วันช้างไทย
วันพุธที่ 13 มีนาคม 2567
"วันช้างไทย"
หากใครที่เกิดอาศัยในเมืองน่าน หรือนักท่องเที่ยวที่ได้เดินทางมายังเมืองน่าน คงต้องหุ้นหูกับชื่อ "บ้านช้างเผือก" หรือสังเกตเห็นรูปปั้นช้างเผือก ที่บริเวณแยก "ช้างเผือก" ทางไปสนามบินน่าน น้อยคนนักจะทราบถึงที่มาหรือประวัติเกี่ยวกับรูปปั้นนี้
.
ประวัติความเป็นมา (จากจารึกที่ฐานอนุสาวรีย์ช้างเผือก)
พระครูสังวรนันนทคุณ เจ้าอาวาสวัดช้างเผือก และนายเสริมสุริยสาร เรียบเรียง
.
ในราวจุลศักราช ๑๐๘๘ (พ.ศ. ๒๒๖๙) ในสมัยเจ้าพระยาหลวงติ๋นมหาวงษ์เมืองเชียงใหม่ ได้มาเป็นเจ้าเสวยเมืองน่าน ขณะนั้นบริเวณ ที่ตั้งหมู่บ้านช้างเผือกนี้เป็นป่าทึบเรียกกันในสมัยนั้นว่า ดงเพนียด (คือเป็นที่ฝึกและเลี้ยงช้างของผู้ครองนคร) ซึ่งมีตํานานเล่าสืบต่อกันมาว่า เจ้าผู้ครองนครเชียงราย ต้องการเชื่อมความสัมพันธ์ไมตรีกับเจ้าผู้ครองนครน่าน จึงได้ถวายช้างเผือกแก่เจ้าผู้ครองนครน่าน โดยให้เจ้าผู้ครองนครน่าน เสด็จไปรับเอาช้างเผือกยังนครเชียงราย เนื่องจากสภาพพื้นที่ในสมัยนั้น เป็นทางทุรกันดารขึ้นเขาลงห้วย การเดิน ทางต้องใช้การเดินเท้าและสัตว์พาหนะ เช่น ช้าง ม้า และวัวต่าง ขบวนเสด็จของเจ้าผู้ครองนครน่าน ได้เดินทางรอนแรมใช้เวลาแรมเดือนก็ถึงยังนครเชียงราย เข้ารับถวายช้างเผือกจากเจ้าผู้ครองนครเชียงราย และพักผ่อนเป็นเวลานานพอสมควรแล้ว จึงพาข้าราชบริพารและคณะผู้ติดตามเดินทางกลับมุ่งหน้าสู่นครน่านในทิศทางเดิมขบวนเสด็จเดินทางผ่านเส้นทางทุรกันดารเป็นระยะเวลาแรมเดือนได้หยุดพักประทับแรมเป็นระยะๆ คณะข้าราชบริพาร และผู้ติดตามได้ปลดสัมภาระต่างๆ จากพาหนะวางกองไว้ ณ ที่พักแรม (การปดสัมภาระเพื่อหยุดพักนี้ ภาษาเมืองเหนือเรียกว่า ปง ซึ่งแปลว่า วางลง) สถานที่หยุดพักตรงจุดนี้จึงมีชื่อว่า ปง ปัจจุบันคืออําเภอปง จังหวัดพะเยา
จากนั้นขบวนเสด็จจึงได้ออกเดินทางต่อไป ระหว่างการเดินทางได้โปรดให้ข้า-ราชบริพารและคณะผู้ติดตาม ได้มีความรืนเริงบันเทิงใจโปรดให้มีการร้องรําทําเพลง จ้อย ซอ (ซอล่องน่าน) อย่างสนุกสนานไปตลอดทาง การเดินทางเป็นไปด้วย
ความเหน็ดเหนื่อยล้าก็มาถึงยังเชิงเขาแห่งหนึ่ง ทําให้ความสนุกสนานนั้นหมดไป (คือหมดสนุก) ภาษาเมืองเหนือเรียกว่า เสี้ยงม่วน จุดหยุดพักตรงนี้จึงมีชื่อว่า เสี้ยงม่วน ปัจจุบันคืออำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ซึ่งเพี้ยนมาจากเสี้ยงม่วนนั่นเอง
.
ขบวนเสด็จได้เดินทางรอนแรมไปด้วยความเหนื่อยยาก จนมาถึงที่ราบแห่งหนึ่งระหว่างหุบเขา มีบ้านผู้คนซึ่งเป็นไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ของพระองค์อาศัยอยู่เป็นจํานวนมาก โปรดสั่งให้หยุดขบวนเสด็จเพื่อพักแรม และทรงดําริที่จะทําการเฉลิมฉลองสมโภชน์ช้างเผือกเป็นเบื้องต้นก่อน จึงได้จัดพิธีทําบุญใส่บาตร นิมนต์พระสงฆ์สามเณรมาเจริญพระพุทธมนต์ให้ศีลให้พร ไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ของพระองค์ ต่างก็นําข้าวปลาอาหารใส่บาตรล้นบาตร (การที่ข้าวพุ้นล้นบาตร ภาษาเมืองเหนือเรียกว่า สวด) จุดที่หยุดพักทําพิธีแห่งนี้ จึงได้นามว่า เมืองสวด คือ ตำบลสวด อําเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน ในปัจจุบัน
จากนั้นพระองค์ก็ได้เคลื่อนขบวนออกเดินทางต่อไปตามลําห้วยสี่พัน ลำห้วยนี้เมื่อก่อนเรียกกันว่า ห้วยสี่พัน เรื่องเดิมมีอยู่ว่า คนในสมัยนั้นได้สู้รบกับข้าศึกและฆ่าข้าศึกตายจำนวนสี่พัน แล้วตัดเอหัวของข้าศึกมาร้อยด้วยเครือหวาย (คำว่าร้อย คนเมืองเหนือเรียกว่า ฮ้อย หรือฮิ้ว) หรือเสียบเป็นพวงได้สามพวงหวาย ปัจจุบันสถานที่ดังกล่าวเรียกว่า ปางสามหิ้ว (ปาง คือที่พัก) จากนั้นก็เคลื่อนขบวนเสด็จขึ้นเขาลงห้วย เข้าไปในเขตเมืองน่าน ผ่านห้วยทับหินฝน (หินฝน คือก้อนหินสับหรับลับดาบของคนสมัยก่อน) ลำห้วยสไลหรือสะลาย ลำห้วยสะเนียน จนไปพบกับทางหลวงน่าน-พะเยา (ตรงหลักกิโลเมตรที่ ๒๓-๒๔ ปัจจุบัน) ขบวนเสด็จเรื่อยมาจนถึงยังหมู่บ้านหนึ่ง ซึ่งมีคนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ทรงโปรดให้หยุดขบวนเพื่อให้ข้าราชบริพารและผู้ติดตามได้พักผ่อน ข้าราชบริพารและผู้ติดตามจึงได้จัดพลับพลาที่ประทับถวาย โปรยได้ใช้ใบตองมาทำเป็นถืม (คำว่า ถืม ภาษาเมืองเหนือเรียกว่าแผ่นหรือผืน ที่ทำด้วยไม้ไผ่จักสานหรือหุ้มด้วยใบตอง) หมู่บ้านแห่งนี้จึงมีชื่อว่า บ้านถืมตอง ปัจจุบันคือตำบลถืมตอง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
หลังจากที่ทรงพักผ่อนเป็นเวลานานพอสมควรแล้ว จึงได้ยกขบวนเสด็จออกเดินทางต่อไปจนถึงนครน่าน ทรงโปรดให้ข้าราชบริพารและผู้ติดตาม นำช้างเผือกลงไปอาบน้ำชำระล้างทำความสะอาดที่ลำน้ำน่าน ตรงท่าน้ำของหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ที่ตั้งบ้านเรือนอาศัยบริเวณท่าน้ำนั้น ต่างมีความชื่นชมยินดีเป็นยิ่งนักที่ได้พบเห็นช้างเผือกคู่บารมีของเจ้าผู้ครองนครลงอาบน้ำยังท่าน้ำแห่งนี้ จึงได้พากันตั้งชื่อหมู่บ้านขึ้นว่า บ้านท่าช้าง (เพราะถือเอานิมิตที่มีช้างคุ่บารมีของเจ้าผู้ครองนครลงอาบ)
ในระหว่างที่ข้าราชบริการและผู้ติดตามพระองค์ นําช้างเผือกลงอาบน้ำชําระล้างอยู่นั้น ทรงโปรดให้สร้างพลับพลาที่ประทับขึ้นอีกชั่วคราวขึ้นอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างจากท่าน้ำนั้นขึ้นไปทิศเหนือประมาณกิโลเมตรเศษ เพื่อที่จะทอดพระเนตรข้าราชบริพารทําการอาบน้ำและทําความสะอาดช้างเผือก ตลอดถึงเตรียมตกแต่งทรงเครื่องช้างเพื่อที่จะนําไปฉลองสมโภช ไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ที่ปลูกบ้านเรือนอาศัยอยู่ใกล้กับพลับพลาที่ประทับนั้น ต่างก็มีความชื่นชมยินดี และถือเป็นสิริมงคลเป็นอย่างยิ่ง จึงได้พากันตั้งชื่อหมู่บ้านแห่งนั้นว่า บ้านพระเนตร มาจนถึงปัจจุบัน
.
หลังจากข้าราชบริการของพระองค์ได้ทําความสะอาด และประดับตกแต่งทรงเครื่องช้างเรียบร้อยแล้วทรงโปรดให้นําไปเข้าพิธีฉลองสมโภชน์ที่บริเวณทุ่งเมืองเล็น จัดพิธีฉลองสมโภชอยู่ ๗ วัน ๗ คืน ผู้คนที่ปลูกบ้านอาศัยอยู่บริเวณนั้น ต่างมีความชื่นชมยินดีเป็นยิ่งนักที่ได้เห็นช้างเผือกคู่พระบารมีครั้งนี้ จึงได้พร้อมใจกันเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ว่า บ้านมหาโภชน์ หลังจากเสร็จพิธีฉลองสมโภชน์ช้างเผือกที่บริเวณทุ่งเมืองเล็นแล้ว ทรงโปรดให้นําไปฝึกและเลี้ยงไว้ที่ดงเพนียด (ที่ฝึก และเลี้ยงช้าง) ไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ของพระองค์ ที่ปลูกบ้านเรือนอาศัยอยู่รอบบริเวณดงเพนียดนี้ ต่างก็มีความชื่นชมยินดีเป็นยิ่งนัก ที่ได้เห็นช้างเผือกคู่พระบารมีของเจ้าผู้ครองนคร และถือเป็นสิริมงคลกับหมู่บ้าน จึงได้พร้อมใจกันตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ขึ้นว่า บ้านช้างเผือก หลังจากที่ได้ตั้งชื่อหมู่บ้านแล้ว ความเป็นอยู่ของไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ ข้าราชบริพารของพระองค์ ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านนี้ ต่างก็มีความสุขความเจริญเรื่อยมาจนถึงจุลศักราช ๑๑๑๐ (พ.ศ. ๒๒๙๑) ข้าราชบริพาร และไพร่ฟ้าประชาราษฎรที่พอมีฐานะร่ำรวย ต่างก็พร้อมใจกันปลูกสร้างสำนักสงฆ์ขึ้นไว้เป็นที่บําเพ็ญกุศลประจําหมู่บ้าน ยังไม่ทันสําเร็จก็ได้มีช้างพัง (ช้างเพศเมีย) ที่เลี้ยงไว้ในดงเพนียดนั้นได้ตกลูกออกมาเป็นช้างพัง ช้างพลาย (เพศผู้) ลักษณะสีขาวเผือกและถูกต้องตามคชลักษณ์ทุกประการ เจ้าผู้ครองนครทรงปลื้มปิติโสมนัสเป็นยิ่งนักที่ได้มีช้างเผือกเกิดมาคู่พระบารมีอีกเชือกหนึ่ง ทรงมีดําริที่จะจัดพิธีลองสมโภชน์ช้างเผือกขึ้น ประจวบกับการปลูกสร้างสำนักสงฆ์ได้สําเร็จลง พระองค์จึงทรงโปรดให้ข้าราชบริพารตลอดถึงไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ จัดงานฉลองสมโภชน์ช้างเผือกและสํานักสงฆ์ขึ้นพร้อมกันเป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืน พร้อมกับประทานนามที่พักสงฆ์แห่งนี้ว่า วัดช้างเผือก ตั้งแต่บัดนั้น จนถึงตราบเท่าทุกวันนี้
"วันช้างไทย"
หากใครที่เกิดอาศัยในเมืองน่าน หรือนักท่องเที่ยวที่ได้เดินทางมายังเมืองน่าน คงต้องหุ้นหูกับชื่อ "บ้านช้างเผือก" หรือสังเกตเห็นรูปปั้นช้างเผือก ที่บริเวณแยก "ช้างเผือก" ทางไปสนามบินน่าน น้อยคนนักจะทราบถึงที่มาหรือประวัติเกี่ยวกับรูปปั้นนี้
.
ประวัติความเป็นมา (จากจารึกที่ฐานอนุสาวรีย์ช้างเผือก)
พระครูสังวรนันนทคุณ เจ้าอาวาสวัดช้างเผือก และนายเสริมสุริยสาร เรียบเรียง
.
ในราวจุลศักราช ๑๐๘๘ (พ.ศ. ๒๒๖๙) ในสมัยเจ้าพระยาหลวงติ๋นมหาวงษ์เมืองเชียงใหม่ ได้มาเป็นเจ้าเสวยเมืองน่าน ขณะนั้นบริเวณ ที่ตั้งหมู่บ้านช้างเผือกนี้เป็นป่าทึบเรียกกันในสมัยนั้นว่า ดงเพนียด (คือเป็นที่ฝึกและเลี้ยงช้างของผู้ครองนคร) ซึ่งมีตํานานเล่าสืบต่อกันมาว่า เจ้าผู้ครองนครเชียงราย ต้องการเชื่อมความสัมพันธ์ไมตรีกับเจ้าผู้ครองนครน่าน จึงได้ถวายช้างเผือกแก่เจ้าผู้ครองนครน่าน โดยให้เจ้าผู้ครองนครน่าน เสด็จไปรับเอาช้างเผือกยังนครเชียงราย เนื่องจากสภาพพื้นที่ในสมัยนั้น เป็นทางทุรกันดารขึ้นเขาลงห้วย การเดิน ทางต้องใช้การเดินเท้าและสัตว์พาหนะ เช่น ช้าง ม้า และวัวต่าง ขบวนเสด็จของเจ้าผู้ครองนครน่าน ได้เดินทางรอนแรมใช้เวลาแรมเดือนก็ถึงยังนครเชียงราย เข้ารับถวายช้างเผือกจากเจ้าผู้ครองนครเชียงราย และพักผ่อนเป็นเวลานานพอสมควรแล้ว จึงพาข้าราชบริพารและคณะผู้ติดตามเดินทางกลับมุ่งหน้าสู่นครน่านในทิศทางเดิมขบวนเสด็จเดินทางผ่านเส้นทางทุรกันดารเป็นระยะเวลาแรมเดือนได้หยุดพักประทับแรมเป็นระยะๆ คณะข้าราชบริพาร และผู้ติดตามได้ปลดสัมภาระต่างๆ จากพาหนะวางกองไว้ ณ ที่พักแรม (การปดสัมภาระเพื่อหยุดพักนี้ ภาษาเมืองเหนือเรียกว่า ปง ซึ่งแปลว่า วางลง) สถานที่หยุดพักตรงจุดนี้จึงมีชื่อว่า ปง ปัจจุบันคืออําเภอปง จังหวัดพะเยา
จากนั้นขบวนเสด็จจึงได้ออกเดินทางต่อไป ระหว่างการเดินทางได้โปรดให้ข้า-ราชบริพารและคณะผู้ติดตาม ได้มีความรืนเริงบันเทิงใจโปรดให้มีการร้องรําทําเพลง จ้อย ซอ (ซอล่องน่าน) อย่างสนุกสนานไปตลอดทาง การเดินทางเป็นไปด้วย
ความเหน็ดเหนื่อยล้าก็มาถึงยังเชิงเขาแห่งหนึ่ง ทําให้ความสนุกสนานนั้นหมดไป (คือหมดสนุก) ภาษาเมืองเหนือเรียกว่า เสี้ยงม่วน จุดหยุดพักตรงนี้จึงมีชื่อว่า เสี้ยงม่วน ปัจจุบันคืออำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ซึ่งเพี้ยนมาจากเสี้ยงม่วนนั่นเอง
.
ขบวนเสด็จได้เดินทางรอนแรมไปด้วยความเหนื่อยยาก จนมาถึงที่ราบแห่งหนึ่งระหว่างหุบเขา มีบ้านผู้คนซึ่งเป็นไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ของพระองค์อาศัยอยู่เป็นจํานวนมาก โปรดสั่งให้หยุดขบวนเสด็จเพื่อพักแรม และทรงดําริที่จะทําการเฉลิมฉลองสมโภชน์ช้างเผือกเป็นเบื้องต้นก่อน จึงได้จัดพิธีทําบุญใส่บาตร นิมนต์พระสงฆ์สามเณรมาเจริญพระพุทธมนต์ให้ศีลให้พร ไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ของพระองค์ ต่างก็นําข้าวปลาอาหารใส่บาตรล้นบาตร (การที่ข้าวพุ้นล้นบาตร ภาษาเมืองเหนือเรียกว่า สวด) จุดที่หยุดพักทําพิธีแห่งนี้ จึงได้นามว่า เมืองสวด คือ ตำบลสวด อําเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน ในปัจจุบัน
จากนั้นพระองค์ก็ได้เคลื่อนขบวนออกเดินทางต่อไปตามลําห้วยสี่พัน ลำห้วยนี้เมื่อก่อนเรียกกันว่า ห้วยสี่พัน เรื่องเดิมมีอยู่ว่า คนในสมัยนั้นได้สู้รบกับข้าศึกและฆ่าข้าศึกตายจำนวนสี่พัน แล้วตัดเอหัวของข้าศึกมาร้อยด้วยเครือหวาย (คำว่าร้อย คนเมืองเหนือเรียกว่า ฮ้อย หรือฮิ้ว) หรือเสียบเป็นพวงได้สามพวงหวาย ปัจจุบันสถานที่ดังกล่าวเรียกว่า ปางสามหิ้ว (ปาง คือที่พัก) จากนั้นก็เคลื่อนขบวนเสด็จขึ้นเขาลงห้วย เข้าไปในเขตเมืองน่าน ผ่านห้วยทับหินฝน (หินฝน คือก้อนหินสับหรับลับดาบของคนสมัยก่อน) ลำห้วยสไลหรือสะลาย ลำห้วยสะเนียน จนไปพบกับทางหลวงน่าน-พะเยา (ตรงหลักกิโลเมตรที่ ๒๓-๒๔ ปัจจุบัน) ขบวนเสด็จเรื่อยมาจนถึงยังหมู่บ้านหนึ่ง ซึ่งมีคนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ทรงโปรดให้หยุดขบวนเพื่อให้ข้าราชบริพารและผู้ติดตามได้พักผ่อน ข้าราชบริพารและผู้ติดตามจึงได้จัดพลับพลาที่ประทับถวาย โปรยได้ใช้ใบตองมาทำเป็นถืม (คำว่า ถืม ภาษาเมืองเหนือเรียกว่าแผ่นหรือผืน ที่ทำด้วยไม้ไผ่จักสานหรือหุ้มด้วยใบตอง) หมู่บ้านแห่งนี้จึงมีชื่อว่า บ้านถืมตอง ปัจจุบันคือตำบลถืมตอง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
หลังจากที่ทรงพักผ่อนเป็นเวลานานพอสมควรแล้ว จึงได้ยกขบวนเสด็จออกเดินทางต่อไปจนถึงนครน่าน ทรงโปรดให้ข้าราชบริพารและผู้ติดตาม นำช้างเผือกลงไปอาบน้ำชำระล้างทำความสะอาดที่ลำน้ำน่าน ตรงท่าน้ำของหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ที่ตั้งบ้านเรือนอาศัยบริเวณท่าน้ำนั้น ต่างมีความชื่นชมยินดีเป็นยิ่งนักที่ได้พบเห็นช้างเผือกคู่บารมีของเจ้าผู้ครองนครลงอาบน้ำยังท่าน้ำแห่งนี้ จึงได้พากันตั้งชื่อหมู่บ้านขึ้นว่า บ้านท่าช้าง (เพราะถือเอานิมิตที่มีช้างคุ่บารมีของเจ้าผู้ครองนครลงอาบ)
ในระหว่างที่ข้าราชบริการและผู้ติดตามพระองค์ นําช้างเผือกลงอาบน้ำชําระล้างอยู่นั้น ทรงโปรดให้สร้างพลับพลาที่ประทับขึ้นอีกชั่วคราวขึ้นอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างจากท่าน้ำนั้นขึ้นไปทิศเหนือประมาณกิโลเมตรเศษ เพื่อที่จะทอดพระเนตรข้าราชบริพารทําการอาบน้ำและทําความสะอาดช้างเผือก ตลอดถึงเตรียมตกแต่งทรงเครื่องช้างเพื่อที่จะนําไปฉลองสมโภช ไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ที่ปลูกบ้านเรือนอาศัยอยู่ใกล้กับพลับพลาที่ประทับนั้น ต่างก็มีความชื่นชมยินดี และถือเป็นสิริมงคลเป็นอย่างยิ่ง จึงได้พากันตั้งชื่อหมู่บ้านแห่งนั้นว่า บ้านพระเนตร มาจนถึงปัจจุบัน
.
หลังจากข้าราชบริการของพระองค์ได้ทําความสะอาด และประดับตกแต่งทรงเครื่องช้างเรียบร้อยแล้วทรงโปรดให้นําไปเข้าพิธีฉลองสมโภชน์ที่บริเวณทุ่งเมืองเล็น จัดพิธีฉลองสมโภชอยู่ ๗ วัน ๗ คืน ผู้คนที่ปลูกบ้านอาศัยอยู่บริเวณนั้น ต่างมีความชื่นชมยินดีเป็นยิ่งนักที่ได้เห็นช้างเผือกคู่พระบารมีครั้งนี้ จึงได้พร้อมใจกันเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ว่า บ้านมหาโภชน์ หลังจากเสร็จพิธีฉลองสมโภชน์ช้างเผือกที่บริเวณทุ่งเมืองเล็นแล้ว ทรงโปรดให้นําไปฝึกและเลี้ยงไว้ที่ดงเพนียด (ที่ฝึก และเลี้ยงช้าง) ไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ของพระองค์ ที่ปลูกบ้านเรือนอาศัยอยู่รอบบริเวณดงเพนียดนี้ ต่างก็มีความชื่นชมยินดีเป็นยิ่งนัก ที่ได้เห็นช้างเผือกคู่พระบารมีของเจ้าผู้ครองนคร และถือเป็นสิริมงคลกับหมู่บ้าน จึงได้พร้อมใจกันตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ขึ้นว่า บ้านช้างเผือก หลังจากที่ได้ตั้งชื่อหมู่บ้านแล้ว ความเป็นอยู่ของไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ ข้าราชบริพารของพระองค์ ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านนี้ ต่างก็มีความสุขความเจริญเรื่อยมาจนถึงจุลศักราช ๑๑๑๐ (พ.ศ. ๒๒๙๑) ข้าราชบริพาร และไพร่ฟ้าประชาราษฎรที่พอมีฐานะร่ำรวย ต่างก็พร้อมใจกันปลูกสร้างสำนักสงฆ์ขึ้นไว้เป็นที่บําเพ็ญกุศลประจําหมู่บ้าน ยังไม่ทันสําเร็จก็ได้มีช้างพัง (ช้างเพศเมีย) ที่เลี้ยงไว้ในดงเพนียดนั้นได้ตกลูกออกมาเป็นช้างพัง ช้างพลาย (เพศผู้) ลักษณะสีขาวเผือกและถูกต้องตามคชลักษณ์ทุกประการ เจ้าผู้ครองนครทรงปลื้มปิติโสมนัสเป็นยิ่งนักที่ได้มีช้างเผือกเกิดมาคู่พระบารมีอีกเชือกหนึ่ง ทรงมีดําริที่จะจัดพิธีลองสมโภชน์ช้างเผือกขึ้น ประจวบกับการปลูกสร้างสำนักสงฆ์ได้สําเร็จลง พระองค์จึงทรงโปรดให้ข้าราชบริพารตลอดถึงไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ จัดงานฉลองสมโภชน์ช้างเผือกและสํานักสงฆ์ขึ้นพร้อมกันเป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืน พร้อมกับประทานนามที่พักสงฆ์แห่งนี้ว่า วัดช้างเผือก ตั้งแต่บัดนั้น จนถึงตราบเท่าทุกวันนี้
(จำนวนผู้เข้าชม 256 ครั้ง)