วิหารจำลอง
วิหารจำลอง
วัสดุ : ไม้ ลงรัก เขียนสี ปิดทอง ประดับกระจก
แบบศิลปะ/อายุสมัย ศิลปะล้านนา พื้นเมืองน่าน พ.ศ. ๒๔๔๐
ประวัติ : วัดนาซาว ตำบลนาซาว อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
วิหารจำลองวัดนาซาว สร้างด้วยเครื่องไม้ทั้งหลัง แผนผังวางตามแนวยาวในรูปผังพื้นสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นลักษณะวิหารปิด หมายถึงวิหารที่มีการผนังด้านข้างทั้งสี่ด้าน ยกพื้นสูงทำเป็นชั้นฐานบัว ท้องไม้คาดด้วยเส้นลูกแก้วอกไก่ ด้านหน้าทำเป็นบันไดเพื่อเป็นทางเข้า พนักบันไดทำเป็นกนกตัวเหงา ช่องประตูพร้อมประตูด้านหน้า มีการยกเก็จเป็นห้องออกทางด้านหน้า ๑ ห้อง ทั้งอาคารมีทั้งหมด ๔ ห้อง ที่ผนังทำเป็นหน้าต่าง สามารถเปิดปิดได้ ชายคายื่น มีคันทวยรับชายคา
ลักษณะโครงสร้างหลังคาที่เรียกว่า “ขื่อม้าต่างไหม” หรือ “ม้าตั่งไหม” หลังคาวิหารมีการซ้อนชั้นหลังคา ๒ ตับ มีการลดชั้นสันหลังคาลงทางด้านหน้าและด้านหลัง ด้านละ ๑ ช่วง หลังคาลดหลั่นซ้อนกัน มุงหลังคาเป็นไม้ขัดสานกัน ประดับช่อฟ้า นาคลำยองหรือตัวลำยอง เรียก นาคสะดุ้ง โดยมีครีบประดับเรียงเป็นแถวเรียก ใบระกา และหางหงส์ ทำเป็นรูปเศียรนาค ๓ เศียร ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปไม้ศิลปะล้านนา พื้นเมืองน่าน สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๓๙
วิหารจำลอง หมายถึง การจำลองรูปแบบอาคารจากโบสถ์ หรือวิหาร ตามคติการอุทิศถวายตัวอาคารเพื่อเป็นพุทธบูชา โดยใช้รูปจำลองแทนตัวอาคารจริง
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ที่ https://www.facebook.com/NanNationalMuseum1987/posts/pfbid0bbUNHJ2iWp8wAf9yWCWtoQWGEL2U8g5RB3ryqLgbmwhiwDv1ZFUSJfhmNdAuQb9Ul
เอกสารอ้างอิง
วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์. ศาสตร์ ศิลป์ จิตวิญญาณ วิหารล้านนา. นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๖๕.
วัสดุ : ไม้ ลงรัก เขียนสี ปิดทอง ประดับกระจก
แบบศิลปะ/อายุสมัย ศิลปะล้านนา พื้นเมืองน่าน พ.ศ. ๒๔๔๐
ประวัติ : วัดนาซาว ตำบลนาซาว อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
วิหารจำลองวัดนาซาว สร้างด้วยเครื่องไม้ทั้งหลัง แผนผังวางตามแนวยาวในรูปผังพื้นสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นลักษณะวิหารปิด หมายถึงวิหารที่มีการผนังด้านข้างทั้งสี่ด้าน ยกพื้นสูงทำเป็นชั้นฐานบัว ท้องไม้คาดด้วยเส้นลูกแก้วอกไก่ ด้านหน้าทำเป็นบันไดเพื่อเป็นทางเข้า พนักบันไดทำเป็นกนกตัวเหงา ช่องประตูพร้อมประตูด้านหน้า มีการยกเก็จเป็นห้องออกทางด้านหน้า ๑ ห้อง ทั้งอาคารมีทั้งหมด ๔ ห้อง ที่ผนังทำเป็นหน้าต่าง สามารถเปิดปิดได้ ชายคายื่น มีคันทวยรับชายคา
ลักษณะโครงสร้างหลังคาที่เรียกว่า “ขื่อม้าต่างไหม” หรือ “ม้าตั่งไหม” หลังคาวิหารมีการซ้อนชั้นหลังคา ๒ ตับ มีการลดชั้นสันหลังคาลงทางด้านหน้าและด้านหลัง ด้านละ ๑ ช่วง หลังคาลดหลั่นซ้อนกัน มุงหลังคาเป็นไม้ขัดสานกัน ประดับช่อฟ้า นาคลำยองหรือตัวลำยอง เรียก นาคสะดุ้ง โดยมีครีบประดับเรียงเป็นแถวเรียก ใบระกา และหางหงส์ ทำเป็นรูปเศียรนาค ๓ เศียร ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปไม้ศิลปะล้านนา พื้นเมืองน่าน สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๓๙
วิหารจำลอง หมายถึง การจำลองรูปแบบอาคารจากโบสถ์ หรือวิหาร ตามคติการอุทิศถวายตัวอาคารเพื่อเป็นพุทธบูชา โดยใช้รูปจำลองแทนตัวอาคารจริง
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ที่ https://www.facebook.com/NanNationalMuseum1987/posts/pfbid0bbUNHJ2iWp8wAf9yWCWtoQWGEL2U8g5RB3ryqLgbmwhiwDv1ZFUSJfhmNdAuQb9Ul
เอกสารอ้างอิง
วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์. ศาสตร์ ศิลป์ จิตวิญญาณ วิหารล้านนา. นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๖๕.
(จำนวนผู้เข้าชม 258 ครั้ง)