ดขนุน ขนมชั้น ขนมถ้วยฟู ซาลาเปา ขนมต้มขาว ขนมต้มแดง(ขาดไม่ได้) สังขยาฟักทอง
ประเภทปลีกย่อย: งาขาว งาดำ ถั่วเหลือง นมเนย น้ำเปล่า (แก้วทั้ง 5 ใบ) เหล้า (บวงสรวงเวลาเช้าถึงเที่ยงวัน) เผือก-มัน บุหรี่ทางเหนือ เมี่ยง หมาก-พลู บายศรีปากชามใส่ไข่ต้ม แจกันดอกไม้ขาว 1 คู่ ข้าวตอกดอกไม้
ผู้เรียบเรียง: นางสาวอรทัย ปานจันทร์ ( นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา )
ข้อมูลและเอกสารอ้างอิง:
1. เอกสารประกอบรายงาน พิธีบวงสรวงอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง, นายนพดล ภู่ชัย, 2540
2. เอกสารทำบุญเมืองบวงสรวงวิญญาณพระมหากษัตริย์เมืองพะเยาและศาลหลักเมือง สำนักงานสภาวัฒนธรรมจังหวัดพะเยา, 2540
ภาพถ่าย:
1. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. ภ พย 6 พิธีบวงสรวงพ่อขุนงำเมืองประจำปี 2540 ณ ลานอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา, 2540
2. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. ภ พย 66 พิธีบวงสรวงพ่อขุนงำเมืองประจำปี 2543 ณ ลานอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา, 2543
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
ทุกปีเมื่อถึงวันที่ 5 มีนาคม ที่ลานพ่อขุนงำเมือง ริมกว๊านพะเยาจะเต็มไปด้วยผู้คนที่มาจากทุกอำเภอในจังหวัดพะเยา จากหน่วยงานสถานศึกษา พ่อค้า คหบดี ต่างร่วมทำพิธี “บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง”
จากบันทึกเอกสารการบวงสรวงวิญญาณพระมหากษัตริย์เมืองพะเยาและศาลหลักเมือง จัดทำพิธีบวงสรวง จะเกี่ยวข้องกับการจัดเตรียมสถานที่ เครื่องประกอบตกแต่ง เครื่องบวงสรวงต่างๆ และพิธีกรรม เป็นลักษณะเดียวกับการบวงสรวงเทพยดา เพราะถือว่าพ่อขุนงำเมืองเป็นบุคคลประวัติศาสตร์ที่สร้างเมืองพะเยาให้รุ่งเรืองทำคุณประโยชน์ต่อไพร่ฟ้าเจริญถาวร เป็นที่สักการะยกย่อง โดยกล่าวถึงรายละเอียดการจัดบวงสรวงดังนี้
1. การจัดสถานที่: จะต้องอยู่หน้าสิ่งที่จะบวงสรวง โดยทำรั้วเรียกว่าราชวัตรล้อมรอบมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 3x4 เมตร รั้วราชวัตรทุกด้านมีประตูตรงกลาง ภายในตั้งโต๊ะปูผ้าขาว เพื่อวางเครื่องบวงสรวง
2. เครื่องประกอบในการตกแต่งราชวัตร: ตกแต่งด้วยช่อ (ธงกระดาษลายฉลุ) สีต่างๆ และตุง ทั้ง 4 มุม ประกอบด้วยฉัตรเงิน หรือฉัตรทอง 9 ชั้น (สำหรับล้านนาใช้ 9 ชั้น ภาพอื่นอาจจะเป็น 7 หรือ 5 ชั้น แล้วแต่ความนิยม) มุมละ 1 องค์ หน่อกล้วย หน่ออ้อย ต้นกุ๊ก ประดับทุกด้าน มุมโต๊ะด้านใดด้านหนึ่งสัปทนไว้ 1 คัน
3. เครื่องบวงสรวง 1 ชุด ประกอบด้วย
* บายศรีต้น 1 คู่
* บายศรีปากชาม 2 ชุด
* แจกันประดับดอกไม้ 2 แจกัน
* เชิงเทียนติดเทียมเงิน 4 เล่ม เทียมทอง 5 เล่ม
* กระถางปักธูปไว้ 9 ดอก
* หัวหมู 1 ชุด (หัว ขา 4 ขา หาง เครื่องใน อย่างละเล็กละน้อย) ต้มสุกแล้ว
* เป็ดพะโล้ 1 ตัว
* กุ้งต้มสุก 1 จาน
* ปูทะเลต้มสุก 1 ตัว
* ไข่ต้ม 49 ฟอง
* ขนมต้มขาว
* ขนมต้มแดง
* ฟักทองแกงบวช
* ผลไม้ 9 อย่าง (กล้วยน้ำว้า ส้มเขียวหวาน แตงโม สับประรด และผลไม้ตามฤดูกาล)
* อ้อยควั่น 1 จาน
* มะพร้าวอ่อน 1 ลูก
* ถั่วคั่ว 1 ถ้วย
* งาคั่ว 1 ถ้วย
* เนย 1 ถ้วย
* น้ำชา 1 ถ้วย
* นมสด 1 ถ้วย
* น้ำเย็น 1 ถ้วย
* เหล้าขาว 1 ขวด
* ข้าวเหนียว (ข้าวสุก)
* หมาก พลู บุหรี่ เมี่ยง 1 จาน
* ธูปไว้สำหรับผู้ร่วมพิธี
เครื่องบวงสรวงที่เป็นอาหารจัดใส่ขันโตก รวม 5 โตก สำหรับเครื่องบวงสรวง 1 ชุดคือ
ขันโตกที่ 1 สำหรับ หัวหมู
ขันโตกที่ 2 สำหรับ เป็ด ไก่
ขันโตกที่ 3 สำหรับ กุ้ง ปู ปลา
ขันโตกที่ 4 สำหรับ ผลไม้ 9 ชนิด
ขันโตกที่ 5 สำหรับ ไข่ต้ม
ทุกโตกประดับด้วยดอกดาวเรือง หมายถึงความเจริญรุ่งเรืองและโรยด้วยกลีบกุหลาบ ซึ่งเป็นเครื่องหมายแห่งความสดชื่นเบิกบาน
พิธีกรรม: เมื่อถึงเวลา ประธานในพิธีจุดเทียนและธูป ปู่อาจารย์หรือพรหมณาจารย์ อ่านโองการบวงสรวง โดยเริ่มจากการไหว้ครู และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ไหว้เทพยดาประจำทิศ กล่าวความเป็นมาของสิ่งที่บวงสรวง พร้อมทั้งอัญเชิญมารับเครื่องบวงสรวง และกล่าวคำบวงสรวงเป็นภาษาบาลี
ขณะที่ปู่อาจารย์กล่าวคำบวงสรวงนั้น ประธานจุดธูปปักบนเครื่องสังเวยจนครบทุกอย่าง ปู่อาจารย์กล่าวคำขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่บวงสรวง ให้มาปกป้องคุ้มครองผู้ที่มาและประชาชนที่เกี่ยวข้อง
เครื่องบวงสรวงต่างๆ ตั้งไว้จนกว่าธูปจะหมดดอกแล้วปู่อาจารย์จะกล่าวคำลาเครื่องสังเวย มีธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันมาว่า จะต้องแบ่งเครื่องสังเวยสิ่งละเล็กละน้อยทุกอย่างใส่กระทงใบตองนำไปวางไว้มุมหนึ่งนอกบริเวณเพื่อแบ่งปันให้แก่สัมภเวสีทั้งหลาย
เอกสารบันทึกการบวงสรวงพ่อขุนงำเมืองที่หยิบยกมากล่าวนั้น เป็นบันทึกพิธีบวงสรวงพ่อขุนงำเมือง ประจำปี 2540 เพื่อเฉลิมฉลอง 900 ปี อาณาจักรภูกามยาว 20 ปี จังหวัดพะเยา สำหรับการบูชา 900 ปี ภูกามยาว 20 ปี จังหวัดพะเยา จัดเครื่องบวงสรวง 3 ชุด สำหรับบูชาเทวดาประจำเมือง บูรพกษัตริย์ และเจ้าผู้ครองนคร
ประเภทขนมหวาน : ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เม็ดขนุน ขนมชั้น ขนมถ้วยฟู ซาลาเปา ขนมต้มขาว ขนมต้มแดง(ขาดไม่ได้) สังขยาฟักทอง
ประเภทปลีกย่อย: งาขาว งาดำ ถั่วเหลือง นมเนย น้ำเปล่า (แก้วทั้ง 5 ใบ) เหล้า (บวงสรวงเวลาเช้าถึงเที่ยงวัน) เผือก-มัน บุหรี่ทางเหนือ เมี่ยง หมาก-พลู บายศรีปากชามใส่ไข่ต้ม แจกันดอกไม้ขาว 1 คู่ ข้าวตอกดอกไม้
ผู้เรียบเรียง: นางสาวอรทัย ปานจันทร์ ( นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา )
ข้อมูลและเอกสารอ้างอิง:
1. เอกสารประกอบรายงาน พิธีบวงสรวงอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง, นายนพดล ภู่ชัย, 2540
2. เอกสารทำบุญเมืองบวงสรวงวิญญาณพระมหากษัตริย์เมืองพะเยาและศาลหลักเมือง สำนักงานสภาวัฒนธรรมจังหวัดพะเยา, 2540
ภาพถ่าย:
1. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. ภ พย 6 พิธีบวงสรวงพ่อขุนงำเมืองประจำปี 2540 ณ ลานอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา, 2540
2. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. ภ พย 66 พิธีบวงสรวงพ่อขุนงำเมืองประจำปี 2543 ณ ลานอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา, 2543
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
(จำนวนผู้เข้าชม 13553 ครั้ง)