ประวัติและบทบาทหน้าที่
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดพะเยาสร้างขึ้นเนื่องด้วยพิจารณาเห็นว่าจังหวัดพะเยามีความเหมาะสมที่จะจัดตั้งหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เพราะเป็นจังหวัดที่มีอดีตอันรุ่งเรือง เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรสำคัญทางภาคเหนือ และมีความพร้อมที่เกิดจากการสนับสนุนของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งบุคลากรที่เข้าใจและเห็นคุณค่าของเอกสารจดหมายเหตุ โดยเริ่มต้นจากการที่นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้มีหนังสือถึงกรมศิลปากร เมื่อเมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๓๕ ขอให้พิจารณาดำเนินการจัดตั้งหอสมุดแห่งชาติ ที่จังหวัดพะเยา โดยเสนอให้ใช้อาคารที่ว่าการอำเภอเมืองเดิม เป็นที่ทำการสำนักงานชั่วคราว กรมศิลปากร พิจารณาเห็นสมควรปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี โดยมีข้อสังเกตว่างานจดหมายเหตุ และงานหอสมุดมีลักษณะใกล้เคียงกัน ดังนั้นเพื่อเป็นการประหยัดทั้งงบประมาณ อัตรากำลังและสถานที่ในการก่อสร้าง ควรจัดตั้งรวมหน่วยงานทั้งสองแห่งไว้ในสถานที่เดียวกัน กรมศิลปากรจึงเสนอขอดำเนินการจัดตั้งหอจดหมายเหตุแห่งชาติควบคู่กันไปด้วย และได้มอบหมายให้ นายพูลลาภ อินทรนัฎ วิศวกรโยธา และนายสุเทพ วิริยะบุศย์ มัณฑนากร ไปตรวจสอบอาคารดังกล่าว พบว่าอาคารนั้นมีสภาพไม่แข็งแรงเพียงพอที่จะรับน้ำหนักเอกสารได้
กรมศิลปากรจึงได้พิจารณาที่ดินเพื่อทำการก่อสร้างอาคารใหม่และได้รับการสนับสนุนจากพระธรรมวิมลโมลี เจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ (ขณะนั้น) โดยมอบที่ดินของวัดพระธาตุจอมทองจำนวน ๕ ไร่ ด้านที่ติดถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ ให้เป็นสถานที่ก่อสร้างอาคารหอจดหมายเหตุแห่งชาติจังหวัดพะเยา กรมศิลปากรจึงมอบหมายให้นายไพบูลย์ ผลมาก สถาปนิก (ขณะนั้น) ดำเนินการออกแบบอาคาร ส่วนการตกแต่งภายในอาคารนั้นมอบหมายให้ นายสุเทพ วิริยะบุศย์ มัณฑนากร ดำเนินการโดยได้รับงบประมาณดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ถึง พ.ศ. ๒๕๔๒ รวมทั้งสิ้น ๒๗,๖๗๘,๖๐๐บาท (ยี่สิบเจ็ดล้านหกแสนเจ็ดหมื่นแปดพันหกร้อยบาทถ้วน) หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดพะเยาแห่งนี้ กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ (ขณะนั้น) สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสที่ทรงมีพระชนมายุครบ ๔๕ พรรษา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐
กรมศิลปากรจึงได้พิจารณาที่ดินเพื่อทำการก่อสร้างอาคารใหม่และได้รับการสนับสนุนจากพระธรรมวิมลโมลี เจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ (ขณะนั้น) โดยมอบที่ดินของวัดพระธาตุจอมทองจำนวน ๕ ไร่ ด้านที่ติดถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ ให้เป็นสถานที่ก่อสร้างอาคารหอจดหมายเหตุแห่งชาติจังหวัดพะเยา กรมศิลปากรจึงมอบหมายให้นายไพบูลย์ ผลมาก สถาปนิก (ขณะนั้น) ดำเนินการออกแบบอาคาร ส่วนการตกแต่งภายในอาคารนั้นมอบหมายให้ นายสุเทพ วิริยะบุศย์ มัณฑนากร ดำเนินการโดยได้รับงบประมาณดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ถึง พ.ศ. ๒๕๔๒ รวมทั้งสิ้น ๒๗,๖๗๘,๖๐๐บาท (ยี่สิบเจ็ดล้านหกแสนเจ็ดหมื่นแปดพันหกร้อยบาทถ้วน) หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดพะเยาแห่งนี้ กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ (ขณะนั้น) สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสที่ทรงมีพระชนมายุครบ ๔๕ พรรษา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้ชื่ออาคารว่า “หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พะเยา” เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๘ และได้เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันพุธที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ เวลา ๑๕.๐๐ น. ต่อมาได้รับ พระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระนามาภิไธยย่อ มวก. เพื่ออัญเชิญมาประดิษฐาน ณ อาคารหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พะเยา
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พะเยา ในวันจันทร์ที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ หอจดหมายแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พะเยา จึงพร้อมเปิดให้บริการได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๒
หน้าที่ความรับผิดชอบ
๑. รับผิดชอบการบริหารงานเอกสารของส่วนราชการ ๙ จังหวัดได้แก่ จังหวัดพะเยา แพร่ น่าน สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และอุตรดิตถ์
๒. รวบรวม ประเมินคุณค่า วิเคราะห์ จัดหมวดหมู่ เก็บรักษา และอนุรักษ์เอกสารสำคัญของชาติ
๓.ให้บริการศึกษาค้นคว้าวิจัยแก่หน่วยงานองค์กร รัฐวิสาหกิจ นักเรียนนักศึกษา ประชาชนทั่วไป
๔. บันทึกเหตุการณ์สำคัญของชาติ
๕.ดำเนินการเป็นตัวแทนกรมศิลปากรในพื้นที่ จังหวัดพะเยา
๖.ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นทีเกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมายในรูปแบบบูรณาการ
(จำนวนผู้เข้าชม 434 ครั้ง)