...

แผงพระพิมพ์
แผงพระพิมพ์
วัสดุ : ไม้ ลงรัก ปิดทอง ล่องชาด ประดับกระจก
แบบศิลปะ/อายุสมัย : ศิลปะล้านนา พื้นเมืองน่าน ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๔-๒๕ (๑๐๐-๒๐๐ ปีมาแล้ว)
ประวัติ : กรมศิลปากรผาติกรรมจากวัดชนะไพรี อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

แผงพระพิมพ์ไม้ สลักลาย ส่วนฐานทำเป็นฐานบัวลดหลั่นแบบขั้นบันได ส่วนขอบหรือกรอบทำเป็นรูปนาค ตอนบนทำเป็นลายหางนาคไขว้เกี้ยวกระหวัดกันขึ้นไปด้านบน ทำให้รูปทรงเป็นรูปโค้งกลีบบัว ภายในแบ่งเป็นชั้นๆ มีร่องรอยของพระพิมพ์ที่หลุดหายไป ทั้งนี้ปรากฎช่องหรือรูที่ไว้สำหรับแขวน

แผงพระพิมพ์/พระแผงไม้ ใช้เรียกแผงไม้ที่ประดับพระพิมพ์จำนวนมากอย่างเป็นระเบียบ คติของการสร้างพระพิมพ์ คือ ใช้เป็นตัวแทนของอดีตพุทธเจ้า ที่มีจำนวนมาก และปัจจุบันพุทธ คือ พระพุทธเจ้าโคตมะ เพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาครบ ๕,๐๐๐ ปี ถวายไว้เพื่อเป็นพุทธบูชา และหวังอานิสงส์สำหรับผู้สร้าง ผู้ถวาย ทั้งในปัจจุบันชาติและในภายภาคหน้าภายหลังได้เสียชีวิตแล้ว

เอกสารอ้างอิง
ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี. พุทธศิลป์ล้านนา รูปแบบ แนวคิด และการวิเคราะห์. เชียงใหม่ : เชียงใหม่สแกนเนอร์. ๒๕๖๖

(จำนวนผู้เข้าชม 269 ครั้ง)


Messenger