วันสังขารล่อง
วันสังขารล่อง
เทศกาลสงกรานต์ชาวล้านนาเรียกว่า ปเวณีปีใหม่ หรือปาเวณีปีใหม่เมือง
ในปี พ.ศ. 2567 นี้ตรงกับวันที่ 13 เมษายน 2567
คำว่า “ส์กุรานส์ขาน สังขาน สังกราน หรือ สังขราน” ในล้านนาหมายความตรงกันกับ "สงกรานต์" มาจากภาษาสันสกฤตว่า "สงกรานติ" แปลว่า เคลื่อนไป อันหมายถึง ดวงอาทิตย์ย้ายราศีจากราศีหนึ่งไปสู่อีกราศีหนึ่ง ในแต่ละปีจะมี "สังกรานต์-สงกรานต์" ๑๒ ครั้ง แต่ครั้งที่มีความหมายที่สุด คือการที่ดวงอาทิตย์ย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ ซึ่งปัจจุบันตกประมาณวันที่ ๑๓ เมษายน การเข้าสู่ราศีดังกล่าวถือเป็นการเริ่มปีใหม่ ทางล้านนาเรียกวันที่ดวงอาทิตย์ย้ายจากราศีมีนว่า วันสังกรานต์ล่อง (อ่าน "วันสังขานล่อง")
ในตอนเช้ามืดของวันสังกรานต์ล่องนี้ จะมีการจุดสะโพก (สะโป้ก) จุดพลุ จุดประทัด ยิงปืนขึ้นฟ้า ผู้มีปืนจะต้องยิงกระสุนที่ค้างในลำกล้องออกไป เชื่อว่าปืนที่ยิงในวันนี้จะแม่นฉมังนัก ในอดีตทางวัดจะมีการเคาะระฆังเป็นสัญญาณ บางแห่งก็จะหาค้อนหาไม้ไปเคาะตามต้นไม้ ต้นดอก โดยถือว่าถ้าได้เคาะแล้วในปีนั้นต้นไม้ดังกล่าว จะมีลูกดกจะมีดอกบานงาม
ตามความเชื่อแบบเรื่องเล่ากันว่าตอนเช้ามืด "ปู่สังกรานต์" หรือ "ย่าสังกรานต์" จะแต่งตัวนุ่งห่มด้วยเสื้อผ้าสีแดง สะพายย่ามขนาดใหญ่ ปากคาบกล้องยาเส้น ถ่อแพล่องไปตามน้ำ ปู่ย่าสังกรานต์นี้จะนำเอาสิ่งซึ่งไม่พึงปรารถนาตามตัวมาด้วย จึงต้องมีการยิงปืน จุดประทัด หรือทำให้เกิดเสียงดังต่าง นัยว่าเป็น "การไล่สังกรานต์" และถือกันว่าปืนที่ใช้ยิงขับปู่หรือย่าสังกรานต์แล้วนั้นจะมีความขลังมาก
ในวันนี้ตั้งแต่เช้าตรู่จะมีการทำความสะอาด ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ซักเสื้อผ้าที่สามารถซักได้ ส่วนที่นอนหรือสิ่งที่ชักล้างไม่ได้ก็จะนำออกไปตากหรือปัดฝุ่นเสีย ในบริเวณบ้านก็จะเก็บกวาดใบไม้ และเผาขยะมูลฝอยต่างๆ ทำความสะอาดหิ้งพระ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพนับถือ สรงด้วยน้ำอบน้ำหอม หรือน้ำเข้าหมิ่นส้มป่อย ส่วนดอกไม้บูชาพระซึ่งมักจะเป็นยอดของต้นหมากผู้-หมากเมียใน หม้อไหดอก หรือแจกันนั้นก็จะเปลี่ยนใหม่ด้วย บางพื้นที่จะมีการไปซักผ้าริมน้ำ
เตรียมหาน้ำพุทธมนต์ หรือน้ำส้มป่อยน้ำอบน้ำหอมไว้เช็ดพรมตามเนื้อตามตัวหรือใช้สระหัวเป็นพิธี ที่เรียกว่าดำหัวเรื่องนี้มีตำราอีกต่างหาก เรียกว่าเช็ดกาลกิณีออกทิ้งไป เช็ดจัญไรออกทิ้งไป สตรีก็จะมีการดำหัวหรือสระผมเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งเมื่อสระผมแล้วก็จะต้องเงยหน้าไปตามทิศที่กำหนดไว้ และทัดดอกไม้ (ดอกพระยา) ที่เป็นนามของปีของแต่ละปี เสื้อผ้าที่นุ่งห่มก็จะเป็นเสื้อผ้าใหม่
นอกจากนี้แล้วตามวัด หมู่บ้าน ชุมชน จังหวัด นิยมนำพระพุทธรูปสำคัญ และจัดขบวนแห่พระพุทธรูปสำคัญประจำเมือง ไปตามถนนสายต่างๆ แล้วนำไปประดิษฐานไว้เพื่อให้ประชาชนได้เข้านมัสการสรงน้ำพระพุทธรูปดังกล่าวเพื่อความเป็นศิริมงคลต้อนรับปีใหม่
ในเมืองน่านจะมีสรงน้ำพระเจ้าทองทิพย์ วัดสวนตาล เสามิ่งเมือง (เสาหลักเมือง) วัดมิ่งเมือง และมีขบวนแห่พระพุทธรูปสำคัญ และยังมีการจุดบอกไฟด้วย
เอกสารอ้างอิง
มน บำรุง บารมี. "สังกรานต์ล่อง (วันสงกรานต์) ." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 13. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 6724-6726.
"สังกรานต์ (สงกรานต์) ." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 13. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 6723-6723.
เทศกาลสงกรานต์ชาวล้านนาเรียกว่า ปเวณีปีใหม่ หรือปาเวณีปีใหม่เมือง
ในปี พ.ศ. 2567 นี้ตรงกับวันที่ 13 เมษายน 2567
คำว่า “ส์กุรานส์ขาน สังขาน สังกราน หรือ สังขราน” ในล้านนาหมายความตรงกันกับ "สงกรานต์" มาจากภาษาสันสกฤตว่า "สงกรานติ" แปลว่า เคลื่อนไป อันหมายถึง ดวงอาทิตย์ย้ายราศีจากราศีหนึ่งไปสู่อีกราศีหนึ่ง ในแต่ละปีจะมี "สังกรานต์-สงกรานต์" ๑๒ ครั้ง แต่ครั้งที่มีความหมายที่สุด คือการที่ดวงอาทิตย์ย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ ซึ่งปัจจุบันตกประมาณวันที่ ๑๓ เมษายน การเข้าสู่ราศีดังกล่าวถือเป็นการเริ่มปีใหม่ ทางล้านนาเรียกวันที่ดวงอาทิตย์ย้ายจากราศีมีนว่า วันสังกรานต์ล่อง (อ่าน "วันสังขานล่อง")
ในตอนเช้ามืดของวันสังกรานต์ล่องนี้ จะมีการจุดสะโพก (สะโป้ก) จุดพลุ จุดประทัด ยิงปืนขึ้นฟ้า ผู้มีปืนจะต้องยิงกระสุนที่ค้างในลำกล้องออกไป เชื่อว่าปืนที่ยิงในวันนี้จะแม่นฉมังนัก ในอดีตทางวัดจะมีการเคาะระฆังเป็นสัญญาณ บางแห่งก็จะหาค้อนหาไม้ไปเคาะตามต้นไม้ ต้นดอก โดยถือว่าถ้าได้เคาะแล้วในปีนั้นต้นไม้ดังกล่าว จะมีลูกดกจะมีดอกบานงาม
ตามความเชื่อแบบเรื่องเล่ากันว่าตอนเช้ามืด "ปู่สังกรานต์" หรือ "ย่าสังกรานต์" จะแต่งตัวนุ่งห่มด้วยเสื้อผ้าสีแดง สะพายย่ามขนาดใหญ่ ปากคาบกล้องยาเส้น ถ่อแพล่องไปตามน้ำ ปู่ย่าสังกรานต์นี้จะนำเอาสิ่งซึ่งไม่พึงปรารถนาตามตัวมาด้วย จึงต้องมีการยิงปืน จุดประทัด หรือทำให้เกิดเสียงดังต่าง นัยว่าเป็น "การไล่สังกรานต์" และถือกันว่าปืนที่ใช้ยิงขับปู่หรือย่าสังกรานต์แล้วนั้นจะมีความขลังมาก
ในวันนี้ตั้งแต่เช้าตรู่จะมีการทำความสะอาด ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ซักเสื้อผ้าที่สามารถซักได้ ส่วนที่นอนหรือสิ่งที่ชักล้างไม่ได้ก็จะนำออกไปตากหรือปัดฝุ่นเสีย ในบริเวณบ้านก็จะเก็บกวาดใบไม้ และเผาขยะมูลฝอยต่างๆ ทำความสะอาดหิ้งพระ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพนับถือ สรงด้วยน้ำอบน้ำหอม หรือน้ำเข้าหมิ่นส้มป่อย ส่วนดอกไม้บูชาพระซึ่งมักจะเป็นยอดของต้นหมากผู้-หมากเมียใน หม้อไหดอก หรือแจกันนั้นก็จะเปลี่ยนใหม่ด้วย บางพื้นที่จะมีการไปซักผ้าริมน้ำ
เตรียมหาน้ำพุทธมนต์ หรือน้ำส้มป่อยน้ำอบน้ำหอมไว้เช็ดพรมตามเนื้อตามตัวหรือใช้สระหัวเป็นพิธี ที่เรียกว่าดำหัวเรื่องนี้มีตำราอีกต่างหาก เรียกว่าเช็ดกาลกิณีออกทิ้งไป เช็ดจัญไรออกทิ้งไป สตรีก็จะมีการดำหัวหรือสระผมเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งเมื่อสระผมแล้วก็จะต้องเงยหน้าไปตามทิศที่กำหนดไว้ และทัดดอกไม้ (ดอกพระยา) ที่เป็นนามของปีของแต่ละปี เสื้อผ้าที่นุ่งห่มก็จะเป็นเสื้อผ้าใหม่
นอกจากนี้แล้วตามวัด หมู่บ้าน ชุมชน จังหวัด นิยมนำพระพุทธรูปสำคัญ และจัดขบวนแห่พระพุทธรูปสำคัญประจำเมือง ไปตามถนนสายต่างๆ แล้วนำไปประดิษฐานไว้เพื่อให้ประชาชนได้เข้านมัสการสรงน้ำพระพุทธรูปดังกล่าวเพื่อความเป็นศิริมงคลต้อนรับปีใหม่
ในเมืองน่านจะมีสรงน้ำพระเจ้าทองทิพย์ วัดสวนตาล เสามิ่งเมือง (เสาหลักเมือง) วัดมิ่งเมือง และมีขบวนแห่พระพุทธรูปสำคัญ และยังมีการจุดบอกไฟด้วย
เอกสารอ้างอิง
มน บำรุง บารมี. "สังกรานต์ล่อง (วันสงกรานต์) ." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 13. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 6724-6726.
"สังกรานต์ (สงกรานต์) ." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 13. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 6723-6723.
(จำนวนผู้เข้าชม 116 ครั้ง)